ส่งใบงานที่ 2


ส่งงานอาจารย์ ดร.เอกพรต

ใบงานที่  2

 

1. คอมพิวเตอร์  คือ คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า

"เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ 
ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่

      1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซึ่งประกอบไปด้วย จอภาพ ชุดซีพียู คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ และแผ่นดิสก์

      2. ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งหมายถึงโปรแกรมต่าง ๆ ที่ไว้ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ

 

2 รูปแบบของระบบสารสนเทศ แบ่งเป็น 2 รูปแบบได้แก่อะไรบ้าง

        1. การจัดการตามหน้าที่ของงานในองค์กร (Function – Base System) ตัวอย่างเช่น ภายใต้งานหลักขององค์กร ได้แก่ การเงิน การบัญชี การขาย การตลาด งานบุคคล การผลิต มีการใช้ระบบสารสนเทศกับการตรวจสอบสินค้าคงคลัง หรือเพื่อการคิดเงินเดือนลูกจ้าง หรือการทำบัญชี เป็นต้น ดังนั้นฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นและผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะใช้เฉพาะงานนั้นๆ เท่านั้น
          2. การจัดการในรูปของระบบผสมผสานเบ็ดเสร็จหรือบูรณาการ (Integrated System) นั่นคือ ข้อมูลสารสนเทศจะถูกจัดเป็นฐานข้อมูลที่สามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานตามหน้าที่ต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน

 

3.  Data Processing Systems (DP) หมายถึง การประมวลผลข้อมูลที่รวบรวมขึ้นในแต่ละงานขององค์กร ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในลักษณะของแฟ้มข้อมูล (file) ประมวลผลและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในช่วงเวลาของการทำงานนั้นๆ เป็นลักษณะงานประจำ ผลลัพธ์ที่ออกมาอยู่ในรูปของรายงานหรือเอกสารของการปฏิบัติงาน เช่น รายงานสินค้าที่ขายในแต่ละวัน แยกตามประเภทสินค้าเป็นต้น เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับปฏิบัติการใช้ในการตรวจสอบรายละเอียดของการปฏิบัติงานประจำต่างๆ แต่ละงานในแต่ละวัน
 
4.  Management Information Systems (MIS) หรือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง  เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูล / สารสนเทศทั้งหมดภายในองค์กร อันเป็นผลมาจากการประมวลผลในระบบ DP เพื่อให้สามารถเรียกใช้ในลักษณะแบ่งปันและแลกเปลี่ยนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันระหว่างหน่วยงานต่างๆ แสดงการไหลของข้อมูล / สารสนเทศระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร เพื่อให้ผู้บริหารเกิดภาพรวมในการ ตัดสินใจ มิใช่ตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขของงานใดงานหนึ่งเท่านั้น
 
5.Decision Support Systems (DSS) หรือระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หมายถึง  เป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ ผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจ ดังนั้นจึงเป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียกใช้และตอบโต้ ทั้งนี้เพราะ ผู้บริหารระดับกลางขึ้นไปคุ้นเคยและจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจบนประสบการณ์ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งที่สามารถควบคุมได้และไม่สามารถควบคุมหรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ระบบ DSS จึงเป็นการผสมผสานสารสนเทศที่มีอยู่หรือเรียกหาได้จากระบบ MIS กับสารสนเทศที่คาดว่าผู้บริหารต้องการจากภายนอกองค์กร แล้วนำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ โดยออกมาในรูปของ กราฟฟิก แผนงาน หรือแม้แต่ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารที่ต้องตัดสินใจนอกเหนือไปจากงานหรือสถานการณ์ภายในที่ควบคุมได้ ระบบ DSS จะได้รับการออกแบบเพื่อให้สนับสนุนการตัดสินใจในงานหลายๆ ด้านพร้อมกัน ดังนั้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรจึงได้รับการจัดระบบใหม่เพื่อให้สามารถแสดงความเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เรียกใช้ได้ทันที ซึ่งต่างกับระบบ MIS ที่แม้จะแลกเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างงานได้ แต่สารสนเทศต่าง ๆ ก็ถูกจัดไว้สำหรับแต่ละงาน
 
6. Executive Information Systems (EIS)  หมายถึง  เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้หลักการและวิธีการเดียวกับระบบ DSS แต่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับงานในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบการตัดสินใจที่ซับซ้อน ต้องการความแม่นยำและรวดเร็วในการ ตัดสินใจจากสภาวะหรือผลกระทบภายนอกองค์กร ดังนั้นแหล่งสารสนเทศภายนอกต่างๆ เช่น สำนักข่าว CNN, ROUITER, ตลาดหุ้น, ห้องสมุด ฯลฯ จะได้รับการโยงเข้าสู่ระบบ EIS เพื่อให้ผู้บริการสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้บริหารระดับสูงต้องการสารสนเทศจากภายนอกองค์กรที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการและการตัดสินใจประเภทนี้อยู่ในลักษณะ unstructured decision making เพื่อวางแผนระยะยาวและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วย
 
7. Expert Systems (ES)หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ จัดเป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งที่นำวิทยาการของปัญหาประดิษฐ์เข้ามาใช้จัดการสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสนเทศที่เป็น “ความรู้” (knowledge) ในเฉพาะสาขาหรือเฉพาะด้าน ดังนั้นระบบผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างฐานความรู้ (knowledge base) และกลไกในการตั้งคำถามและหาคำตอบ (จาก knowledge base) ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการถามและตอบสิ่งที่ถามเสมือนหนึ่งคุยกับผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ ทั้งนี้ระบบผู้เชี่ยวชาญจะเลือกเฉพาะสาขาหรือเฉพาะด้านที่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เช่น ใช้ในงานเกี่ยวกับการวินิจฉัยทางการแพทย์ การขุดเจาะน้ำมัน การวางแผนการเงิน การจัดทำภาษี การวิเคราะห์ทางเคมี การผ่าตัด การซ่อมเครื่องยนต์ การพยากรณ์อากาศ การซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งสัญญาณดาวเทียม ปฏิบัติการเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ การวางรูปแบบหนังสือพิมพ์ การตีความกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าระบบผู้เชี่ยวชาญจะได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ระบบสารสนเทศประเภทนี้ก็ไม่สามารถมาแทนที่มนุษย์ได้
 
คำสำคัญ (Tags): #sasinath
หมายเลขบันทึก: 392985เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2010 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท