เริ่มต้นสร้างเครือข่ายเกษตรกรที่ปราจีนบุรี


การสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง

วันที่ 9 กันยายน 2553 เกษตรกรจากจังหวัดปราจีนบุรี และสระแก้วมาประมาณ 40 คน ซึ่งก็น้อยกว่าที่ตั้งเป้าเอาไว้ สงสัยว่าจะเป็นวันดีเกษตรกรติดงานหลายแห่ง แต่พวกที่มาแล้วก็มาพูดคุยรับความรู้ไป แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กันปีนี้เกษตรกรเขตนี้ก็ได้รับผลกระทบจากภาวะร้อนและแห้งแล้งที่ยาวยานประมาณ 3 เดือน แต่ช่วงนี้ก็เจอฝนมากเกินไปอีก พืชอะไรจะทนไหวไหม ที่ทนไม่ไหวก็ตายไป เกษตรกรบอกว่าปีนี่ต้องตกกล้าใหม่กล้าที่ตกในช่วงแล้งยาวนานมาเจอสภาพที่ฝนตกหนัก ก็ใบเหลืองใหม้ตาย

คนปลูกมันก็สนใจพันธุ์ใหม่ ๆ ดินไหนเหมาะกับพันธุ์ไหน เราก็ตอบเกษตรกรได้ตามข้อมูลที่มีเนื่องจากภาคตะวันออก จัดเป็นแหล่งกำเนิดของมันสำปะหลังตระกูล ระยอง ทำให้แทบทุกพันธุ์เติบโตได้ดีในพื้นที่เขตนี้ เขตตะวันออกนี้ฝนภูมิอากาศจะเป็นปัจจัยกำหนดมากกว่าดิน แต่ก็ยังสามารถแบ่งภาคตะวันออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนล่าง จังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และส่วนบนจังหวัดปราจีน สระแก้วที่ส่วนล่างเลือกปลูกพันธุ์อะไรก็ได้ผลผลิตดีกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ แต่ส่วนบนจะมีข้อจำกัดในการใช้พันธุ์มากกว่าเช่น ระยอง 11 อาจต้องดูสามารถปลูกได้บางพื้นที่ 

การปลูกพืช-พันธุ์เดียวกันซ้ำ ๆ ในที่เดิม ผลผลิตจะลดลง อยากให้เปลี่ยนพันธุ์บ้างเพราะพืชแต่ละพันธุ์เขากินอาหารแตกต่างกัน การปลูกพืชพันธุ์เดิม ๆ จะทำให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชลดน้อยลง บางธาตุพืชต้องการเพียงเล็กน้อย พอเปลี่ยนก็พันธุ์ก็อาจทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้ แต่ละพันธุ์ชอบสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน เช่น พันธุ์ระยอง 7 ต้องการดินที่มีความอุดมสมบรูณ์ดีจึงจะให้ผลผลิตสูง ระยอง 5 ปรับตัวได้ดีกับทุกสภาพ แต่ช่วงนี้ก็เป็นที่โปรดของเพลี้ยแป้ง แต่หากปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกแล้วความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารก็จะมีมากขึ้น

เพลี้ยแป้งปีที่ผ่านมาพื้นที่เขตนี้ได้รับความเสียหายมากแต่เกษตรกรสามารถผ่านพ้นปัญหานี้มาได้ด้วยสาเหตุสำค้ญคือความร่วมมือของหน่วยงานระดับท้องถิ่นให้ความสำคัญทุ่มงบประมาณลงไปช่วย  ถ้าจะวิเคราะห์เหตุผลประการอื่น ๆ ก็น่าจะเป็นฝนเขตนี้มีมากกว่าเขตอื่น ๆ เกษตรกรไม่ค่อยปลูกมันข้ามปีกัน ก็เป็นการตัดวงจรกลาย ๆ หรือบางรายเลี่ยงไปปลูกข้าวโพดสลับ ปี้นี้หลังจากผ่านช่วงแล้งที่ยาวนาน หากถามเกษตรกรว่าปีนี่แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกไหม้ ก็จะได้รับคำตอบที่ดังช้ดว่า แช่ เดือนกันยายนนี้ฝนยังตก ยังไม่เจอเพลี้ยแป้งในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด(เจ้าของแปลงบอกว่ายังไม่มี) และยังไม่มีเกษตรกรรายใดรู้ว่ามีการปล่อยแตนเบียนมาช่วยในการควบคุมเพลี้ยแป้งสีชมพูแล้ว ทั้งที่มีการรับมอบให้ปล่อยไปแล้วชุดใหญ่ในช่วง 19 กรกฎาคม 2553 ที่ห้วยบง

เกษตรกรสนใจเรื่องแมลงศัตรูธรรมชาติ แต่จะทำอย่างไรกับการกำจัดวัชพืช มีหลายคำถามที่ต้องการคำตอบ มีรายหนึ่งถามว่าถ้าเอาอะไรเหนียว ๆ เช่น กากน้ำตาล ฉีดเพลี้ยแป้งจะตายไหม น้ำยาล้างห้องน้ำละ เกลือละ ต้องเป็นเกลือทะเลด้วย เกลือบนบกใช้ไม่ได้ ใครมีความรู้ส่วนนี้ช่วยตอบกันด้วย

ที่เด็ดสุดไม่คาดคิดว่าจะได้เครือข่ายเกษตรกร งานนี่ได้ 1 เครือข่าย ทางออกของเกษตรกรไทยน่าจะอยู่ที่การได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ จากที่ใดๆ ทดลองเรียนรู้จากแปลงของตน เพื่อให้อยู่รอดได้จากสิ่งแวดล้อมและศัตรูพืชเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ต้นทุนและราคาควบคุมไม่ได้
1. ความรู้ในตัวเรา.........................มากแต่ไม่แน่ใจว่าใช้ได้
2. จากหนังสือ/ห้องสมุด/สื่อฯ............มีมากแต่กระจาย
3. จากคอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ท......มีมาก/ต้องใช้เป็น
4. จากเพื่อน...........................................เร็ว/ง่าน/ได้เพื่อน
5. จากนักวิชาการ.....................................ไม่กล้า/ไม่มั่นใจ
6. จากคนอื่น ๆ............................................ไม่รู้ว่าเป็นใคร
7.จากเครือข่ายการเรียนรู้..........................ทำได้อย่างไร?

 

เริ่มต้น

1. สมาชิกแต่ละพื้นที่เลือกผู้นำกลุ่ม
2. แต่ละกลุ่มตั้งโจทย์วิชาการ เพื่อแก้ปัญหาการผลิต
3. ผู้นำกลุ่มร่วมกันเลือกผู้นำเครือข่ายและคณะทำงาน
4. คณะทำงานนำโจทย์มาวางแผนการเรียนรู้ เช่น
   -กำหนดเรื่อง วิธีการ เวลา สถานที่และผู้รับผิดชอบ
   -จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่และต่างพื้นที่
   -ทำบัญชีที่ปรึกษา/ผู้ประกอบการและผู้สนับสนุน...ๆ
   -ทำระบบสื่อสาร/ประสานงาน/เผยแพร่

เครือข่ายการเรียนรู้ปราจีนบุรี

ได้ผู้นำกลุ่มในวันนั้เลย คือ ผู้ใหญ่มนูญ แสงเจริญ 36หมู่ 5 ต.ทุ่งโพธิ์ อ. นาดี จ.ปราจีนบุรี

โทร 089-0982363

สมาชิกการเรียนรู้ประกอบด้วย
1. กลุ่มเรียนรู้.............คือตัวเรา
2. ที่ปรึกษาวิชาการ คือนักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ/คนเก่ง
3. ผู้ประกอบการ เช่นผู้รับซื้อ/ผู้ขายปัจจัยการผลิต
4. ผู้สนับสนุน เช่น อบต/หน่วยราชการ
การจัดการเครือข่าย
1. ผู้นำและผู้แทนและผู้ประสานงานจากทุกฝ่าย
2. มีแผนงานและผู้รับผิดชอบ

  • ผู้แทนนิคมสหกรณ์
  • ผู้รับซื้อมันเส้น
  • ก้อนทอง พวงประโคน 087-7677199
  • นิตย์ วงศา 089-5383558
  • กิตติภพ วายุภาพ 086-0871366
  • จงรักษ์ จารุเนตร 081-6943396
  • วลัยพร ศะศิประภา 081-3998201
  • วุฒิชัย กากแก้ว 081-9975352

การรวมกลุ่มทำมันเส้นสะอาดของนิคม นักวิชาการ(จงรักษ์ 081-6943396)หาคำตอบ

จบท้ายด้วยการให้ผู้นำกลุ่มกล่าวถึงแผนการดำเนินงาน

หมายเลขบันทึก: 392650เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2010 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

การสร้างเครือข่าย: มีต่อที่นครสวรรค์ 16 มีนาคม 53 มารวมตัวกันเกือบ 120 คน จากหลายจังหวัด

ก็มาร่วมสร้างเครือข่ายต่อในพีืที่จังหวัดอื่น ๆ งานนี้ก็ได้เพิ่มเติม ดังนี้

นครสวรรค์ ลุงไก่ 089-9607792 056-888433

สมควร 081-3241369

อุดร 085-0503164

พิษณุโลก สมนึก 081-2041607

กำแพงเพชร อุบล 081-7854897

สุโขทัย สมพงษ์ 084-5771632

อุทัยธานี ปุ๋ย 087-1949234

ชัยนาท สมพงษ์ 089-2684295

ผนวกกับครั้งก่อน ที่ปราจีนบุรี มนูญ แสงเจริญ 089-0982363

นักวิชาการ/ผู้ประสานงาน

นครสวรรค์ ทองหยด 087-2004329

ชัยนาท กิตติภพ 086-0871366

วิลัยรัตน์ 089-1320813

พิษณุโลก อ.แจ๋ว 089-6416661

กำแพงเพชร/สุโขทัย ธีรศักดิ์ 089-7048751

ปราจีนบุรี จงรักษ์ จารุเนตร 081-6943396

วุฒิชัย กากแก้ว 081-9975352

ขอนแก่น ก้อนทอง พวงประโคน 087-7677199

ลพบุรี นิตย์ วงศา 089-5383558

กรุงเทพ วลัยพร ศะศิประภา 081-3998201

เครือข่ายดีมากครับ เกษตรกรได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบกาณ์กัน

การอบรมปีนี้จบที่อุบลราชธานี เป็นกลุ่มเล็ก ๆ จากมุกดาหารและอุบลราชธานี แต่พลังของกลุ่มไม่ธรรมดาเกษตรกรให้ความสนใจในการเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง และเราก็ได้เครือข่ายเพิ่มอีก ปีนี้เรามีเครื่องมือช่วยแล้วหวังว่าพวกเราจะสามารถผ่านวิกฤตเพลี้นแป้งมันสำปะหลังไปได้ เครือข่ายที่ได้เริ่มต้นน่าจะมีส่วนช่วยในการแจ้งข่าวการพบเพลี้ยแป้งสีชมพูในพื้นที่ของตนเอง ไปยังศูนย์ประสานงาน ซึ่งจะประสานงานไปยังหน่วยงานผลิตแตนเบียนนำไปปล่อยได้ตรงพื้นที่เป้าหมาย

เขตพื้นที่ น้ำยืนผมเพลี้ยแป้งสีชมพูตอนนี้ยังคงมีอยู่ ระยะนี้จะพ่นยาไม่ได้ ต้นมันสูงมาก ถ้าได้แตนเบียนมาปล่อยในพื้นที่จะดีมากครับ

ผู้ประสานงานนักวิชาการ

มุกดาหาร คุณจันทร์สว่าง ศรีหาตา 081-768-5834

อุบลราชธานี คุณทินกร ธานี 089-580-5585

ผู้ประสานงานเกษตรกร

มุกดาหาร นายอาคม สาธุชาติ 084-795-8351

อุบลราชธานี นายประภาส เครือคุณ 087-249-6844

ที่น้ำยืนช่วงนี้ฝนเริ่มแล้งหรือยัง เพลี้ยที่พบเห็นเป็นสีชมพูหรือสีเขียวกันแน่ ตรงนี้ต้องแม่นจริง ๆ นะ

น้ำยืนน่าจะโชคดีอาจเป็นเสาร์-อาทิตย์นี้จะประสานงานไปปล่อยแตนเบียนให้

อาทิตย์นี้ ฝนตกทุกวัน แต่เพลี้ยแป้งยังไม่หายไปไหน เดินดูแปลงยังคงพบอยู่ตามยอดมัน เพลี้ยที่พบเป็นสีชมพู ครับ

วันที่ 20 นี้น่าจะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ และแตนเบียนจำนวนหนึ่ง ได้แจ้งผู้ประสานงานเครือข่ายแล้ว น่าจะ Ok ช่วยแจ้งข่าวเป็นระยะด้วยคะ

ขอบคุณมากครับ เจ้าหน้าที่ได้มาปล่อยแตนเบียนแล้วครับ ได้ทำการปล่อยสองแปลง จุดแรก200คู่ จุดที่สอง100คู่ มีแตนเบียนบางส่วนตายระหว่างการเดินทาง

ที่ดินที่ท่ามะกา จ.กาญจน์ ควรปลูกมันพันธุ์ไหนดีคับ

หลังจากแช่ท่อนพันธุ์ ปล่อยแตนเบียน ผลคือได้ต้นพันธุ์สะอาด

หลังจากแช่ท่อนพันธุ์ ปล่อยแตนเบียน ผลคือได้ต้นพันธุ์สะอาด

ที่ท่ามะกา จ.กาญจน์ ควรปลูกมันพันธุ์ไหนดีคับ

ดูที่

http://210.246.186.198/~cassava/cassava.php?province=KBR&amphoe=7105&tambon=-1

พื้นที่ทดลองปลูกมัน 4 ไร่ อ้อย4 ไร่ จ.กาญ หวังว่าคงมีรายได้เพิ่ม จากเงินประจำ ดูแลเหมือนลูก เอาลูก4 ขวบไปเลี้ยงในไร่ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท