มาตราฐานที่5 ทำครูไทยหนักใจ


มาตราฐานที่5

มาตราฐานที่5 ทำครูไทยหนักใจ

       การประเมิน สมศ. รอบสอง ที่ไม่ผ่าน ทำให้ครูไทย โดยเฉพาะโรงเรียนต่างจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เจริญ วัตถุซึ่งเป็นนักเรียนที่ไม่โดดเด่นเรื่องการเรียนที่เป็นเลิศ มารวมตัวกันก็โรงเรียนแบบเหลือเลือกเหลือไป สภาพสิ่งแวดล้อมและตัวนักเรียนเอง ความพอทางด้านครอบครัว แทบจะมีปัญหาครอบครัวอย่างหนัก โรงเรียนมุ่งเน้นวัดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นเลิศอย่างโรงเรียนในเมืองกับเขาไม่ได้หรอกครับ ผล O-NET เอามาวัดกันไม่ได้ถ้าจะให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพของ สมศ. มาตราฐานที่5

      โรงเรียนในลักษณะเช่นนี้ มีอยู่ไม่น้อยในทั่วประเทศไทย สิ่งที่ครูอย่างเราทำได้กับนักเรียนสภาพปัญหาเช่นนี้ ก็คือปลูกฝั่งให้เขาเป็นคนดี มีสำนึกผิดชอบ อยู่ในสังคมไทยได้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม โรงเรียนเช่นเราต้องเน้น ระบบดูแลช่วยเหลือ มากกว่าจะมุ่งเน้นเรื่องความเป็นเลิศทางการเรียน อาจจะได้บ้างในกลุ่มเด็กเก่ง ซึ่งก็นับคนได้ หลายโรง ก็หันมาเน้นติวนักเรียนมากกว่าสอนตามหลักสูตร เพื่อหวังว่าจะรอดพ้นจากการประเมิน มาตราฐานที่ 5  การมุ่งติวด้วยข้อสอบ ไม่ขอบคุมเนื้อหาทั้งหมด ก็มีเนื้อหาที่ตกหล่นไปเยอะไม่ใช่น้อย และยิ่งแข่งกับเวลา และการจำกัดของนักเรียนอีก ก็ยิ่งสร้างความหนักใจให้กับครูผู้สอนอย่างหนัก เพราะเป็นนโยบายเบื้องบนสั่งลงมา

     ติวๆๆๆๆ ให้มาก อย่างอื่นก็ไม่ต้องนึกถึง ให้นักเรียนกลับไปเตรียมตัวมาก่อนยิ่งเป็นไปได้น้อยมาก ไม่ได้ก็ดุตักเตือน เพราะครูก็ต้องรีบไปข้ออื่น เรื่องอื่น เวลามันน้อย เทียบกับเนื้อหาที่ออกสอบ จึงไม่มีเวลามาดูแลเด็กอ่อน ไม่ทันไปเรื่องอื่น ก็ต่อยอดไม่ได้ ติวกันทั้งวัน บ่ายมาบ้านเราก็ร้อนหนักหนา เด็กอ่อนหล้า ครูก็หน้าเข้ม ได้ลองถามเด็กดูหลายคน ว่าทำไมไม่สนใจ เตรียมพื้นฐานมาให้ดีกว่านี้ เด็กก็บอกว่าหนังสือไม่พร้อมยืมเรียน ครูก็เก็บคืนหมดแล้ว งานที่บ้านก็เยอะ กลับบ้านก็ต้องทำงานบ้านช่วยผู้ปกครอง จะเสร็จก็ค่ำแล้ว เหนื่อยมาทั้งวันแล้ว ก็ไม่มีแรงอ่านหนังสือหรือทำการบ้าน ค้นหาข้อสอบในเน็ตก็ไม่ได้ เพราะไม่มีเน็ต ไม่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน

     ผมเคยออกไปเยี่ยมบ้านนักเรียนในที่ปรึกษา เห็นแล้วก็อ่อนใจ เด็กสภาพแบบนี้หรือ ที่จะเป็นแรงเทียนให้โรงเรียนเราผ่าน มาตราฐานที่ 5  อย่าหวังให้ผู้ปกครองสอนการบ้านเลย ความรู้พื้นฐานทางการศึกษาก็ไม่สูงพอ สภาพบ้านก็จนเหลือเกิน เคยถามผู้ปกครองว่า ที่ส่งลูกเรียนหวังให้เขาเป็นอย่างไร ผู้ปกครองก็ยังตอบไม่ได้เลย หวังว่าได้เท่าไรก็เอา แค่ทำงานอะไรก็ได้เพื่อมาเลื้ยงปากเลี้ยงท้องช่วยเหลือครอบครัวก็พอแล้ว ฟังแล้วผมก็คิดเหนื่อยใจแทน ถ้าเราอยู่สภาพแบบนี้ เราจะทำอย่างไรกับลูกของเราดี

     สภาพโรงเรียนด้วยงบประมาณในสังกัด สพฐ. เองก็มีไปเพียงพอในการพัฒนาแม้แต่สภาพโรงเรียนให้ดีขึ้น น่าอยู่ น่าเรียน ยิ่งจำนวนยอดนักเรียนมีอยู่น้อย งบประมาณรายหัวก็แทบจะน้อยนิดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต้องสำรองงบไว้กิจกรรมบังคับ แบบไม่อยู่ในปฏิทินของเขตการศึกษาอีกด้วย

     เบื้องบน คนกรุง ผู้ออกนโยบายเคยมานั่งในโรงเรียนอย่างเรามั้งไหม เคยมีผู้บริหารจากกรุงเทพมาอยู่ ไฟแรงมา แต่อยู่ไม่นานก็ย้ายเข้าเมืองกรุงเหมือนเดิม อยู่ไม่ถึง 6 เดือนเลย มากินตำแหน่งแล้วก็ไป

     มาตราฐานที่ 5  จะวัดเอาไปเปรียบเทียบกับโรงเรียนที่พร้อมทุกส่วนอย่างไร มาตราฐานที่ 5  ประเมินไม่ผ่าน 1 มาตราฐาน ก็ฟันธงว่าเรา ไม่มีคุณภาพ มาตราฐานที่ 5

     เราเคยอยู่อย่างมีความสุข ผลิตนักเรียนออกสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีคุณภาพทางสังคม เราเพาะองุ่นสู่ตลาดพื้นบ้าน คุณมาสร้างเกณฑ์บังคับเราให้สร้างองุ่นแดงสู่ตลาดบนห้าง จากองุ่นพื้นบ้าน มาตราฐานที่ 5

     ประเมินโรงเรียนแล้วเราก็ตก ต้องประเมินรอบสอง สร้างความอับอาย โดนตราหน้าว่า ดูถูก ดูหมิ่น จากสังคมชุมชน ว่าโรงเรียนเราไม่ผ่านมาตราฐานการศึกษาแห่งชาติ ทั้งๆที่แชมโลก มวยโลก ก็เป็นนักกีฬาจากโรงเรียนเรา ผู้นำชุมชน ในหลายท้องที่ก็เกิดจากเรา เพียงมาตราฐานเดียว นั้นคือมาตราฐานที่ 5

คำสำคัญ (Tags): #มาตราฐานที่ 5
หมายเลขบันทึก: 391372เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2010 19:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท