แบบจำลองเป็นนวัตกรรม


วัฒนธรรมการสร้างสรรนวัตกรรมใหม่

 

การสร้างแบบจำลองระบบเกษตร หรือระบบต่าง ๆ เป็นนวัตกรรมที่ต้องมีการปลูกฝัง และการสะสมประสบการณ์ โดยเฉพาะสำหรับคนรุ่นใหม่

คำถามที่น่าสนใจได้แก่ ทำอย่างไรนักเกษตรรุ่นใหม่จึงจะมีความสามารถในการสร้างสรรงานนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางเกษตรได้? เขาต้องได้รับการฝึกฝนและการบ่มเพาะในสิ่งแวดล้อมอย่างไร? ต้องการครูอาจารย์และพี่เลี้ยงด้านต่าง ๆ สนับสนุนในด้านวิชาการและด้านกำลังใจ อย่างไร? เพื่อให้มีแรงใจและแรงกายที่แข็งแรงและเป็นสุขในการสร้างสรรนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางเกษตร

 

มีข้อเขียนหลากหลายที่ก่อให้เกิดแนวทางเพื่อนักเกษตรรุ่นใหม่จะมีหลักการที่ดี ได้แก่ 

หลักการที่ ๑ นักเกษตรรุ่นใหม่ต้องได้รับประสบการณ์การสร้างสรรงานนวัตกรรมใหม่ ๆ ตั้งแต่วันแรกที่เข้าสู่วงการเกษตร

หลักการที่ ๒ นักเกษตรรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้ว่านวัตกรรมใหม่นั้นต้องมีความหยืดหยุ่น ต้องบูรณาการองค์ความรู้จากสาขาวิชาการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

หลักการที่ ๓ นักเกษตรรุ่นใหม่ต้องมีความเคารพ และซาบซึ้งการออกแบบนวัตกรรมใหม่ทางเกษตรนั้นเป็นศิลปะ เช่นเดียวกับนวัตกรรมด้านการแพทย์ การศึกษา ด้านวิศวกรรม ด้านสถาปัตยกรรม ฯล ฯ

หลักการที่ ๔ นักเกษตรรุ่นใหม่ต้องเข้าใจว่าการสร้างสรรนวัตกรรมใหม่ทางเกษตรนั้นต้องมีพื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อการใช้งานได้จริงในสภาพแวดล้อมของเกษตรกรไทย หมายถึง การทำซ้ำ และการตรวจสอบได้

หลักการที่ ๕ นักเกษตรรุ่นใหม่ต้องมีโอกาสเรียนรู้จากการปฏิบัติงานการผลิตทางเกษตรที่เกิดขึ้นจริงในและนอกประเทศไทย โดยร่วมกับกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ฯลฯ

หลักการที่ ๖ นักเกษตรรุ่นใหม่ต้องมีความสุขในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งมั่นในการสร้างสรรนวัตกรรมใหม่ ๆ  

 -------------------------

อรรถชัย จินตะเวช, เชียงใหม่

 

 

หมายเลขบันทึก: 39053เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2006 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท