การสร้างหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง


เมื่อจิตใจของประชาชนยอมที่มีจะการเปลี่ยนแปลงแล้ว การพัฒนาหมู่บ้านไปสู่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป

       กระบวนการดำเนินงานของการสร้างหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มจากศึกษาสภาพปัจจุบันในยุคโลกาภิวัฒน์  ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศใกล้เคียง ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย  ปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านใกล้เคียงกับเรา ปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านเราเองมีปัญหาอะไรบ้าง  แล้วมาช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นมาทั้งหมดว่ามีสาเหตุจากอะไรบ้าง  โดยให้วิเคราะห์ลงลึกให้ได้มากที่สุด เป็นการรู้ปัญหาจากปลายเหตุ (ผล) ก่อนแล้วค่อยรู้ต้นเหตุ (เหตุ)ของการเกิดปัญหา
        การทำลักษณะนี้เป็นการชักนำให้ประชาชนคล้อยตามไปทีละเล็กทีละน้อยโดยการทำแต่ละขั้นตอนไม่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียวกันหรือเวทีเดียว พอทราบปัญหาหรือรากแก้วของปัญหาแล้วค่อยมาหาวิธีแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงโดยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนนำความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาใส่หรือเชื่อมโยงให้เข้ากับปัญหาให้ได้มากที่สุด  เมื่อประชาชนคล้อยตามจึงชักชวนให้หมู่บ้านมาปรับทัศนคติในการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยให้มีคณะกรรมการหรือแกนนำซึ่งอาจจะแบ่งเป็นคุ้มหรือตามกลุ่มบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน (ตามความเห็นชอบของประชาชนในที่ประชุม)โดยแบ่งด้าน/เรื่องที่ต้องดูแลรับผิดชอบในเรื่องสิ่งที่ตนเองถนัด เพื่อปรับเปลี่ยน/พร้อมทั้งเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาหมู่บ้านโดยให้ใช้ตัวชี้วัดทั้ง  23  ตัวชี้วัดเป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหมู่บ้านอาจจะเพิ่มเติมให้มากกว่านี้ก็ได้  
        ในเมื่อจิตใจของประชาชนยอมที่มีจะการเปลี่ยนแปลงแล้ว การพัฒนาหมู่บ้านไปสู่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป


ข้อเขียนโดยคุณศิริกัญญา  สวนหนองแวง
    

หมายเลขบันทึก: 391403เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2010 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท