คำนิยม หนังสือการจัดการความรู้เพื่อชุมชนเข้มแข็ง


เรื่องราวของทั้ง ๓ ชุมชน บอกเราว่าการจัดการความรู้เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในชุมชน ยิ่งชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรค ยิ่งมีการจัดการความรู้ที่เข้มข้น และกว้างขวาง แต่เป็นการจัดการความรู้ที่ดำเนินการแบบไม่รู้ตัว ไม่มีระบบ หากได้ทำความเข้าใจการจัดการความรู้แบบเป็นไปตามธรรมชาติของชุมชน และหาทางส่งเสริมให้ดำเนินการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบมากขึ้น มีหลักการมากขึ้น ก็จะก่อคุณประโยชน์ใหญ่หลวงแก่ชุมชน เป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นชุมชนเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมความรู้ หรือสังคมเรียนรู้

คำนิยม หนังสือการจัดการความรู้เพื่อชุมชนเข้มแข็ง

สถาบันวิถีทรรศน์ กำลังจะจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือเล่มนี้    และมาขอคำนิยม  เรารีบเขียนให้ด้วยความยินดี   ดังต่อไปนี้ 

คำนิยม หนังสือ การจัดการความรู้เพื่อชุมชนเข้มแข็ง           หนังสือเล่มนี้นำเสนอภาพการก่อเกิดและคงอยู่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้ 3 กรณีศึกษา คือ ชุมชนสันติอโศก    เครือข่ายชุมชน เรารักแม่น้ำท่าจีนและ เครือข่ายชุมชนเปร็ดใน    ที่มีเงื่อนไขของความสำเร็จ มีวิธีฝ่าฟันอุปสรรค และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่มีทั้งจุดเหมือนและจุดต่างตามสภาพพื้นที่และกิจกรรม  รวบรวมและสังเคราะห์โดยคุณสุทธิธรรม เลขวิวัฒน์ ร่วมกับสถาบันวิถีทรรศน์    ที่ต่างก็มีประสบการณ์ในการทำงานกับชุมชนมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยนำเสนอสิ่งที่เป็นจริงในชุมชนควบคู่ไปกับการตีความด้วยทฤษฎีต่างๆ รวมทั้งกระบวนการจัดการความรู้           เรื่องราวของทั้ง          ๓ ชุมชน     บอกเราว่าการจัดการความรู้เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในชุมชน    ยิ่งชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรค ยิ่งมีการจัดการความรู้ที่เข้มข้น และกว้างขวาง     แต่เป็นการจัดการความรู้ที่ดำเนินการแบบไม่รู้ตัว  ไม่มีระบบ    หากได้ทำความเข้าใจการจัดการความรู้แบบเป็นไปตามธรรมชาติของชุมชน    และหาทางส่งเสริมให้ดำเนินการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบมากขึ้น    มีหลักการมากขึ้น    ก็จะก่อคุณประโยชน์ใหญ่หลวงแก่ชุมชน   เป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน    เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นชุมชนเรียนรู้    เป็นส่วนหนึ่งของสังคมความรู้ หรือสังคมเรียนรู้ แต่เนื่องจากการจัดการความรู้เป็นเรื่องของการปฏิบัติ ความรู้ที่เกิดจากการจัดการความรู้จึงเป็น ความรู้ฝังลึก” (tacit knowledge) เป็นส่วนใหญ่  กรณีศึกษาทั้ง 3 ชุมชนนี้จึงเป็นเพียงตัวอย่างของความสำเร็จเท่านั้น ผู้อ่านต้องนำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตัวเอง จึงจะเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ได้อย่างถ่องแท้            สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เชื่อว่าหนังสือ การจัดการความรู้เพื่อชุมชนเข้มแข็ง เล่มนี้ จะเป็นหนังสือเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน เล่มหนึ่งที่จะจุดประกายให้ทุกภาคส่วนของสังคมไทยได้เห็นว่ามีเครือข่ายชุมชนที่กำลังสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ไปพร้อมๆ กับการหันกลับไปเรียนรู้และดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิม    หากการพัฒนาสังคมไทย ที่กำลังเน้นเศรษฐกิจพอเพียง    ดำเนินการโดยต่อยอดความสำเร็จของชุมชนต่างๆ    โดยดำเนินการขับเคลื่อนเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จเล็กๆ และความสำเร็จใหญ่ๆ    โอกาสเห็นความสำเร็จตามความฝันของคนไทยที่สะท้อนออกมาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ ก็น่าจะเป็นจริง     สคส. จึงขอขอบคุณที่สถาบันวิถีทรรศน์ ตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือเล่มนี้    อันจะช่วยขยายเครือข่ายการจัดการความรู้ในชุมชนอีกทางหนึ่ง        โดยมีเป้าหมายหรืออุดมการณ์ร่วมอยู้ที่การขับเคลื่อนสังคมไทย สู่สังคมความรู้ สังคมเรียนรู้ หรือสังคมอุดมปัญญา                               . นพ. วิจารณ์  พานิช                           อุรพิณ  ชูเกาะทวด                           สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)                           www.kmi.or.th                           18 กรกฎาคม 2549                                               
หมายเลขบันทึก: 39375เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท