ดนตรีไทย


การประกวดดนตรีไทย ระดับมัธยมศึกษา
"ประลองเพลง ประเลงมโหรี" ครั้งที่ ๒๕/๒๕๕๓


ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.) ได้จัดการประกวดดนตรีไทย ระดับมัธยมศึกษา "ประลองเพลง ประเลงมโหรี" ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ ๒๕ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ขึ้น
โดยมีการประกวด ดังนี้


ประเภทการบรรเลงรับร้อง (วงมโหรี)

เพลงที่ใช้ประกวดในรอบส่งแผ่น VCD/DVD

เพลงตวงพระธาตุ และ เพลงนกขมิ้น อัตรา ๓ ชั้น
บรรเลงรับร้องแบบตับมโหรี (เพลงนกขมิ้นไม่มีว่า “ดอก”)


เพลงที่ใช้ประกวดรอบชิงชนะเลิศ

เพลงนกขมิ้น เถา
ลงจบด้วยลูกหมดตามแบบฉบับของเก่า (ให้ว่าดอกด้วย ”ขลุ่ย”)


- วงดนตรีที่สมัครจะต้องบรรเลงและขับร้องตามบทร้องที่กำหนด บันทึกเสียงและภาพลงบนแผ่น VCD/DVD ห้ามตัดต่อแผ่น VCD/DVD ให้ตั้งกล้องด้านหน้า เห็นผู้บรรเลงครบทั้งวง ไม่ต้องมีการประกาศชื่อเพลง ชื่อนักร้อง และชื่อโรงเรียน

- ห้ามครูผู้ฝึกสอนเข้าไปร่วมบรรเลงหรือช่วยเล่นเครื่องดนตรีใด ๆ ทุกชนิด

- ทำนองเพลงมีตัวอย่างเป็นแนวทาง ขอถ่ายสำเนาตัวอย่างได้ที่ศูนย์สังคีตศิลป์ ในวันและเวลาทำการ

- การประกวดบรรเลงรับร้อง(วงมโหรี) ครั้งนี้ คิดคะแนนทุกเครื่องมือ รวมทั้งซอสามสายและนักร้อง

- ผู้เข้าประกวดต้องเป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ซึ่งศึกษาอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน หรือต่างโรงเรียนก็ได้ โดยต้องมีหลักฐานรับรองจากสถานศึกษาว่ามีสถานภาพเป็นนักเรียนจริงในระยะเวลาที่ประกวดนั้น

- ผู้เข้าประกวดในการบรรเลงวงมโหรี จะส่งประกวดในนามของสถานศึกษา กลุ่ม หรือ ชมรมก็ได้ โดยมีผู้บรรเลงรวมวงไม่เกิน ๑๖ คน รวมทั้งนักร้องและตัวสำรองอีก ๒ คน

- ผู้สมัครที่ส่งชื่อเข้าประกวด ถ้าสังกัดวงใดต้องสังกัดวงนั้นเพียงวงเดียว



สิ้นสุดการรับสมัครและส่งแผ่น VCD/DVD การบรรเลงรับร้อง (วงมโหรี) ภายในวันศุกร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๓

คณะกรรมการฯจะประกาศผลการคัดเลือกรอบแรก ในวันศุกร์ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๓

วันที่ประกวดรอบรองชนะเลิศ บรรเลงต่อหน้ากรรมการ - วันเสาร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๓

วันที่ประกวดรอบชิงชนะเลิศ บรรเลงต่อหน้ากรรมการ - วันเสาร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๓


ประเภทการบรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรี และ ขับร้อง

๑. ระนาดเอก เพลงลาวแพน
เครื่องกำกับจังหวะ กลองแขกและฉิ่ง

๒. ซอด้วง เพลงพญาโศก
เครื่องกำกับจังหวะ โทน-รำมะนา และฉิ่ง

๓. จะเข้ เพลงนกขมิ้นสามชั้น
เครื่องกำกับจังหวะ โทน-รำมะนา และฉิ่ง

๔. ขับร้อง เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง
บทร้องขนมไทย พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เครื่องกำกับจังหวะ โทน-รำมะนา และฉิ่ง

- รอบแรกส่งแผ่น VCD/DVD ต้องมีเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนองและเครื่องกำกับจังหวะ บรรเลงรับ-ส่งในการขับร้อง

- รอบชิงชนะเลิศ ร้องกับวงมโหรีของสโมสรธนาคารกรุงเทพ


**ผู้กำกับจังหวะ ต้องเป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า จะเป็นโรงเรียนที่ส่งเข้าประกวดหรือโรงเรียนอื่นมาร่วมบรรเลงได้**


สิ้นสุดการรับสมัครและส่งแผ่น VCD/DVD การบรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรี และ ขับร้อง ภายในวันศุกร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓


คณะกรรมการฯจะประกาศผลการคัดเลือกรอบแรก ในวันศุกร์ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

วันที่ประกวดรอบชิงชนะเลิศ บรรเลงต่อหน้ากรรมการ - วันอาทิตย์ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๓



สถานศึกษาและเยาวชนที่สนใจ ติดต่อสอบถามขอรับใบสมัคร และสมัครทางไปรษณีย์ หรือสมัครด้วยตนเอง ได้ที่

ศูนย์สังคีตศิลป์ ชั้น ๔ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาหัวลำโพง เลขที่ ๒๒๗ ถนนพระราม ๔ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กทม.๑๐๓๓๐
โทร. ๐-๒๒๑๕๖๕๓๕-๗ ในวันและเวลาทำการ ๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

หรือ

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน (สทย.) ในเวลาราชการ ๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. โทร. ๐-๒๖๕๑-๖๕๐๕


ในกรณีที่มีการปรับเปลี่ยนวัน เวลาในการรับสมัครหรือวันที่ประกวด รวมทั้งสถานที่ประกวด คณะกรรมการจะได้แจ้งให้ทราบต่อไป



ใบสมัครประเภทวงมโหรี Arrow คลิกที่นี่


ใบสมัครเดี่ยวเครื่องดนตรีและขับร้อง Arrow คลิกที่นี่




********************************


ตับเพลงต้นเพลงฉิ่ง ๓ ชั้น
เพลงตวงพระธาตุ


พญาครุฑฟังนุชสุดสวาท ประคองนาฎรับขวัญขนิษฐา
เจ้างามคมสมศรีสุนทรา ทั้งวาจาจัดแจ่มเมื่อแย้มพราย

เพลงนกขมิ้น

เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ำลงแล้วจะนอนที่รังไหน
นอนไหนนอนได้ สุมทุมพุ่มไม้ที่เคยนอน
ลมพัดมาอ่อนอ่อน เจ้าก็ร่อนไปตามลมเอย

(กากีคำกลอน เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ง)



เพลงนกขมิ้น เถา

๓ ชั้น เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ำลงแล้วจะนอนที่รังไหน
นอนไหนนอนได้ สุมทุมพุ่มไม้ที่เคยนอน
ลมพัดมาอ่อนอ่อน เจ้าก็ร่อนไปตามลมเอย
ดอกเอ๋ย ดอกขจร
นกขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ำแล้วจะนอนไหนเอย

๒ ชั้น โอ้เจ้านกขมิ้นเอย เชิญเจ้าผินโผจู่มาสู่เหย้า
นอนในกรงทองของเรา จะคอยเฝ้าถนอมกล่อมนอน
จะมิให้เจ้ามีที่โศกเศร้า จะโลมเล้าเจ้าขมิ้นเหลืองอ่อน
ดอกเอ๋ย เจ้าดอกรักซ้อน
เชิญเจ้าผินบินจร มาสู่ที่นอนเรียมเอย

ชั้นเดียว หรือเจ้าของเขามีอยู่ที่ไหน จงบอกให้แจ้งในฤทัยพี่
หรือเจ้าเปล่าคู่อยู่เอกี เจ้าช่อสารภี เจ้าปักษีงามนักเอย

--------------------------------------------


เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง

สายลมหวน อวลกลิ่น อุมามาลย์ ชวนชื่นบาน เมื่อสดับ เพลงขับเอย
ดอกเอ๋ย เจ้าดอกชำมะนาด กลิ่นหอม สะอาด ชวนรื่นรมย์เอย เจ้าดอกลำดวนเอย…
เจ้าดอกลำดวน ชวนให้ ชมเชย สังขยา เจ้าเอย ทั้งขนมตาล
ทั้งทองหยิบ ฝอยทอง ล้วนแต่ของหวาน ช่างน่ารับประทาน เสียจริงเอย
เจ้าขนมครองแครงเอย หม้อแกง ขนมถ้วย ขนมชั้น
ขนมกล้วย กินด้วยกัน สามแซ่ แช่อิ่ม ปลากริมไข่เต่า
กล้วยแขก ข้าวเม่า มาแบ่งปัน อร่อยทั่วกัน ทั้งวงเอย
น้ำเอ๋ย น้ำกรีนที อยู่ในวง มโหรี สบายใจเอย

พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ทีมงานThaikids.com

คำสำคัญ (Tags): #ดนตรีไทย
หมายเลขบันทึก: 393070เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2010 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

คุณครูคะ ตั้งใจเรียนเนอะวันนี้อ่ะ

ขอบคุณสำหรับข่าวสารดีๆ และเป็นประโยชน์ครับ

ดนตรีไทย อนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลาน

น่าเรียนมากเลย แต่ไม่ค่อยมีความพยายามค่ะ

น่าจะมีรูปภาพประกอบเยอะๆนะครับ

ส่งเด็กเข้าประกวดกันเยอะๆนะ

ส่งเสริมเลยของไทยๆๆอ่ะ

คนไทย ชอบของไทยเล่นดนตรีไทย

บางครั้งเราก็ลืมไปว่าดนตรีไทยก็ สุดยอด

ครูดัมว่างๆ สอนเล่นซอบ้างสิจ๊ะ

ดนตรีไทย

เป็นเครื่องช่วยขับกล่อมจิตใจ

fชอบฟังเสียงดนตรีไทยมากเลย ไพเราะ

อยากเล่นดนตรีไทยมาตั้งแต่เด็ก แต่ไม่มีโอกาศเลยค่ะ

ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท