นิทานเรื่อง "โกนด็อมเร็ยซอ" The Little White Elephant


นิทานมีสองภาษาคือภาษาเขมรและภาษาอังกฤษ

การไม่ฆ่า่สัตว์ตัดชีวิต ทั้งสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่นั้นถือเป็นการรักษาศีลข้อที่ ๑ ตามคำสอนของพระพุทธองค์ ส่งให้จิตใจผ่องใส มีจิตใจที่ดี มีหัวใจที่เบาสบาย นิทานเรื่อง "โกนด็อมเร็ยซอ" นี้นอกจากจะให้ข้อคิดเรื่องการมีสำนึกอนุรักษ์สัตว์ใหญ่ เช่นช้างแล้วยังได้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับช้างอีกด้วย นอกจากนี้แล้วนิทานมีสองภาษาคือภาษาเขมรและภาษาอังกฤษ ภาพประกอบที่สวยงามก็ชวนให้ประทับใจในนิทานเรื่องนี้ได้มากเหลือเกิน

"ด้วยหวังจากใจลึก

อยากให้ผู้อ่านได้รู้สึก

คิดและระลึกถึงช้างไทยบ้าง"

***

ด้วยความรักและปรารถนาดี

คำสำคัญ (Tags): #the little white elephant#white elephant
หมายเลขบันทึก: 394306เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2010 00:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ผมไปสุรินทร์คราวใด จะแวะไปร้านขายหนังสือใกล้สถานีรถไฟ เปิดดูมุมหนังสือเกี่ยวกับสุรินทร์และเรื่องที่เป็นภาษาเขมร(อ่านไม่ได้) ทุกครั้ง สนใจมาก รวมถึงเพลงต่างๆ ที่วานเพื่อนๆ หาให้เสมอ ดีครับ ได้อ่านบล๊อกนี้ ช่วยเพิ่มการรับรู้ได้มากขึ้น

ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมบล็อคค่ะ

ร้านหนังสือที่อาจารย์แวะไป (เมืองช้างบุ๊คส์เซ็นเตอร์) ตอนนี้มีหนังสือเรียนภาษาเขมรให้เลือกเรียนได้หลายเล่มเลยค่ะ

- การที่กุมาร (เด็กทั้งสอง)ได้พบเพื่อนใหม่ซึ่งเป็นช้าง(เรียกว่าลูกช้างเผือก โกนด็อมแร็ยส่อ)ในป่า แม้จะไม่ใช่มนุษย์ แต่ก็มีความรักความผูกพันต่อกัน ครั้งแรกก็ช่วยเพื่อน(ช้าง)ได้ แต่ครั้งที่สองแม้จะพยายามตะโกนห้ามนายพรานทั้งสองไม่ให้ยิงแต่ก็ยับยั้งไม่ทัน กระสุนนายพรานได้ตรงไปยังลูกช้างจนเลือดอาบและเสียชีวิตในที่สุด กุมารทั้งสองได้เสียเพื่อนรักไปแล้ว แม้ลูกช้างจะจากไปแล้วแต่ก็มาเข้าฝันกุมารทั้งสองที่เป็นเพื่อนรักว่า ถ้าไม่มีกุมารทั้งสองในวันนั้นช้างอาจตายมากกว่านี้ และอาจสูญพันธุ์ก็ได้ ดอกบัวที่ลูกช้างยื่นให้กุมารทั้งสองนั้น ทำให้นึกถึงว่ามนุษย์สมัยนี้แม้จะเป็นเพื่อนกันมานานแต่ไม่ค่อยมีความผูกพันต่อกัน สู้ลูกช้างกับกุมารไม่ได้

- อาจารย์อักษรา ได้นำนิทานเรื่องนี้มาลงให้อ่านดีมากๆ (นี่ถ้าแปลเป็นภาษาไทยให้วัยรุ่นได้อ่านบางทีก็ช่วยลดการทะเลาะวิวาทในโรงเรียนได้เหมือนกัน)

ขอขอบคุณโลกกรูที่ช่วยสรุปนิทานเรื่องนี้ได้อย่างลงตัวและลึกซึ้งมาก

ขอบคุณมากๆ นะคะ สำหรับข้อมูลภาษาเขมรทั้งหมดที่โพสไว้ สุเรียนด้านภาษาไทยค่ะ แต่ต้องลงเรียนภาษาเขมรด้วยเพราะเป็นรากศัพท์และใช้ในคำประพันธ์ พรุ่งนี้จะสอบ แต่ยังไม่มั่นใจ เลยเข้ามาเจอข้อมูลที่ คุณอักษรา โพสไว้ยังไงก็ ขอขอบุณสำหรับข้อมูลดีๆ อีกครั้งนะคะ

- ​ติดงานเลยไม่ได้เข้ามาเยี่ยมชมนาน ปกหน้าแรก โกนฏำแร็ยส่อ (ฎำ = ฎ) เพราะเป็นขอมบาลี ในหน้า 27 ก็ยังเขียนว่า កូនដំរីស

- ถ้า កូន តម្រី​​ ស (ไม่ค่อยเจอน่ะ)

- แต่อาจารย์อักษรา เป็นสะใภ้สุรินทร์ที่เก่งมากๆ (ช่วยอธิบายให้ด้วยก็ดี)

คำ ដំរី ตามพจนานุกรมมีการเขียนเพียงแบบเดียว ดังพจนานุกรมฉบับสมเด็จจวนนาด เขียนไว้ว่า "ដំរី ន. សត្វចតុប្បាទមានរូបធំសម្បើម មានស្បែកក្រាស់ មានដៃហៅថា ប្រមោយ; ខ្លះមានភ្លុក, មានចែ។ ឈ្មោះត្រីស្រកាមួយប្រភេទ មានសណ្ឋានធំកន្ដុលមូល សាច់ជ្រាយ: ត្រីដំរី (ខ្មែរបុរាណមិនយកមកប្រើជាអាហារទេ)។" สำหรับคำ តម្រី คำนี้ไม่พบในพจนานุกรมฉบับสมเด็จจวนนาด

สำหรับท่านที่มีความเห็นอยากแบ่งปันความรู้ก็กรุณาเข้ามาแบ่งปันกันได้

ขอบคุณค่ะ

อักษรา

กลับมาจากพนมเปญรอบนี้ได้นิทานมาอีกหลายเรื่อง จะพยายามสแกนแล้วนำมาลงให้อ่านกันอีกค่ะ

อักษรา

- รออ่านอยู่น่ะอาจารย์ เรื่องอะไรก็ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท