5 คำถามที่ควรหาคำตอบ


R2R พระปกเกล้า

การประชุม ลปรร.เรื่อง "R2R พระปกเกล้า: จากก้าวแรกสู่ก้าวต่อไป" เมื่อวันที่ 20 สค. 2553 ที่ผ่านไปนั้น ทางผู้จัดได้ขโมยเอาแนวคิดจากการจัดประชุม R2R forum ครั้งที่ 3 ที่มีบอร์ดให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ตอบคำถามเกี่ยวกับR2R มาใช้ในการประชุมครั้งนี้ด้วย โดยหวังให้กระตุ้นให้ผู้สนใจR2R ได้แสดงความคิดเห็นและความเข้าใจในความหมายของ R2R

เป็นคำถาม 5 คำถาม "5 คำถามที่ควรหาคำตอบ" ในช่วงแรกก็กังวลว่าจะมีผู้ตอบคำถามที่เตรียมไว้หรือไม่ แต่เมื่อการประชุมเริ่มเข้มข้นขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุมต่างก็อยากมีส่วนร่วม เขียนคำตอบและทยอยกันนำคำตอบมาติดที่บอร์ด หลังจากการประชุมเห็นคำตอบที่ติดอยู่ในแต่ละข้อแล้วก็ชื่นใจ ที่ผู้เข้าร่วมประชุมต่างมีความสนใจและร่วมแสดงความคิดเห็นกันเกือบทุกคน

จากคำตอบที่นำมาติด ผู้จัดได้คัดเลือกคำตอบที่โดนใจกรรมการมาหนึ่งคำตอบในแต่ละข้อ และมีรางวัลแจกให้ผู้เข้าร่วมตอบคำถามด้วย

รายชื่อผู้ได้รับรางวัลมีดังนี้

  1. คุณชลาลัย  ขุนจิต พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยแยกโรค
  2. คุณจันทิมา  ศิริคัณทวานนท์ เภสัชกรงานห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน
  3. คุณธัญธิตา  พวงพกา พยาบาลวิชาชีพ งานตึกคลอด
  4. คุณวราวรรณ  วราวรรณ สวัสดิ์ภูมิ พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม
  5. คุณจงรัก  มงคลธรรม พยาบาลวิชาชีพ ห้องตรวจผู้ป่วยนอกตรวจพิเศษอายุรกรรม

ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทั้ง 5 ท่านด้วย เป็นคำตอบที่มีคุณค่าอย่างมาก และขอให้นำกลับไปปฏิบัติจะได้ประโยชน์สูงสุด

ถึงตรงนี้คงอยากเห็นคำตอบที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้ส่งมาแล้วใช่ไหม

คำตอบทุกคำตอบ อ่านแล้ว รู้สึกได้ถึงความเข้าใจและความมุ่งมั่นในใจที่อยากทำ R2R ของผู้ตอบ ได้เป็นอย่างดี

 

ต่อไปนี้เป็นคำตอบที่รวบรวมและเรียบเรียงให้กระชับ ของคำถามทั้ง 5 ข้อ

คำถามที่ 1: R2R จะทำให้ชีวิตคนทำงานอย่างพวกเรา ดีขึ้นอย่างไรบ้าง?

  • การทำงานได้ง่ายขึ้น การทำงานมีระบบ
  • ผู้ป่วยได้รับการดูแลดีขึ้น คนทำงานมีความสุขใจและได้บุญมาก
  • กระตุ้นให้คนทำงานมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงาน
  • พัฒนางานประจำให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มความรู้ให้คนทำงาน
  • พัฒนาความรู้ พัฒนาคน พัฒนางานให้มีมาตรฐาน
  • มีความสุขและสนุกในการทำงาน มีปัญญา มีความคิดสร้างสรรค์ และความก้าวหน้าในหน้าที่
  • มีความสุขจากผลงานซึ่งเป็นการค้นหาคำตอบในปัญหางานด้วยตนเอง
  • ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราตายของผู้ป่วย
  • การทำงานประจำมีคุณค่าขึ้น ลดขั้นตอน ประหยัดงบประมาณ
  • การแก้ปัญหาจากเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย
  • ท้าทายและมีความสุขเมื่องานสำเร็จ
  • พัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

คำถามที่ 2: มีงาน CQI จะทำให้เป็น R2R ได้อย่างไร?

  • เก็บข้อมูล วิเคราะห์ให้เป็นระบบ เสนอผลงานให้ทีมได้ปฏิบัติเป็นงานประจำ
  • ต่อยอดโดยเก็บข้อมูลต่อไปข้างหน้าเพื่อเปรียบเทียบก่อนทำและหลังทำโดยใช้สถิติ
  • เสริมต่อยอดโดยนำระเบียบวิธีวิจัยมาใช้ ให้ผลที่ได้น่าเชื่อถือ เป็นระบบ
  • นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ทำให้เป็นระบบ มีการรายงานผล
  • เก็บรวบรวมข้อมูลจากงาน CQI ให้มากขึ้น แล้วนำมาวิเคราะห์ หาข้อผิดพลาดในการเก็บข้อมูล แล้วพัฒนาให้ดีขึ้น
  • พัฒนาจาก CQI ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมและผลทางสถิติชัดเจน
  • นำCQI มาพัฒนาลงมาปฏิบัติในงานจริง

คำถามที่ 3: ทำอย่างไร ให้เจ้านายไฟเขียวทำ R2R

  • ทำให้หัวหน้าเห็นว่า ทำ R2R แล้วผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้น โดยแสดงให้เห็นจากตัวชี้วัด
  • นำการวิเคราะห์ข้อมูลจากปัญหามาเสนอให้หัวหน้าทราบ
  • นำปัญหาการทำงานและKPI ที่ไม่ถึงเกณฑ์มาเป็นหัวข้อการทำ R2R
  • เชิญหัวหน้าเข้าประชุมด้วย
  • เสนอปัญหาจากงานประจำให้หัวหน้ารับทราบ
  • อธิบายข้อดีของการทำ R2R ให้หัวหน้าทราบ และเชิญหัวหน้าและผู้ร่วมงานมีส่วนร่วม
  • ทำความเข้าใจกับหัวหน้าว่า R2R เป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาคนและพาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
  • คิดคำถามวิจัย ตั้งทีมและเชิญหัวหน้าเข้าร่วมทีม เสนอความเป็นไปของงานให้ทราบ
  • ถ้าลูกน้องยินดีทำ R2R หัวหน้าทุกคนคงยินดี ไม่ขัดขวาง
  • รวบรวมประเด็นสำคัญและผลงานนำเสนอให้หัวหน้า
  • อธิบายให้หัวหน้าเข้าใจถึงว่า R2R คืออะไร ทำอย่างไร และเพื่อใคร.
  • เชิญชวนเหัวหน้าเข้ามาร่วมรับรู้งาน R2R
  • นำเสนอผลงาน R2R ของหน่วยงานอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จ
  • แสดงให้เห็นว่า R2R ที่จะทำ ไม่ได้เพิ่มงานประจำที่ทำอยู่และสร้างความก้าวหน้าให้หน่วยงานอย่างแน่นอน.
  • R2R สามารถทำได้กับงานประจำ และจะเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน จึงทำให้เจ้านายไฟเขียวแน่นอน

คำถามที่ 4: ท่านจะสร้างบรรยากาศ R2R ในหน่วยงานของท่านได้อย่างไร?

  • หยิบเอางานประจำที่ทำมาตั้งคำถามกันเองว่า  ทำไม  อย่างไร  เพราะอะไร
  • ลงมือปฏิบัติโดยไม่ต้องรอหรือคิดที่จะทำ
  • จัดมุม  R2R  แสดงผลงาน  R2R  ที่ประสบความสำเร็จ
  • สอดแทรก  R2R  ในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอเสมือนเป็นเรื่องปกติ  สร้างความคุ้นเคย ไม่รู้สึกยุ่งยาก  ไม่วุ่นวาย
  • จัดประกวดงาน  R2R  ในหน่วยงาน
  • เชิญชวน  กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่  เสนอปัญหาในการทำงาน  ในที่ปะชุมแล้วชักชวน  ให้มีการทำ  R2R
  • หัวหน้าหอผู้ป่วยและรองหัวหน้ามีบทบาท  กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่เสนอปัญหา  เพื่อหาคำตอบโดยใช้งาน  R2R  ช่วย
  • เมื่อมีคำถาม  (ปัญหา) ต้องมี  คำตอบ  ถ้าไม่มีคำตอบ  ต้องศึกษาค้นคว้า และขอคำแนะนำจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน
  • นำเรื่องเล่าในการประชุม R2R เข้าไปเล่าให้บุคลากรในหน่วยงานได้ฟัง  ในการประชุมหน่วยงานหรือ บอกต่อกันไป 
  • ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำ  R2R  และอธิบายให้ทุกคนเข้าใจในแต่ละขั้นตอน เพื่อทุกคนจะได้ให้ความร่วมมือในการทำงาน  R2R  และกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ทำให้  R2R  เป็นวิธีชีวิตและวัฒนธรรมที่ทำให้คนในหน่วยงานมีความสุขและรู้สุขว่า  R2R  เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน  “ทำด้วยใจไปด้วยกัน”
  • นำปัญหาที่เกิดจากงานประจำของตึกมาแก้ไขให้เกิดความสะดวก  รวดเร็ว  กระชับทำให้เจ้าหน้าที่  รู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องยากในการปฏิบัติ  รู้สึกกระตือรือร้นในการที่จะร่วมกันปฏิบัติ
  • หัวหน้างานควรให้เจ้าหน้าที่ทุกคนมีโอกาสได้เข้าอบรม  R2R 
  • หยิบยกงาน  R2R  ใกล้ตัวของหน่วยงานอื่นมาเล่าให้ฟังในที่ประชุม
  • ลองทำเป็นตัวอย่างก่อน  แล้วค่อยๆ  ดึงให้คนอื่นๆ  เข้ามาร่วมทีม
  • เมื่อประชุมกับทีม  R2R  ของโรงพยาบาลแต่ละครั้ง  จะนำความรู้ที่แลกเปลี่ยนแต่ละครั้งไปเผยแพร่ทั้งทำแฟ้ม  R2R  จัดบอร์ด  และร่วมกันคิดและเปลี่ยนกันภายในหน่วยงาน
  • ระดมสมองและหาแนวทางทำ  R2R  โดยที่ไม่มีผลรบกวนงานประจำที่ทำอยู่เพื่อลดแรงต่อต้านในความรู้สึกที่ว่ายากและวุ่นวาย
  • ตั้งคำถามในการทำงาน
  • นำงานวิจัยต่างๆ   Evidence Base Best Practice  ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่จะทำให้ดีขึ้นมาพูดคุยบอกเล่า
  • ส่งเสริมโดยการช่วยเหลือทีมให้หาแนวทางแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน
  • นำงาน  R2R  ในแผนกที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน  เป็นตัวอย่างเผยแพร่  เพื่อให้เห็นภาพว่า  R2R  สามารถแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานประจำได้จริง
  • ส่งเจ้าหน้าที่เข้าอบรม  R2R  ทุกครั้ง
  • กระตุ้นทุกครั้งที่ประชุมประจำเดือนเมื่อมีการเสนอสิติต่างๆ  ทั้งเพิ่ม-ลด  ให้ทราบแนวทาแก้ไขร่วมกัน

คำถามที่ 5: จงเขียนคำถามวิจัยจากงานประจำในหน่วยงานของท่านที่สามารถทำ R2R ได้

  • การปรับเปลี่ยนระบบบริการจ่ายยาเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา.
  • การใช้น้ำสบู่ละน้ำสะอาดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ก่อนเก็บผลส่งตรวจ มีผลทำให้พบจำนวน WBE ใน URINE แตกต่างกันหรือไม่.
  • ทำอย่างไรถึงจะลดคลื่นรบกวนของ lead lineในการเดินสายพาน (EST) ของผู้ป่วยที่ตัวอ้วน (พุงใหญ่), ทำอย่างไรจึงจะลดการใช้ EKG PAD ในการติด Lead ในการทำ EST.
  • การเข้าถึงแหล่งสืบค้นข้อมูลยาทาง Internet ของบุคลากรในโรงพยาบาลพระปกเกล้า.
  • มาตรการควบคุมการใช้ยา 20% Human albumin มีผลต่ออัตราการใช้ยาอย่างไร.
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังการผ่าตัดแล้วจะได้รับการดูแลที่ดีจากผู้ดูแลอย่างไร.
  • การจัดตั้ง Easy Asthma clinic ช่วยลดการ ER visit ได้หรือไม่
  • การใช้ตาข่ายตรวจคลื่นสมองมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับหมวดตรวจคลื่นกับหมวดสมองหรือไม่.
  • ทำอย่างผู้ป่วยที่ได้รับยา E.KC1 จึงจะไม่ถ่ายเหลว.

 

โรงพยาบาลพระปกเกล้า

27 สค 2553

หมายเลขบันทึก: 388467เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2010 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เยี่ยมเลยค่ะ ขอนำคำตอบนี้ ไปใช้ประโยชน์ด้วยคน

ลปรร. โดยหวังให้กระตุ้นให้ผู้สนใจ R2R ได้แสดงความคิดเห็นและความเข้าใจในความหมายของ R2R สมหวังแล้วค่ะ เย้... ขอเป็นกำลังใจนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท