KM0022 : ประสบการณ์ครั้งที่ ๔ กับ Human KM Workshop ตอนที่ ๕


บางครั้งเมื่อเราได้รับมอบหมายงานมาสักชิ้น หากเราเคยทำเคยเห็นมันมาบ้างแล้ว เราก็พอจะจินตนาการงานนั้นได้ แต่ก็มีข้อเสียให้พึงระวัง นั่นคือเราอาจประมาทแล้วเร่งทำงานให้เสร็จโดยที่อาจมีรายละเอียดที่ไม่ถูกต้องได้
จากตอนที่ ๔ (http://gotoknow.org/blog/kidkom/390293) ผมลืมไปนิดหน่อย ก่อนจบผมได้ให้ทุกท่านเขียน One Page Lerning ไว้ แต่ยังไม่ได้ไปขออ่านจากผู้จัด ใจจริงถ้าเป็นไปได้อยากให้นำลงในเว็์บ KM ขององค์กร ก็น่าจะมีประโยชน์สำหรับคนอื่นๆ
ในวันที่สองนี้ผมเริ่มต้นกิจกรรมช่วงเช้าด้วยการกระตุ้นความคิดกันนิดหน่อย กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ผมค่อนข้างชอบพอสมควร เพราะให้แง่คิดอะไรหลายอย่างพอสมควร นั่นคือ "ตัวต่อมหัศจรรย์" แต่พวกเราชอบเรียกกันง่ายๆว่า "เลโก้" ซึ่งเป็นชื่อยี่ห้อตัวต่อที่เด็กๆ ชอบ ขั้นตอนก็ไม่มีอะไรมากครับ ตอนกลางคืนผมและทีมผู้จัดก็เตรียมต่อ Lego ต้นแบบไว้ 4 ชุด ยากบ้าง ง่ายบ้าง ดูเป็นรูปร่างบ้าง ไม่เป็นรูปร่างบ้าง ตอนเริ่มกิจกรรมผมก็ให้เบ่งคนออกเป็น ๔ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มเตรียมคนดังนี้
๑ คนสำหรับเป็น A มีหน้าที่ดูตัวต่อต้นแบบ แล้วมาบอก B โดย A จะไม่สามารถเข้ามาเห็นในห้องที่ C กำลังประกอบตัวต่อ
๑ คนสำหรับเป็น B มีหน้าที่ฟังคำบอกเล่าจาก A เพื่อไปบอกคนที่เหลือซึ่งเป็น C ให้ประกอบตัวต่อ โดย B ไม่เห็นต้นแบบ
๑ คนสำหรับเป็น D ที่สามารถเดินดูได้ตลอด เห็นทั้งต้นแบบ และที่กลุ่ม C กำลังประกอบ แต่ไม่สามารถพูดได้ ได้แต่พยักหน้าว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่"
คนที่เหลือเป็น C มีหน้าที่ประกอบตัวต่อตามที่ B บอก
กิจกรรมนี้เวลาจัดอาจต้องใใช้พื้นที่บ้างเพราะต้องจัดวางต้นแบบนอกห้องประชุม และต้องมีระยะให้ A เดินมาบอก B โดยที่ B ต้องไม่ห็นต้นแบบ
ก็ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที ในการให้ประกอบ อันนี้อาจต้องขึ้นอยู่กับความยากง่ายของต้นแบบด้วยนะครับ ซึ่งผลการประกอบตัวต่อในกิจกรรมที่ผมจัด แต่ละกลุ่มก็ถือว่าทำได้ใกล้เคียง อาจเป็นเพราะผมทำต้นแบบไม่ยากมาก
กิจกรรมนี้จะได้เรื่องการสื่อสาร การวางคนในการทำงาน ความยากง่ายของต้นแบบ มีกลุ่มหนึ่งได้ต้นแบบเป็นปิรามิด ก็ต่อได้ใกล้เคียงยกเว้นเรื่องสีที่มีความต่างกัน ตรงนี้เนื่องจากกลุ่มนี้ A สามารถบอก B ได้ว่ารูปร่างต้นแบบเป็นอะไร เมื่อใกล้หมดเวลา C ก็เลยประกอบให้เป็นรูปปิรามิดโดยไม่คำนึงเรื่องสี เพียงแต่ขอให้เสร็จ เรื่องต้นแบบที่เป็นปิรามิดนี้ ผมเจตนาจงใจประกอบต้นแบบนี้ไว้ เพื่อให้เปรียบกับงานที่ได้รับมอบหมาย บางครั้งเมื่อเราได้รับมอบหมายงานมาสักชิ้น หากเราเคยทำเคยเห็นมันมาบ้างแล้ว เราก็พอจะจินตนาการงานนั้นได้ แต่ก็มีข้อเสียให้พึงระวัง นั่นคือเราอาจประมาทแล้วเร่งทำงานให้เสร็จโดยที่อาจมีรายละเอียดที่ไม่ถูกต้องได้ โดยเฉพาะเมื่อเวลาจำกัด และซ้ำร้ายเมื่อเราคิดว่านี้คือการแข่งขัน (ซึ่งบางครั้งเราคิดไปเอง) เราอาจปิดงานนั้นแบบลวกๆ เพื่อขอให้เสร็จ แบบนี้องค์กรอาจเสียหายได้ ทางแก้ที่ดีคือ เราอาจต้องพูดความจริง บอกให้รู้ถึงข้อจำกัด ทำไม่เสร็จแต่ที่ทำมาคุณภาพดี รายละเอียดถูกต้อง แบบนี้คงไม่มีเจ้านายหรือผู้บังคับบัญชาคนไหนว่า ดีไม่ดีก็เพิ่มเวลาให้เราอีก
สำหรับคนที่ประกอบจากต้นแบบที่ไม่เป็นรูปเป็นร่าง ก็แน่นอนว่าไม่เสร็จ เพราะจินตนาการไม่ได้ แต่จากเท่าที่ทำได้พบว่ารายละเอียด รวมไปถึงเรื่องสี ถูกเกือบทั้งหมด อันนี้ก็หมายความได้ว่า บางครั้งเมื่อเราได้รับมอบหมายงานที่ไม่เคยทำ เรามองไม่เป็นภาพ แบบนี้ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยประมาท ค่อยคิดค่อยทำ งานจึงออกมาค่อนข้างช้า งานแบบนี้จึงเป็นเรื่องของการจัดคนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะ A และ B ที่ต้องสร้างจินตนาการร่วมกัน
ส่วนใครเป็นอะไรแล้วได้รับบทเรียนอะไร ผมคงไม่เขียนถึง เพราะทุกคนพุดได้ถูกต้องหมด ถ้าอยากรู้ลองนำเอาทำดู ผมคิดว่าคำตอบจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมคงไม่ต่างกันมากครับ
ตามตอนต่อไปนะครับ
คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 391435เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2010 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท