ความเหมือนกันของคนสองลุ่มน้ำ


“แม่กลอง กับ ตาปี” เราอาจจะต้องหันกลับมาคิด
จากลุ่มน้ำแม่กลอง ผมใช้เวลาเดินทางในช่วงวันหยุดเดือนสิงหาคม ผ่านปากแม่น้ำทะเลอ่าวไทย ถึงลุ่มน้ำตาปี เมืองใต้ เพื่อเก็บเรื่องราวของสายน้ำ การเดินทางมาครั้งนี้ผมนัดพบกับเพื่อนสมัยเรียนมัธยม ที่รู้จักกันนานกว่า 20 ปี มีเรื่องมากมายที่ทำให้ผมต้องมองมุมย้อนกลับให้ครบรอบด้าน เพื่อก้าวไปอย่างมั่นคงและเข้มแข็ง ให้อยู่กับสังคมได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข หลายๆ สิ่ง หลายๆอย่างที่ได้พูดคุยกับเพื่อนเก่า ระหว่างนั่งริมตลิ่งมองดู ตะเกียงน้ำมันในเรือหางในยามค่ำคืนนั้น ทำให้รู้ถึงความเหมือนกันของคนสองลุ่มน้ำ “แม่กลอง กับ ตาปี” คือ
1. ปัจจุบันคนริมน้ำที่มีอาชีพตกกุ้ง หา หอย หา ปลา ในแม่น้ำ ลำคลอง เหลือแต่คนสูงวัยที่ยังหากินแบบพอเพียงกับธรรมชาติ “เด็กรุ่นหลัง กับไม่เห็นความสำคัญกับอาชีพประจำถิ่นที่ กำลังหายไป”
2. ธรรมชาติ ป่าไม้โกงกาง ที่เคยเห็นอย่างสมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของสัตว์ป่าชายเลน และสัตว์น้ำ กับลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย
3. สภาพชุมชนที่เคยอยู่อาศัยแบบเกื้อกูล และสมดุลกับธรรมชาติ ปรับเปลี่ยนเป็นถนนหนทางขยายกว้างใหญ่ ทำให้ระยะใกล้ลง กับกลายเป็นความห่างกันของคนมากขึ้น
4. การศึกษาสอนให้คนเรียนสูงๆ และความเชื่อให้เรียนไปเพื่อเป็นเจ้าคน “นายคน” วันนี้ ใครๆ ก็อยากเป็นแต่นายหัว แรงงานระดับล่างที่ทำอาชีพพื้นฐานของสังคม กับเป็นแรงงานต่างด้าว แล้วอีกหน่อยอาชีพพื้นฐานของไทย จะเป็นอย่างไร
ผมว่า “เราอาจต้องหันกลับมาคิด และคุยเรื่องความเป็นพื้นๆ ติดดินให้มากขึ้น และในขณะเดียวกันก็สร้างเครือข่าย เพื่อเรียนรู้ธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับอาชีพวิถีถิ่น ประสบการณ์และภูมิปัญญาของคนในสังคมไทย” เราจะได้ไม่ลืมตัวตนของเราครับ
หมายเลขบันทึก: 385981เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2010 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท