symposium3 นางภัทรา ประดับศรี


                                                             บันทึก Symposium 3

 

รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ GSP                          

1.  ชื่อผู้นำเสนอ   นางภัทรา   ประดับศรี     ตำแหน่ง   ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

     โรงเรียน  จอมพระประชาสรรค์  อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์      สพท. สุรินทร์  เขต 1

     เบอร์โ ทรศัพท์ 044- 533095 (โรงเรียน)        087-2478969 (มือถือ)

 

2.  ชื่อผลงาน: รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ GSP 

 

3.  ผลงาน/ หรือนวัตกรรม คืออะไร (What ?)

               รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เรื่องกราฟของฟังก์ชัน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้ GSP

                  3.1  การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบบรรยาย  แบบสาธิต   แบบถาม-ตอบ และแบบโครงงาน

                 3.2   การจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน ได้แก่ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้ GSP  การแข่งขันการใช้ GSP    การประกวดโครงงานคณิตศาสตร์  การประกวดการสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้  GSP

                 3.3    การจัดกิจกรรมบูรณาการ โดยการนำวิชาคณิตศาสตร์และโปรแกรม GSP บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น    การออกแบบผลิตภัณฑ์   การเดินทางที่ประหยัดพลังงานและสั้นที่สุด เป็นต้น

            ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในห้องเรียน หรือ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์

            1.  ครูอธิบายความหมายของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล  เมื่อ a>0 และ a1 พร้อมยกตัวอย่างฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลเมื่อค่า  a  เป็น 2  หรือ   เช่น  แล้วให้นักเรียนยกตัวอย่างฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลอื่นๆ เมื่อ ค่า  a   แบ่งเป็น  2  กรณี คือมากกว่าหนึ่งและอยู่ระหว่าง 0  และ  1

            2.  ครูใช้การถาม-ตอบ ประกอบการอธิบาย วิธีเขียนกราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลโดยกำหนดค่า x  และ หาค่า y    นักเรียนสังเกตลักษณะกราฟที่ได้ เมื่อเปลี่ยนแปลง ค่าของ  a   

            3.  ครูใช้การสอนแบบสาธิต เขียนกราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล  โดยใช้โปรแกรม  GSP ต่อจากนั้นให้นักเรียนจับคู่เขียนกราฟของฟังชันเอกซ์โพเนนเชียล เมื่อค่าของ a มากกว่าหนึ่งและอยู่ระหว่าง 0  และ  1  

           4.  ครูให้นักเรียนออกมารายงานผล  ต่อจากนั้น ร่วม กันสรุป ลักษณะของกราฟจากการใช้โปรแกรม GSP กับวิธีการเขียนกราฟโดยการแทนค่า  สรุปลักษณะกราฟกรณีค่าของ a เปลี่ยนแปลง

 

            5.  ครูให้นักเรียน สร้างสรรค์ชิ้นงาน หรือ สร้างโจทย์ปัญหาโดยใช้โปรแกรม GSP หรือ จัดทำโครงงานที่นำความรู้เรื่องฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลไปใช้ ในชีวิตประจำวัน

 

4.  ผลสะท้อนจากผลงาน/ หรือนวัตกรรม (ตรงกับเป้าหมายของงาน)                    

                นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันโครงงานคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญเงิน  การแข่งขันคนมีความสามารถทางคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม  GSP ระดับภูมิภาคโดย สสวท. จัดที่โรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ 6-7 สิงหาคม 2553

นักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เหรียญทอง ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ผลงานการสร้างสรรค์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

                นักเรียนมีความสามารถในการเป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้โปรแกรม  GSP ได้

                ลิขสิทธิ์ทะเบียนข้อมูลเลขที่ ว.6175 จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา จากผลงานโครงงานคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัยธมศึกษาตอนปลายเรื่องการออกแบบลายผ้าไหมสุรินทร์โดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ

 

5.  แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดผลงาน/ หรือนวัตกรรม ที่นำเสนอ

วิชาคณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นนามธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่ มีปัญหาในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะการเรียนเรื่องกราฟของฟังก์ชัน   หากจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีการพัฒนาอยู่เสมอ เช่น การเขียนกราฟประกอบการเคลื่อนไหวโดยใช้โปรแกรม GSP

จะทำให้นักเรียนเห็น ภาพ ที่เป็นรูปธรรม ทำให้มีความรู้และเข้าใจบทเรียนมากขึ้น อีกทั้งยังบูรณาการกับสาขาวิชาอื่น ๆ โดยการออกแบบชิ้นงานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้

เช่น  การออกแบบลายผ้าไหมจากโปรแกรม GSP โดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ สามารถเปรียบเทียบระหว่างกราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติต้นแบบ และกราฟที่ออกแบบเรียบร้อยแล้ว  ดังรูป

    

6.  ลักษณะพิเศษ(จุดเด่น)ของ ผลงาน/ หรือนวัตกรรม ที่นำเสนอ

บูรณาการกับสาขาวิชาอื่น ๆ  โดยการออกแบบชิ้นงานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้ดึงดูดความสนใจของนักเรียน เนื่องจากเป็นการเรียนที่เป็นรูปธรรม 

7.  เงื่อนไขที่ทำให้ผลงาน/ หรือนวัตกรรม ประสบความสำเร็จ

1.  จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการโปรแกรม GSP เพื่อทำให้นักเรียนมีพื้นฐานการใช้ โปรแกรม ก่อนการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์

                2.  จัดการแข่งขันการใช้ โปรแกรม GSP ในรูปแบบต่าง ๆ และให้นักเรียนได้แสดงผลงาน

              3.   ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์มีเครื่องคอมพิวเตอร์ลงโปรแกรม GSP ที่เพียงพอกับนักเรียน

8. การสรุปบทเรียน(Lesson Learned) เพื่อการพัฒนาต่อยอด

   1.ก่อนจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรมGSP ควรได้ทบทวนบทเรียนหรือทำให้

นักเรียนมีความรู้พื้นฐานในเนื้อหาคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องก่อนเสมอ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาของคณิตศาสตร์และวิธีการใช้โปรแกรม  GSP  ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานั้นๆ

 2.เมื่ออบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้โปรแกรม GSP เสร็จสิ้นลง ควรจัดแข่งขันการสร้างสรรค์ชิ้นงาน

และการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรมGSP  หรือการแสดงผลงาน เพื่อทำให้นักเรียนมีความรู้ที่ยั่งยืนคงทน อีกทั้งมีความมั่นใจในตนเอง ภาคภูมิใจในผลงาน เห็นคุณค่า และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 387631เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2010 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอชื่นชมอาจารย์ ขยันมากๆ ไม่ว่าจะเสาร์ หรืออาทิตย์

อาจารย์ตั้งใจสอนเเละใจดีมากๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท