การเป็นผู้นำในสถานศึกษาอย่างมืออาชีพ


• บทความทางวิชาการ

• การเป็นผู้นำในสถานศึกษาอย่างมืออาชีพ

โดย.... ศุภวัฒน์ กลิ่นจันทน์ กศ.ม. การบริการการศึกษา

[email protected]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภาต่างมีอุดมการณ ์และหลักการการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมไทยเพื่อให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และเพื่อให้คนไทยทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันทางการศึกษาพัฒนาคนได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตอันเป็นเงื่อนไขไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ที่พึงประสงค์

อุดมการณ์สำคัญของการจัดการศึกษา คือ การจัดให้มีการศึกษาตลอดชีวิต และการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมเห่งการเรียนรู้ การศึกษาที่จะสร้างคูณภาพชีวิต และสังคมบูรณาการอย่างสมดุลระหว่างปัญญาธรรม คุณธรรม และวัฒนธรรม เป็นการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคนไทยทั้งปวงมุ่งสร้างพื้นฐานที่ดีในวัยเด็ก ปลูกฝังความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมตั้งแต่วัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อการทำงานที่มีคุณภาพ โดยให้สังคมทุกภาคส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบได้อย่างมั่นใจว่า การศึกษาเป็นกระบวนการของการพัฒนาชีวิต และสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน สามารถพึงตนเอง และพึ่งกันเองได้ และสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ)ดังนั้นในการดำเนินการการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นการศึกษาขั้นต้นจึงจำเป็นที่จะต้องปูพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนอย่างมั่นคง จริงจัง ในทุก ๆ ด้านตามเจตนารมณ์ของการจัดการศึกษา จึงจำเป็นต้องส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่สถานศึกษาในการจัดการศึกษา และได้บัญญัติไว้ในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฯ ให้มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณบริหารงานบุคคล และงานบริหารงานทั่วไป ไปยังคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่ มีอิสระมึความเข้มแข็งในการบริหารงาน เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างคล่องต้ว รวดเร็ว และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติโดยรวม

อย่างไรก็ตาม แม้เราจะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีมาตรฐานการศึกษาของชาติ หรือหลักสูตรที่เลิศ และมีงบประมาณสนับสนุนที่มากมาย ถ้าหากโรงเรียนซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติโดยเฉพาะครูผู้รูู้อนยังมีพฤติกรรมการสอนที่ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งต่าง ๆที่กล่าวมาหาได้มีความหมายใด ๆไม่

การทำงานที่ประสบผลสำเร็จของโรงเรียนปัจจัยที่สำคัญยิ่งคือ ครูมีกำลังใจในการทำงาน มีความกระตือรือร้น ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และสติปัญญาอย่างเต็มที่คือหนทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ การเปลี่ยแปลงพฤติกรรมของครูให้เป็นที่คาดหวังดังกล่าว ส่วนหนึ่งคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทอย่างยิ่งในระดับหน่วยปฏิบัติ ที่จะให้การกระตุ้นยั่วยุ ปลุกเร้า ท้าทาย เพื่อให้ครูมีความกระตือรือร้น ทุ่มเทกับการทำงาน พร้อมสนับสนุนให้ครูมีความรู้ ความสามารถในการทำงาน การจัดกิจกรรมการการเรียนการสอนอย่างลุ่มลึก และแจ่มแจ้ง พร้อมสนับสนุนปัจจัยหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานต่าง ๆ ให้เพียงพอก็จะทำให้ครูมีประสิทธิภาพในการจัดกืจกรรมการเรียนการสอนโดยจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง และจริงจังจะหยุดไม่ได้ ดังนั้นการดำเนินงานที่จะทำให้ โรงเรียนปราศจากความล้มเหลวควรที่จะประกอบด้วยปัจจัยของการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาอย่างมืออาชีพดังนี้

1.การเป็นผู้นำ

ความสำเร็จหรือความล้มเหลวทั้งปวงของโรงเรียนขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้นำ ทั้งสิ้น พฤติกรรมของผู้นำ คือ ชักจูง ปลุกเร้า ให้ครูในโรงเรียนทุกคน ตลอดทั้งผู้ปกครอง และชุมชน ยอมรับคล้อยตามความฝัน หรือเป้าหมาย เพื่อให้ความฝันหรือเป้าหมายเกิดความเป็นส่วนร่วมกันของคณะครู อาจารย์ ผู้ปกครอง และชุมชน มิให้เป็นของคน ๆ เดียวเมื่อทุกคนมีส่วนร่วม และยอมรับเป้าหมายตรงกันทุกคนส่วนร่วมในกระบวนการที่จะทำให้ฝันเป็นจริงโดยเปิดโอกาสให้ครูทุกคนมีอิสระในความคิด และร่วมสร้างสรรค์ในการพัฒนางานเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ผู้บริหารโรงเรียนที่ไม่มีวิสัยทัศน์ ไม่มีเป้าหมาย มักจะถูกครูที่อยู่รอบข้าง หรือผู้บังคับบัญชา หรือนักการเมืองที่อยู่เหนือขึ้นไป กำหนดขอบเขตให้เดินตาม ดังนั้นผู้บริหารที่จะทำโรงเรียนไปสู่ความสำเร็จ จะต้องมีลักษระดังนี้

1) เป็นผู้มีความฝัน ว่าโรงเรียนในอุดมคติหรือโรงเรียนที่ดีนั้นมีหน้าตา ลักษณะอย่างไร มองเห็นภาพงาน และภาพความสำเร็จที่จะเดินไป

2) โน้มน้าว และสร้างแรงจูงใจให้ครู ผู้ปกครอง และชุมชนยอมรับ และคล้อยตามฝันเพื่อให้เป็นความฝันของทุก ๆ คนร่วมกัน

3) เป็นผู้มีความตั้งใจแน่วแน่ และอุทิศตนในการที่จะทำให้โรงเรียนในฝันเป็นจริง โดยยืนยัดอดทน ไม่ทิ้งความฝันที่ตั้งไว้

4) กระตุ้นยั่วยุ ปลุกเร้า ท้าทาย และสนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการทำงานอย่างเข้มแข็ง

5) เป็นผู้มีคุณะรรม จะได้รับความร่วมมือและมีมิตรภาพที่ดีต่อกัน

6) เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ยอมรับสิ่งใหม่ ๆ กระตือร้อร้นที่จะเรียนรู้ ความคิดเห็นใหม่ ๆ รวมทั้งกล้าเผชิญหน้า และ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

2.ลูกค้าคือสิ่งสำคัญที่สุด

บริษัทที่ประสบความสำเร็จ จะต้องยึดถือลูกค้าเป็นเป้าหมายสูงสุด ทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และครู ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ร่วมวางแผน ในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน และส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐาน และควบคุมตรวจสอบคุณภาพการศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ตลอดจนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ หากทำได้อย่างที่กล่าวแล้วนั้นย่อมแสดงว่าโรงเรียนก้าวสู่ยุคปฏิรูป เป็นที่ยอมรับของลูกค้า ที่มาใช้บริการอย่างแท้จริง

3.มองเห็นเป้าหมายหรือภาพความสำเร็จตรงกัน

ในการปฏิบัติงานใด ๆจะต้องฝึกให้ผู้มีส่วนร่วมงานรู้จักการตั้งเป้าหมาย หรือมีเป้าหมายทุก ๆ ครั้ง เมื่อมีเป้าหมายและภาพของความสำเร็จของงานจะเป็นตัวชี้วัดของการทำงานว่าสำเร็จ หรือล้มเหลว

การทำงานหากแต่ละคนมีเป้าหมาย และจุดมุ่งหมายในการทำงานคนละอย่างคนละเรื่องแล้ว การทำงานย่อมไม่มีทิศทาง และพลัง เพราะคนต่างทำตามความรู้สึกนึกคิดของตนเอง เปรียบเสมือนกับการพายเรือ หากฝีพายไม่ทราบจุดหมาย และเป้าหมายที่จะไปแล้วแต่ละคนจะพายไปในทิศทางของตนเอง เรืออาจจะวนไปวนมา หรือเรืออาจล้มได้ แต่ถ้าหากทุกคนมีจุดหมายและเป้าหมายในทิศทางที่ตรงกันแล้วทุกคนก็จะพายไปในทิศทางเดียวกัน แและจะถึงจุดหมายที่จะไปในที่สุด

ในการบริหารสถานศึกษาก็เช้นเดียวกัน คือทุกคนจะต้องรู้เป้าหมาย เข้าใจร่วมกัน และเห็นภาพสุดท้ายในการทำงานที่ตรงกันเพราะเมื่อทุกคนมีเป้าหมายร่วมกันและตรงกันแล้วก็จะเกิดพลัง และความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานให้ได้ผลตามเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ และในการตั้งเป้าหมายนั้น จะต้องตั้งเป้าหมายที่คนได้ยินได้ฟังเกิดพลัง มีความทะเยอทะยาน ท้าทาย และมีความเป็นไปได้

พึงตระหนักว่า โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จจะต้องอาศัยพื้นฐานของวิสัยทัศน์ หรือความคาดหวังของผู้มีส่วนร่วมได้เสีย(Stakeholders ) ร่วมกันสร้างเป้าหมาย(Goals ) โดยมุ่งที่ตัวนักเรียนเป็นผลผลิต และร่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์(Strategic plan) โดยอาศัยข้อมูลอย่างจริงจังเเื่ื่ื่อพัฒนาวิสัยทัศน์ และเป้าหมายที่พึงประสงค์

ในสถานศึกษา การกำหนดเป้าหมายจะต้องมุ่งไปที่นักเรียนซึ่งเป็นลูกค้า ว่านักเรียนจะต้องได้รับอะไรบ้างโดยมีหลักสูตรเป็นกรอบในการกำหนดเป้าหมาย และมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ซึ่งผู้มีส่วนได้ด้เสีีัยร่วมกันกำหนดพร้อมกำหนดยุทธศาสตร์ ที่จะก้าวไปถึงเป้าหมาย เพื่อให้ทุกคนมองเห็นภาพสุดท้ายที่ตรงกัน

4.การสร้างองค์กร (ดำเนินการให้ทุกคนเชื่อมั่นในเป้าหมาย)

การสร้างองค์กรให้มีความเชื่อมั่นในเป้าหมาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร จะต้องแสดงหรือตอกยำ้ และกล่าวถึงเป้าหมายให้ทุกคนเกิดความเชื่อมั่น เพื่อจะให้ทุกคนในองค์กรจะได้ ช่วยกันทุ่มเทการทำงานให้ได้ตามเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา และฝังอยู่ในจิตใจของทุกคน เสมือนกับการตอกหัวตะปูยำ้แล้วยำ้อีกเพื่อจะให้ตะปูเจาะเนื้อไม้ที่แข็งแกร่งเพื่อให้ทุกคนเห็นจุดยืนหรือทิศทางของโรงเรียนอย่างชัดเจนไม่ว่าจะมีอุปสรรค์ หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆก็ตามก็พร้อมที่จะช่วยกันฟันฝ่าไปสู่เป้าหมาย

5.ความคิดสร้างสรรค์

มีนักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า"คนไทยส่วนใหญ่ชินต่อระบบการชี้นำจึงไม่อยากคิดเอง และไม่พร้อมที่จะคิดหาวิธีการทำงานของตนเองถ้าหากมีคนชี้นำดีก็พอนำไปได้ถ้าหากขาดผู้ชี้นำที่ดีก็จะทำงานไม่ได้หรือไม่อยากจะทำงานต่อไป และผู้บังคับบัญชาก็ไม่ได้ใจลูกน้องเนื่องจากเราชินต่อระบบเผด็จการ และการที่ลูกน้องไม่กล้าแสดงความสามารถ จึงทำให้ผู้บังคับบัญชาชินต่อการสั่งการเลยไม่ค่อยเข้าใจลูกน้อง" หน่วยงาน หรือสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จร็็ถึอความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจของบริษัท ซึ่งต้องคอย กระตุ้น ยั่วยุ ท้าทาย และให้การสนับสนุนบุคลากรในหน่วยงาน เกิดความคิดสร้างสรรค์ และคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ แปลก ๆ อยู่ตลอดเวลา

การที่จะให้เกิดกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ จะต้องเริ่มจากการ ตั้งเป้าหมายที่ฝังแน่นในหัวใจ และต่อมาก็จะเกิดความตั้งใจปรารถนาจะไปให้ถึงเป้าหมายมีความตั้งใจอย่างแรงกล้า จึงจะเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบการคิดค้นในวิธีการหรือวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ดังนั้นการปฏิบัติงานในสถานศึกษาผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้อิสระในการทำงานพร้อมกับสนับสนุนและให้กำลังใจในการทำงาน โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จหรือโรงเรียนดีเด่นต่าง ๆจะมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ แปลก ๆอยู่เสมอในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน

6.การทำงานเป็นทีม

ในโลกอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงอยู่ในขณะนี้ การบริหารงานแบบข้าเก่งคนเดียว ย่อมสิ้นสุดลงแล้วเมื่อย่างเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ การบริหารงานที่จะอยู่รอดได้ คือ การทำงานเป็นทีม และต้องเป็นทีมที่เต็มไปด้วยพละกำลัง และความกระตือรือร้น เพื่อจะไปให้ถึงเป้าหมาย ดังเช่นอาชีพหมอ จะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และและความคิดเห็นกันอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่การวินิจฉัยโรคจนถึงการผ่าตัดรักษาคนไข้

ไซเซอร์(sizer) กล่าวถึงโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จะต้องเป็นโรงเรียนที่มีลักษณะของความเป็นกัลยาณมิตรร่วมวิชาชีพ (Collegiality ) คือ

1)บุคลากรในโรงเรียนพูดคุยกันถึงเรื่องการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สมำ่เสมอและเป็นรูปธรรม

2) บุคลากรในโรงเรียนสังเกตการทำงานของกันและกันทั้งในเรื่องของการเรียนการสอน และการบริหารโรงเรียนแล้วนำสิ่งที่ได้จากการสังเกตมาพิจารณาทบทวน และพูดคุยกันเพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้น

3) บุคลากรในโรงเรียนร่วมพัฒนาหลักสูตรโดยการวางแผนออกแบบทำวิจัยศึกษา และวัดผล ประเมินผลหลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียน

4) บุคลากรในโรงเรียนแนะนำการสอน และพัฒนาซึ่งกันและกันในเทคนิควิธีการทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และภาวะผู้นำที่แต่ละคนถนัด

ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นจะทำให้ทุกคนเกิดการมีส่วนร่วม คือทุกคนร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผลได้ผลเสียในการกระทำร่วมกัน เมื่อทุกคนมีส่วนร่วมจะทำให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ

การทำงานเป็นทีม เป็นการดึงเอาศักยภาพหรือความเก่งของแต่ละบุคคลในกลุ่มมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และบุคคลในกลุ่มยังได้เรียนรู้การทำงานที่ดีจากเพื่อน ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ นโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ การทำงานที่คลุมเครือจะกระจ่างขึ้น ทุกคนเห็นเป้าหมาย และจุดหมายได้ตรงกัน ซึ่งจะช่วยกันสร้างภาพงานหรือหนทางที่หลากหลายในการไปสู่เป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญที่สุดบุคลากรมีความรัก ความเข้าใจ และเอื้ออาทรต่อกัน

7 เปิดโอกาสให้คนอื่นพูด

การฟังคือความสามารถที่จะช่วยให้เรารู้ถึงความต้องการ และวัตถุประสงค์ของลูกค้า ผู้ซื้อ และผู้ร่วมงาน ดังนั้นการฟังของผู้บริหารจึงเป็นเครื่องชี้อย่างหนึ่งที่บอกว่าสำนักงานใด หรือโรงเรียนใดล้มเหลว หรือประสบความสำเร็จ ดังปราชญผู้รู้กล่าวว่า"พระเจ้าประทานให้เรามีสองหูหนึ่งปาก" ดังนั้นการฟังจึงมีความสำคัญต่อหน่วยงาน

8.ความเรียบง่ายของผู้บริหาร

กรอบความคิดเป็นตัวกำหนดในการแสดงพฤติกรรมที่เป็นมิตรหรือศัตรู ถ้าผู้บริหารมีกรอบความคิดว่าทุกคนคือเพื่อนร่วมงานการปฏิบัติตนของผู้บริหารจะแสดงออกด้วยความเป็นมิตร ทั้งภาษา ท่าทาง มีการยกย่องให้เกียรติ และไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความเป็นศัตรูจะไม่เกิดขึ้น

9.คำชมเชย

ในชีวิตการทำงานจริง ๆเราต้องทำงานร่วมกับหมู่คณะ บางครั้งเราต้องการความร่วมมือ บางครั้งเราต้องการให้เขาทำงานตามสิ่งที่เราบอก บางครั้งเราต้องการให้เขากระตือรือร้นสนใจในการทำงาน และอื่น ๆ อีกมากมาย ตามแต่ใจปรารถนา แต่สิ่งหนึ่งที่เรามักลืมนึกถึงในการทำงานร่วมกันคือ คนเราทุกคนต้องการคำชมเชย ยกย่อง และไม่มีใครต้องการคำตำหนิ ดูถูก หรือเหยียดหยาม (แต่คำยกย่องชมเชย ต้องมาจากความจริงใจ)่ และเมื่อทุกคนต้องการสิ่งเหล่านี้ทำไมผู้บริหารให้เขาไม่ได้(ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องลงทุนแต่อย่างไร)

ในคำยกย่อง ชมเชยผู้เขียนนึกถึงสมัยเรียน ระดับประถมศึกษาในหลักสูตรพุทธศักราช 2503 ในวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นิทานเรื่อง "โคนันทวิสาร"ได้พูดถึงการทำงานของโคในการลากจูงเกวียนที่บรรทุกสิ่งของค่อนข้างหนักแต่เจ้าของเกวียนใช้คำพูดที่เป็นลักษณะปิยะวาจาทำให้การทำงานในครั้งนั้นดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ดังนั้นในการทำงานแม้จะยากลำบากหนักหนาสาหัส แต่ถ้าได้รับคำชมเชยเราจะได้ใจจากเพื่อนร่วมงานที่จำทำงานให้บรรลุเป้าหมายไปได้

10.การท้าทาย

มนุษย์ทุกคนปรารถนาอยากจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีอำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ เป็นที่รู้จัก และยอมรับนับถือของผู้คนด้วยกันทั้งสิ้น การท้าทายจึงเป็นการพิสูจน์ความสามารถของตนเอง หน่วยงานหรือองค์การที่ประสบความสำเร็จมักจะหาเรื่องต่าง ๆมาท้าทายความสามารถของบุคลากรในหน่วยงานอยู่เสมอพร้อมกับคำพูดยั่วยุ ปลุกเร้า โดยพยายามที่จะเลือกหาคำที่เหมาะสมเพื่อเป็นการปลุกเร้า ให้บุคลากรลุกขึ้นมาแข่งขันอยู่ตลอดเวลา เช่น "เราจะชนะคู่แข่งให้ได้ " "สินค้าและการบริการของเราจะต้องอยู่ในแนวหน้าเท่านั้น" "การทำงานวันนี้จะต้องได้ผลดีกว่าเมื่อวานนี้"

บทบาทผู้นำโรงเรียนของสหรัฐ

Role of the School Leader

รศ.สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์

บทความนี้เรียบเรียงจากข้อเขียนชื่อ Role of the School Leader โดย Larry Lashway (2003) ที่กล่าวถึงบทบาทผู้นำหรืออาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนในสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมใน 6 ประเด็นสำคัญได้แก่ การนิยามความหมายของการเป็นผู้นำโรงเรียน การมีจุดเน้นการเป็นผู้นำทางวิชาการ การนำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาโครงสร้างภาวะผู้นำที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ การเป็นศูนย์กลางแห่งคุณธรรม และการสนองตอบต่อภาวะความเปลี่ยนแปลง

นับตั้งแต่มีตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ขึ้นในระบบการศึกษาของอเมริกัน นักการศึกษาต่างพยายามให้ความหมายของตำแหน่งดังกล่าวโดยยึดจากบทบาทเด่น ๆ ที่อาจารย์ใหญ่ในแต่ละยุคสมัยถือปฏิบัติ ซึ่งมักสะท้อนถึงบริบทความเชื่อของสังคมและการศึกษาในช่วงนั้น ๆ กล่าวคือ มีอยู่ทศวรรษหนึ่งที่ อาจารย์ใหญ่ถูกคาดหวังให้มีบทบาทเป็น “หัวหน้าผู้บริหารงานสำนักงาน หรือ bureaucratic executives” อีกสิบปีต่อมาเน้นบทบาทของ “การเป็นผู้เอื้ออำนวยเชิงมนุษยธรรม หรือ humanistic facilitators” แล้วกลับมาเน้นบทบาทของ “การเป็นผู้นำทางวิชาการหรือผู้นำทางการเรียนการสอนที่เรียกว่า instructional leader” ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา

ในช่วงทศวรรษ 1990 สังคมได้เน้นถึงความสำคัญเรื่อง “เกณฑ์มาตรฐานของความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้” (standards-based accountability) ดังนั้นสถาบันผู้นำทางการศึกษา หรือ The Institut for Educational Leadership (2000) ได้ระบุบทบาทความรับผิดชอบของอาจารย์ใหญ่ที่เพิ่มเติมจากการบริหารงานธุรการประจำอยู่แล้ว ดังนี้

“อาจารย์ใหญ่ ยุคปัจจุบัน จะต้องเป็นผู้นำการเรียนรู้ของนักเรียน จึงต้อง

มีความรอบรู้ทั้งเนื้อหาสาระทางวิชาการและเทคนิควิธีสอน จะต้องทำงานร่วมกับครู

ในการเสริมสร้างทักษะที่เข้มแข็งให้แก่ครู ร่วมกันเก็บข้อมูล วิเคราะห์และใช้ข้อมูล

เพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ อาจารย์ใหญ่จะต้องสามารถในการระดมทุก

ฝ่ายตั้งแต่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง หน่วยงานภาครัฐและธุรกิจเอกชน ฯลฯ เป็นต้นให้

เข้า มาร่วมยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โดยอาจารย์ใหญ่จะต้องมีทักษะด้านภาวะ

ผู้นำสูงมีความรู้ความเข้าใจต่อการใช้อำนาจหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์ใน

ประเด็นดังกล่าวอย่างชาญฉลาดและเกิดผลสำเร็จ”

อย่างไรก็ตาม การระบุบทบาทความรับผิดชอบแบบกว้าง ๆ ที่เป็นนามธรรมโดยยังขาดการจัดทำเป็นพันธกิจที่ชัดเจนง่ายต่อการปฏิบัติเช่นนี้ จึงทำให้อาจารย์ใหญ่ทั้งหลายเกิดความรู้สึกว่า ตนถูกเพิ่มภาระหน้าที่ใหม่ขึ้นจากเดิมแทนที่จะนำงานใหม่มาบูรณาการเข้ากับงานที่รับผิดชอบอยู่เดิม ซึ่งยิ่งกว่านั้นอาจารย์ใหญ่ส่วนหนึ่งมีความรู้สึกว่า หน้าที่ความรับผิดชอบใหม่ยิ่งทำให้ภาระงานเดิมที่หนักอยู่แล้วเกินก่วาที่จะปฏิบัติให้สำเร็จด้วยดี ปัญหาเช่นนี้ส่งผลให้นักการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถปฏิเสธที่จะสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นอาจารย์ใหญ่ใหม่เพราะเห็นว่าเป็นงานหนักที่ขาดความท้าทายอีกต่อไป

การนิยามความหมายของผู้นำโรงเรียน

(Defining School Leadership)

มีนักวิชาการ ผู้บริหารการศึกษาและหน่วยงานทางการ ศึกษาระดับสูงจำนวนไม่น้อยที่พยายามให้ความหมายของผู้นำโรงเรียนหรืออาจารย์ใหญ่ โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานทางวิชาชีพ หน่วยงานและบุคคลที่ควรกล่าวถึงในเรื่องนี้ได้แก่

1. เกณฑ์มาตรฐานของกลุ่มผู้ออกใบประกอบวิชาชีพผู้นำโรงเรียนระหว่างมลรัฐ (Interstate

School Leaders Licensure Consortium เรียกย่อว่า ISLLC)

ซึ่งค่อนข้างได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วในสหรัฐ โดยได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานของผู้นำโรงเรียนที่สำคัญไว้ 6 ประเด็น ดังนี้

1) ดำเนินการให้มีวิสัยทัศน์ร่วมขึ้น (facilitating share vision)

2) ส่งเสริมวัฒนธรรมโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและครู

3) บริหารจัดการโรงเรียนให้มีบรรยากาศของการเรียนรู้ที่มีความปลอดภัยมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4) สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและสมาชิกของชุมชน

5) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นธรรมและยึดมั่นต่อหลักคุณธรรม

6) มีศักยภาพและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการต่าง ๆ เช่น การเมือง สังคม เศรษฐกิจ กฎหมายและวัฒนธรรม เป็นต้น

ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพทางการศึกษา (Transformational Leadership in Education) กล่าวโดยสรุป ผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพกระทำในสิ่งต่อไปนี้

• ทำงานอย่างมีจิตสำนึก ด้วยใจรักและมีความภูมิใจต่องานที่ทำ

• แสดงพฤติกรรมที่เป็นตัวอย่างในสิ่งที่ต้องการกระตุ้นให้ผู้อื่นกระทำ

• ประพฤติปฏิบัติอย่างเสมอต้นเสมอปลายตลอดเวลา

• คิดออกไปนอกกรอบของงานไปสู่อนาคต (คิดแบบหลุดโลก)

• เสริมแรงและพยายามผลักดันให้วิสัยทัศน์สู่อนาาคตอยู่ในกระแสขององค์การตลอดเวลา

• ใช้การสื่อสารทางวาจาอย่างมีประสิทธิผล

• ไม่พูดไร้สาระหรือพูดซ้ำซากแต่ขาดความจริงใจ

• ปรับระดับของภาษาที่ใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง

• ปฏิสัมพันธ์เป็นรายบุคคลและพบปะพูดคุยแบบสองต่อสองกับผู้ร่วมงาน

• พยายามศึกษาให้เข้าถึงบุคลิกภาพที่แท้จริงของผู้ร่วมงานรายคน

• คิดหาวิธีใหม่ที่ดีกว่าในการทำงานอยู่ตลอดเวลา

• กระตุ้นคนอื่นให้คิดหาวิธีใหม่ที่ดีกว่าในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ

• กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการริเริ่มทดลองใหม่ ๆ ขึ้น โดยไม่มีการตำหนิใครเมื่อการปฏิบัติงานดังกล่าวพบความล้มเหลว

• แสวงหาความคิดช่วยเหลือจากผู้ตามพร้อมทั้งเต็มใจรับข้อมูลป้อนกลับจากผู้ตาม

• เอาใจใส่แก้ปัญหาขั้นตอน กฎระเบียบต่าง ๆ ที่ทำให้งานล่าช้า (Red – Tape) และเป็นอุปสรรคอยู่ตลอดเวลา

• คลุกคลีและปรากฎตัวอยู่ในที่ทำงานกับผู้ร่วมงานเป็นประจำ

120.

Penkhea-s [IP: 113.53.75.3]
เมื่อ 13 สิงหาคม 2553 20:29
#2132613 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]

ภาวะผู้นำกับการสร้างทีมงาน

การแบ่งผู้นำตามพฤติกรรม (Leadership behavior)

ผู้นำนอกจากแบ่งตามวิธีการที่ได้มา เช่นโดยแต่งตั้งหรือเลือกตั้งแล้ว ยังแบ่งเป็นประเภทได้ตามพฤติกรรมที่ผู้นำคนนั้นแสดงออก เช่น เราคงเคยเห็นผู้นำแบบ “อัศวินขี่ม้าขาว” ในภาพยนตร์ที่แสดงถึงความห้าวหาญในการปกป้องคนของตนด้วยการขี่ม้าขาวนำหน้าเข้าบดขยี้ข้าศึกจนแตกพ่ายไป หรือผู้นำแบบโค้ชฟุตบอลที่คอยตะโกนสอนและให้กำลังใจนักฟุตบอลที่กำลังแข่งขันอยู่ในสนาม หรือผู้นำแบบนักปลุกเร้าใจที่สามารถพูดโน้มน้าวให้ผูงชนเกิดแรงดลใจคล้อยตามวิสัยทัศน์ของตนเป็นต้น อย่างไรก็ตามท่านผู้รู้ในเรื่องนี้บอกว่ายากที่จะตัดสินได้ว่าผู้นำแบบไหนดีและมีประสิทธิผลมากที่สุด ทั้งนี้เพราะผู้นำจะมีประสิทธิผลได้นั้น จะต้องรู้จักการปรับบทบาทให้สอดคล้องกับแต่ละสถานการณ์และความจำเป็นที่เกิดขึ้นแต่ละกรณีได้ดี ดังนั้นทฤษฎีภาวะผู้นำส่วนใหญ่ในปัจจุบัน พฤติกรรมของผู้นำจะเกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องสำคัญ (1) มุ่งงาน (2)มุ่งคน และ (3) เข้าใจสถานการณ์และรู้จักปรับบทบาทตนเองให้เหมาะสม

ต่อไปนี้จะเลือกกล่าวถึงพฤติกรรมของผู้นำบางประเภทโดยสังเขป เพียงเพื่อให้เห็นว่าผู้นำแบบใดที่มีพฤติกรรมเหมาะแก่การเป็นผู้นำทีมงาน (Team leadership) ได้แก่ผู้นำแบบบุรุษเหล็ก / สตรีเหล็ก (Strongman) ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactor) ผู้นำแบบนักวิสัยทัศน์ (Visionary hero) และผู้นำแบบชั้นยอด (SuperLeader)

1. ผู้นำแบบบุรุษเหล็ก / สตรีเหล็ก (Strongman)

เป็นผู้นำที่ใช้คำสั่งหรือคำแนะนำเป็นเครื่องมือทำให้เกิดอิทธิพลต่อผู้ตาม เนื่องจากสมัยก่อนผู้นำส่วนใหญ่เป็นผู้ชายจึงนิยมเรียกผู้นำว่า ผู้นำแบบบุรุษเหล็ก ผู้นำแบบนี้ใช้อำนาจที่มากับตำแหน่งของตน ด้วยวิธีข่มขู่ให้เกรงขาม (coercion) เป็นคำสั่งที่ลงไปข้างล่างให้ลูกน้องหรือคนอื่นจำต้องยินยอมปฏิบัติตามอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ พฤติกรรมที่พบเห็นบ่อยในผู้นำแบบนี้ได้แก่ การออกคำสั่ง การบอกวิธีปฏิบัติ การกำหนดเป้าหมายเอง การข่มขู่ การตำหนิ การคาดโทษ เป็นต้น ตัวอย่างที่ชัดเจนของผู้นำแบบนี้ ก็คือ ผู้นำเผด็จการทหารที่ใช้อำนาจด้วยวิธีตะเพิดข่มขู่ให้ลูกน้องเกิดความเกรงกลัว

2. ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactor)

เป็นผู้นำที่ใช้รางวัล (rewards) เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนกับการปฏิบัติตามของผู้ตามรางวัลหรือผลประโยชน์แลกเปลี่ยนจึงเป็นแหล่งสำคัญที่ทำให้ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ตามให้ยินยอมปฏิบัติตามที่ผู้นำปรารถนา เพราะผู้ตามรู้ว่าผู้ควบคุมและมีอำนาจจัดสรรรางวัลหรือทรัพยากรในหน่วยงานก็คือผู้นำ ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าตนมีโอกาสได้รับรางวัลดังกล่าวก็ต้องเอาใจหรือปฏิบัติตามที่หัวหน้าต้องการ พฤติกรรมที่เห็นบ่อยของผู้นำแบบนี้ก็คือ การให้รางวัลเป็นวัตถุเป็นเงิน รางวัลพิเศษต่าง ๆ เมื่อพบว่าลูกน้องขยัน ทุ่มเทเอาใจใส่ในการทำงาน มีผลงานดี มีความภักดีต่อหัวหน้าหรือต่อหน่วยงาน ตลอดจนการช่วยสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าด้านหน้าที่การงานถ้าลูกน้องคนนั้นสามารถทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่หัวหน้ากำหนดไว้ เป็นต้น

3. ผู้นำแบบนักวิสัยทัศน์ (Visionary hero)

เป็นผู้นำที่ใช้บุคลิกภาพและความสามารถพิเศษ (charisma) ของตนเป็นเครื่องมือ เกิดอิทธิพลกระตุ้นให้เกิดแรงดลใจขึ้นแก่ผู้ตามให้อยากทำตามอย่างที่ผู้นำทำ ทั้งนี้เพราะเกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อตัวผู้นำ ผู้นำแบบนี้บางคนก็เรียกว่า ผู้นำโดยบารมี เป็นผู้นำที่มีศิลปะในการพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังมองเห็นภาพได้ชัดเจน และเชื่อว่าภาพในอนาคตที่ผู้นำพูดถึงนั้นสามารถไปได้ถึงแน่นอน ถ้าร่วมใจกันทำอย่างที่ผู้นำต้องการ เนื่องจากผู้นำเป็นนักคิด นักพูดและนักวาดฝันถึงอนาคตที่เป็นไปได้ เราจึงเรียกผู้นำแบบนี้ว่า ผู้นำแบบนักวิสัยทัศน์ (visionary hero) ผู้นำแบบนี้จึงกล้าคิดกล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าท้าทายต่อสิ่งใหม่ ๆ แม้ว่าจะกระทบต่อตำแหน่งสถานภาพตนเองหรือคนอื่นก็ตาม ถ้าเชื่อว่าสิ่งที่ทำนั้นทำให้สังคมส่วนรวมดีขึ้น จึงเป็นผู้นำที่สามารถยกระดับคุณธรรมของลูกน้องให้สูงขึ้นจากทำงานเพื่อได้ประโยชน์ส่วนตัวเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งการได้ประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญอีกด้วย ผู้นำแบบนี้คนมักยกย่องเหมือนวีรบุรุษ เช่น มหาตมะคานธี ผู้กอบกู้เอกราชให้อินเดีย มาร์ตินลูเธอร์ คิง ผู้นำที่ต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนผิวดำ มิให้ถูกรังเกียจและแบ่งแยกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมจากสังคม เป็นต้น แต่ก็มีข้อระวัง ถ้าผู้นำแบบนี้ไร้จริยธรรม ก็จะใช้พลังประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาตนไปดำเนินการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว จนต้องพบความหายนะ เช่น กรณีของ อะด๊อฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมันเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น จึงเป็นผู้นำวิสัยทัศน์แบบจอมปลอม

4. ผู้นำแบบชั้นยอด (SuperLeader)

เป็นผู้นำที่มุ่งพัฒนาผู้ตาม เพื่อให้สามารถนำตนเอง จนในที่สุดผู้ตามก็แปรสภาพไปเป็นผู้นำโดยอัตโนมัติ มีบางคนเรียกผู้นำแบบนี้ว่า “ผู้นำแบบมอบอำนาจเบ็ดเสร็จ” (empowering leader) ผู้นำแบบนี้มีจุดเด่นที่สามารถเรียกว่า “ชั้นยอด” ก็เพราะเป็นผู้ที่ยึดเอาจุดแข็งของผู้ตามเป็นสำคัญ เป็นผู้นำที่เข้าใจนำคนอื่นให้เขารู้จักนำตัวเอง (lead others to lead themselves) รูปแบบของผู้นำชั้นยอดก็คือ พยายามให้กำลังใจช่วยเสริมแรงของผู้ตามให้คิดริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ให้รู้จักรับผิดชอบของตน ให้มั่นใจในตนเอง ให้รู้จักการกำหนดเป้าหมายด้วยตนเอง ให้มองโลกเชิงบวก มองเห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย มองวิกฤตเป็นโอกาส และรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นต้น ผู้นำแบบนี้กับผู้ตามมีความสมดุลด้านอำนาจระหว่างกันค่อนข้างดี ซึ่งแตกต่างจากผู้นำแบบอื่นที่ยึดผู้นำเป็นหลัก แต่ผู้นำแบบนี้กลับยึดที่ผู้ตามเป็นหลัก ผลที่คาดหวังจากการใช้แบบภาวะผู้นำชั้นยอด ก็คือความผูกพันของผู้ตามต่องาน / หน่วยงานจะเพิ่มมากขึ้น ผลเชิงจิตวิทยาก็คือ ความรู้สึกเป็นเจ้าของ (ownership) เกิดขึ้น และที่สำคัญคือ ผู้ตามได้พัฒนาทักษะในการนำตนเองตลอดจนความรู้สึกเป็นผู้นำตนเองหรือการเป็น “นายตัวเอง” ได้ในที่สุด

ภาวะผู้นำมีผลต่อทีมงานอย่างไร

จากผู้นำทั้งสี่แบบที่กล่าวมาแล้ว ช่วยให้เราพอที่จะมองเห็นถึงอิทธิพลของผู้นำที่มีต่อทีมงานได้ไม่มากก็น้อย ต่อไปนี้จะขอหลอมรวมแนวคิดของทฤษฎีต่าง ๆ ด้านภาวะผู้นำ แล้วจัดออกเป็น 2 มิติ มิติแรก มองผู้นำในแง่การใช้อำนาจ (power orientation) เช่น ผู้นำแบบบุรุษเหล็ก เป็นเผด็จการสูงและมีแนวโน้มใช้อำนาจด้วยคำสั่งและการบังคับให้ผู้ตามต้องปฏิบัติตามที่ตนต้องการ ในขณะที่ผู้นำบางคนที่เป็นประชาธิปไตยก็จะยินยอมให้ผู้ตามสามารถเลือกแนวทางในการทำงานด้วยตนเอง (เช่น ผู้นำแบบชั้นยอด) มิติที่สอง มองจากระดับของการเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของผู้นำ (leader involvement) ว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้าเข้าไปข้องเกี่ยวกับกิจกรรมประจำวันต่าง ๆ ที่ผู้ตามปฏิบัติอย่างใกล้ชิด ซึ่งเรียกว่า “เกี่ยวข้องเชิงรุก” (active involvement) ลดลงถึงระดับที่ผู้นำยอมปล่อยมืออนุญาตให้ผู้ตามได้ทำงานกันอย่างมีอิสระสูง ซึ่งเรียกว่า “เกี่ยวข้องเชิงรับ (passive involvement) นำทั้งสองมิติดังกล่าวมาผสมผสานกันดังภาพจะเกิดแบบของผู้นำซึ่งมีผลต่อทีมงานมากน้อยต่างกันขึ้น 4 แบบ ดังนี้

ภาพแสดงแบบของผู้นำที่มีผลต่อทีมงาน

ผู้นำแบบอำนาจเด็ดขาด

(Overpowering leadership) ผู้นำแบบสร้างอำนาจ

(Power building leadership)

พฤติกรรมผู้นำ :

- บังคับข่มขู่,

คำสำคัญ (Tags): #ภาวะผู้นำ3
หมายเลขบันทึก: 389357เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2010 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท