ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

ประวัติศาสตร์สุขภาพชุมชน เรื่องราวข้าวของและเทคโนโลยีสุขภาพท้องถิ่น


ต้องดื้อให้นานพอ

วันที่ 23 – 24 สิงหาคม 2553 หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดสัมมนาวิชาการสังคม และสุขภาพ 2553 ในประเด็นเรื่อง “ประวัติศาสตร์สุขภาพชุมชน เรื่องราวข้าวของและเทคโนโลยีสุขภาพท้องถิ่น” ณ คุ้มริมแม่น้ำท่าจีน หม่อมไฉไล บางเลน จังหวัดนครปฐม   โดยเครือข่ายจังหวัดอุดรธานี มีผู้เข้าร่วมสัมมนา คือ นายสมชาย ชินวานิชย์เจริญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี , นายชัยพฤกษ์  ค้อมคิรินทร์ , นายชาย มาตรา และนายจิระวัฒน์  ศรีชนะ  จากเครือข่ายใบชะโนด(องค์กรสาธารณะประโยชน์) , ชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (องค์กรสาธารณะประโยชน์)  รวม 4 คน  ซึ่งได้ร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำพิพิธภัณฑ์ในบริบทของคนตัวเล็ก ๆ ในสังคม หรือในระบบใด ระบบหนึ่ง ซึ่งงานนี้มี นพ.ดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และทีมงาน เป็นผู้จัด และได้อาจารย์ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ ให้เกียรติเป็นวิทยากรตลอด 2 วัน คณะเราอยู่กลุ่ม 2 มีอาจารย์นภนาท อนุพงศ์พัฒน์ เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะได้นำเสนอข้าวของที่ตนเองนำมารวมทั้งเรื่องราวของวัตถุนั้นในมิติของการจัดทำพิพิธภัณฑ์  ไม่ว่าจะเป็นขนาด รูปทรง สี วัสดุ จุดเด่น ความเป็นมา ประโยชน์ ตำนาน ความทรงจำ  แล้วเราก็คัดเลือกมา 5 ชิ้น เป็นเรื่องราวของขุนจ่าเมือง และวิถี...ชีวิต  จากนั้นเราได้ทดลองทบทวนและบันทึก รวมทั้งตั้งข้อสังเกตของเรื่องราวของข้าวของอื่น ๆ ที่ได้เคยมีการเขียนเล่าไว้ เช่นเงินฮ้อย และบทจบคือการทดลองจัดนิทรรศการ ซึ่งพ่อชาย มาตรา เป็นผู้นำเสนอของกลุ่มเรา (มีคุณจิราพร จาก รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศวร์ , พี่ตุ๊ก กองสถิติ , คุณต่าย กับพี่ครรชิต เข็มเฉลิม จาก วนเกษตร ,  พี่สมคิด รพร.กุฉินาราย์ , พี่อนุชิต สสม.ขอนแก่น และทีมอุดรเรา)

 

ก่อนปิดการสัมมนา มีคมคำจาก อาจารย์โกมาตร ว่า “ชีวิตจะมีความหมายอะไร ถ้าเรายังไล่ล่าตัวชี้วัดอยู่” หรือ “ต้องดื้อให้นานพอ”  

 

จากการสัมมนา ทีมอุดรเราได้พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ในส่วนของพื้นที่หรือชุมชนเองคงจะได้กลับไปรวบรวมข้าวของที่มีในชุมชนผ่านการสื่อสารในที่ประชุมของหมู่บ้าน ในส่วนของ สาธารณสุข จะได้นำเรื่องนี้เสนอต่อผู้บริหาร และเริ่มรวบรวมจากฟิล์มเก่าที่เก็บไว้ในห้องเก็บของ ซึ่งมีแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ดังนี้

แผนระยะสั้น เน้นการรวบรวมและจัดเก็บ โดยใช้ชื่อ 99 วัน 99 ชิ้น (60 วัน นับจากนี้ รวบรวม รู้แหล่ง รับบริจาค 30 วัน ทบทวน บันทึกเรื่องราวข้าวของ และเตรียมจัดนิทรรศการ)  และเดือนตุลาคม 2553 มีแผน “ปั่นจักรยาน สานพลัง ฟังปราชญ์พูด”   โดยเครือข่ายหมอพื้นบ้าน 10 คนจะปั่นในเส้นทาง อุดร – สุรินทร์

แผนระยะกลาง  จัดนิทรรศการตามเทศบาล (ไม่จัดประจำตำแหน่งแห่งที่ เพื่อความมีชิวิตชีวา)  นอกจากนี้จะขอที่ทางเล็ก ๆ ของบาง อบต. จัดนิทรรศการโดยปรับเปลี่ยนแก่นของเรื่องทุก 2 – 3 เดือน และยังคงรับบริจาคข้าวของอยู่

แผนระยะยาว มีการจัดตั้งศูนย์จัดแสดงนิทรรศการ/พิพิธภัณฑ์เป็นหลักแหล่ง บอกเล่าเรื่องราว รากเหง้า เรื่องเล่า เผ่าพันธุ์

 

ว่าด้วยเรื่องสถานที่ที่จัดสัมมนา นั้น ร่มรื่น และตกแต่งด้วยต้นไม้แม้จะพื้น ๆ แต่ก็จัดวางได้อย่างน่าดู

 

ดูรูปภาพได้ที่ http://picasaweb.google.co.th/CHINSOMCHAI/530823242?authkey=Gv1sRgCO7j06jDrdXwUw&feat=directlink

 

หรือ เข้าที่ https://sites.google.com/site/udhpcmusium/

คำสำคัญ (Tags): #พิพิธภัณฑ์
หมายเลขบันทึก: 388166เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2010 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท