จิตตปัญญาศึกษา


การเรียนรู้ด้วยใจ งดอคติที่เป็นอุปสรรคเพื่อพัฒนาหัวใจ และเชื่อมโยงสู่ประสบการณ์พัฒนากาย สมองอย่างจิตตปัญญา

จิตตปัญญา ??? อาจเป็นคำที่นักการศึกษา ผู้รู้หลายท่านรู้จักเป็นอย่างดี แต่สำหรับตัวเองแล้วคำนี้ ผ่านหูเพราะท่าน ผอ.บรรจง ปัทมาลัย ผู้บริหารที่คอยเปิดประสบการณ์ความรู้แกลูกน้อง หลังจากท่านได้ร่วมประชุมสัมมนาเสมอเล่าให้ฟังในที่ประชุมโรงเรียนและจากการพยายามค้นหาความรู้ในเรื่อง จิตตปัญญาศึกษา จากเว๊บไซด์ต่าง ๆ ก็ได้ความรู้พอสังเขปว่า

จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education)

     คำว่า Contemplative Education ได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1974 ที่มหาวิทยาลัยนาโรปะในรัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งก่อตั้งโดย เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช และจัดการเรียนรู้บนฐานของพุทธศาสนานิกายวัชรยาน  
     นิกายวัชรยาน หรือ มหายานพิเศษนี้ เป็นพุทธศาสนามหายานนิกายหนึ่งในแบบลัทธิตันตระ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศอินเดีย โดยมีคติความเชื่อว่า มีพระพุทธเจ้าปรากฏอยู่เป็นองค์แรก เรียกว่า "พระอาทิพุทธะ หรือ พระสยัมภูพุทธเจ้า" ปรากฏขึ้นมาพร้อมกับการก่อกำเนิดของโลก ทรงเป็นชั่วนิรันดร์และทรงเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งในโลกอีกทั้งยังทรงเป็นปฐมกำเนิดของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ปรากฏในโลก http://mahayarn.exteen.com/20091014/entry)
      มหาวิทยาลัยนาโรปะเลือกใช้คำว่า Contemplative Education เพื่อให้ความหมายว่าเป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นการสืบค้นสำรวจภายในตนเอง เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง และการรับฟังด้วยใจเปิดกว้าง นำไปสู่การตระหนักรู้จักตนเอง การหยั่งรู้และการเปิดกว้างยอมรับความหลากหลายอุดมของโลก ด้วยการตระหนักเข้าใจตนเองนี้จะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความชื่นชมในคุณค่าของประสบการณ์ของผู้อื่นด้วย
      เป้าหมายของ Contemplative Education ไม่ได้มุ่งเพื่อการใคร่ครวญภายในเท่านั้น และไม่ได้ละทิ้งความเป็นวิชาการไป แต่ต้องการหยั่งรากความรู้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ให้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่ผู้เรียนได้สัมผัสเองโดยตรงมากขึ้น และมีสมดุลกับการฝึกจิตมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนั่งสมาธิ เพื่อให้การพัฒนาด้านในและการพัฒนาความรู้ภายนอกเติบโตไปพร้อมกัน

: นิยามจากโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการจิตตปัญญาศึกษา

               “กระบวนการเรียนรู้และบริบทที่เป็นเหตุปัจจัยเกื้อกูลต่อองค์ประกอบ หรือกระแสแห่งการพัฒนาจากจิตเล็กสู่จิตใหญ่ โดยหยั่งรากลงถึงฐานคิดเชิงศาสนา มนุษยนิยม และองค์รวมบูรณาการ”

: นิยามจากโครงการวิจัยและจัดการความรู้จิตตปัญญาศึกษา

               “กระบวนการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ การศึกษาที่เน้นการพัฒนาด้านในอย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึง คุณค่าของสิ่งต่างๆ โดยปราศจากอคติ เกิดความรักความเมตตา อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม และสามารถเชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างสมดุล”
http://www.jittapanya.com/index.php?นoption=com_content&view=article&id=58&Itemid=27

 

หมายเลขบันทึก: 392453เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2010 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

You're so early response from your job.  Take care of your job, do the best every day. I will follow you slowly, ha!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท