nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล


ถึงเวลาอ่านหนังสือสำหรับการสอบฯ การจะสอบจะอ่านอะไรมากมายก็ไม่เท่ากับการที่เรารู้ว่า เราคือใคร เรามีหน้าที่และบทบาทอย่างไร และต้องทำงานอะไรบ้าง ผมจึงสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล จากเอกสารทีได้อ่านมาเก็บไว้เป็นความรู้อีกเรื่องหนึ่งในนี้ อาจจะแบ่งเป็นตอน ๆ ประมาณ 2-3 ตอน

ลักษณะงานโดยทั่วไปของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล

[เดิม]  ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสำรวจ ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย ทำรายงานเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะ ตลอดจนให้บริการช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การจัดระบบและแบ่งหน่วยงาน (จัดแบ่งส่วนราชการ)  การจัดอัตรากำลัง  การวางแผนงานบุคคล  การวางรูปแบบและจัดระบบในการบริหารงานบุคคล  การส่งเสริมสมรรถภาพในการปฏิบัติงาน  การปรับปรุงอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง  การบำรุงขวัญกำลังใจและสวัสดิการด้านต่าง ๆ  การทะเบียนประวัติ  การควบคุมตรวจสอบให้การบริหารงานบุคคลได้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบแบบแผน (ข้อมูลจากเอกสารเก่าที่ จนท.วิเคราะห์รุ่นพี่ให้มาอ่าน)

[ปัจจุบัน]  ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์งานบุคคลในฐานะเจ้าห้าที่ขององค์กรกลางบริหารงานบุคคล ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดมาตรฐานและตรวจสอบเกี่ยวกับตำแหน่งเงินเดือน และงานบุคคลด้านอื่น  วิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและศึกษาวิเคราะห์เรื่องเกี่ยวกับการจัดแบ่งส่วนราชการ การจัดอัตรากำลัง (ข้อมูลจากมาตรฐานกำหนดตำแหน่งปัจจุบัน)

หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล

                สำหรับลักษณะงาน [เดิม] ของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคลต้องปฏิบัติงานโดยตรงเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง  Position Classifier  จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญ คือ

                1.  สำรวจและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งและส่วนราชการที่ตำแหน่งนั้นสังกัด ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้นกับตำแหน่งอื่น ๆ ทั้งในส่วนราชการเดียวกันและส่วนราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                2.  ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อเท็จจริงตามที่ได้รวบรวมไว้ว่ามีน้ำหนักพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่ เพียงไร และเพียงพอที่จะวิเคราะห์ตำแหน่งได้หรือยัง หากยังไม่พอต้องสำรวจและรวบรวมข้อเท็จจริงเพิ่มเติม

                3.  วิเคราะห์ตำแหน่งและเสนอความเห็นตามหลักวิชาหรือเทคนิคในการกำหนดตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสมและให้เป็นไปตามที่กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติ ตลอดจนนโยบายและหลักการซึ่งอาจจะเป็นเรื่อง การกำหนดชื่อตำแหน่ง สายงาน (Occupational Group)  ระดับตำแหน่ง  คุณสมบัติที่ต้องการ  (Qualification requirement) สำหรับผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง (การศึกษา ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์)  และจำนวนตำแหน่ง ฯ

ตอนต่อไป "บทบาทของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล"

หมายเลขบันทึก: 388875เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2010 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พี่ชัยพรครับ ผมมีเรื่องเกี่ยวกับงานบุคคลอยากปรึกษาพี่หน่อยครับ ผมขอ E-mail หน่อยนะครับ

กำลังจะไปสอบตำแหน่งนี้ค่ะตำแหน่งนักวิเคราะห์งานบุคคล แต่ไม่เคยทำงานตำแหน่งนี้เลยค่ะปัจจุบันก็ทำการเงิน ขอคำปรึกษาหน่อยค่ะว่าต้องอ่านหนังสือแบบไหน ช่วยแนะนำจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

ถึงคุณ nid ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่เดิมเราเรียกกันว่าบุคลากร ซึ่งก็จะเป็นเรื่องของ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจุดเริ่มต้นก็ตั้งแต่ การหาคนมาทำงาน เมื่อได้คนมาแล้วจะต้องใช้งานอย่างไร ตอบแทนเขาอย่างไร จนสุดท้ายเมื่อเขาจะออกจากงานต้องทำอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องกว้างมาก ๆ การอ่านที่ดีก็หาอ่านเรื่องของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ แต่การสอบก็จะต้องมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน จะดีขึ้นก็หาข้อมูลหรือเอกสารอ่านเพิ่มเติมจากเว็บของสำนักงาน ก.พ. www.ocsc.go.th ซึ่งเขาจะเป็นองค์กรกลางการบริหารงานบุคคลของภาครัฐที่ดีที่สุดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท