nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

การวางแผนกำลังคน


การวางแผนกำลังคน

ความหมาย : เป็นความพยายามในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อการจัดหา การใช้ ธำรงรักษา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมในอนาคต เพื่อธำรงรักษา ปรับปรุงและพัฒนาสมรรถนะขององค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  กลยุทธ์ดังกล่าว ได้แก่

                +  การเก็บรวบรม รักษา และตีความข้อมูลเกี่ยวกับกำลังคน

                +  การคาดการณ์เกี่ยวกับอุปสงค์ อุปทานของบุคคล

                +  การวิเคราะห์กระบวนการคัดเลือก การเลื่อนตำแหน่ง การสูญเสียบุคลากรในองค์การ

                +  การใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการจัดสรรงาน การจัดหา การใช้และการรักษาบุคลากรในองค์การ

ความสัมพันธ์ระหว่างแผนทั่วไปกับแผนกำลังคน

1.  พิจารณาจากประเภทของการวางแผน

2.  พิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงกิจกรรม

               2.1  การเปลี่ยนแปลงระดับของกิจกรรม  ถ้าระดับของกิจกรรมเพิ่ม/ลด มีผลต่อการจ้างงานที่จะเพิ่ม/ลด ตาม

               2.2  การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของกิจกรรม  เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อประเภทของแรงงานเกิดจากสาเหตุ เช่น การตัดสินใจผลิตสินค้าใหม่  การใช้กระบวนการผลิตใหม่  การมีเทคนิควิธีการใหม่ ทำให้ความต้องการทักษะของคนเปลี่ยนไป

              2.3  การเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบของกิจกรรม  เกิดจากการวางแผน หรือความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม ความต้องการกำลังคนขององค์กรจะถูกกำหนดโดยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

                1.  ปริมาณและคุณภาพของกำลังคนที่มีอยู่

                2.  ความเจริญเติบโตที่คาดหวังขององค์การ

                3.  ปริมาณการสูญเสีย/การได้มาของกำลังคนที่ได้ประมาณการไว้

                4.  จำนวนของโครงการใหม่ที่ต้องการความรู้เฉพาะ

ประโยชน์ที่จะได้รับจากความสัมพันธ์ของแผนทั่วไปและแผนกำลังคน

                1.  ทำให้เข้าใจความสำคัญของแผนกำลังคนที่มีผลกรกระทบต่อแผนปฏิบัติงานขององค์การมากยิ่งขึ้น

                2.  ทำให้องค์การสามารถคัดเลือกบุคคลที่มีคุณภาพได้ล่วงหน้า

                3.  สามารถวิเคราะห์และควบคุมต้นทุนของบุคลากรที่จะนำมาใช้ตามแผนได้

                4.  ฝ่ายบริหารสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับแผนการมอบหมายงานให้สัมพันธ์กับการพัฒนาบุคลากรได้

ปัญหาของการวางแผนกำลังคน

                1.  ขาดความรู้ทางหลักวิชาเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน

                2.  ขาดข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน ถูกต้อง

                3.  นโยบาย เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ขององค์การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

                4.  เกิดจากผลประโยชน์ส่วนตัว

                5.  ขาดปัจจัยทางการผลิต  (4 Ms)

                6.  สภาพแวดล้อมขององค์การไม่เอื้ออำนวย

                7.  ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการวางแผนกำลังคนอย่างจริงจัง

ที่มา : มูลบทอัตรากำลัง 3 ปี

หมายเลขบันทึก: 387483เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2010 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท