การผสานองค์ความรู้บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น (สมุทรสงครามตอนที่ 3 น้ำตาลมะพร้าว)


          เกษตรกรชาวสมุทรสงครามมีอาชีพหลักที่สำคัญ คือ การทำสวนมะพร้าว ถ้าใครที่เคยขับรถผ่านไปแถวนั้น คงเห็นสวนมะพร้าวที่เรียงรายอยู่สองข้างทาง ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่เกษตรกรได้รับจากการทำสวนมะพร้าว มีทั้งการขายผลผลิตสด การทำมะพร้าวขาวส่งโรงงานผลิตน้ำกะทิกล่อง และการทำน้ำตาลมะพร้าว

          วิธีการทำน้ำตาลมะพร้าว เริ่มจากการปาดส่วนปลายของจั่นมะพร้าว แล้วนำนำกระบอกไม่ไผ่หรือกระบอกพลาสติกไปรองน้ำตาลมะพร้าว ในกระบอกจะใส่ไม้พยอมลงไปเล็กน้อยเพื่อป้องกันการบูดเสียของน้ำตาลแบบธรรมชาติ ซึ่งไม่ต้องใส่สารกันบูดใด ๆ เมื่อได้เวลาก็จะปีนต้นมะพร้าวไปเก็บกระบอกที่รองน้ำตาลลงมาตั้งไฟใส่น้ำตาลลงในกะทะ เคี่ยวจนเข้มข้นได้ที่ยกลง อาจใช้ไม้ปั่นหรือใช้เครื่องไฟฟ้าปั่นจนเนื้อน้ำตาลมะพร้าวเป็นเนื้อเนียน แล้วจึงยกลงและปูผ้าขาวบางลงในถ้วยตะไลหรืออาจหยอดลงบนโต๊ะที่รองด้วยผ้าขาวบาง หยอดน้ำตาลลงรอจนแห้งจึงแกะออกจากผ้าขาว

          และที่สมุทรสงครามนี่เอง พวกเราได้มีโอกาสไปชมหิ่งห้อยที่บ้านหิ่งห้อยรีสอร์ท และได้ชมการเคี่ยวน้ำตาลตอนกลางคืน พวกเราได้ลองทำแล้วยอมแพ้ไปตาม ๆ กัน คงทำสู้คนที่นี่ไม่ได้ เพราะเป็นอาชีพที่เป็นวิถีของคนในชุมชนนี้มานาน จากการพูดคุยทำให้เรารู้สึกว่าพวกเขารักและภูมิใจในทรัพยากรของพวกเขา เป็นอาชีพที่พวกทำสืบทอดมาจากบรรพบุรุษนานแล้วและพวกเขายังคงทำมันต่อไปด้วยความภูมิใจ

    

คำสำคัญ (Tags): #น้ำตาลมะพร้าว
หมายเลขบันทึก: 387317เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2010 01:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท