พิจารณาคำว่า "ธรรมทั้งหลาย" ทั้งหลายอย่างไร


http://khunsamatha.com/

พิจารณาคำว่า  "ธรรมทั้งหลาย"  ทั้งหลายอย่างไร  

 

 

 

 


1. ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ

2. ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า

3. ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน

4. ธรรมทั้งหลายไม่พึงยึดมั่นถือมั่น



-->  ธรรมทั้หลายในข้อ 1. ไม่จัดเอาอสังขตธรรมเข้าไปด้วย  เพราะอสังขตธรรม  แปลว่า สิ่งที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง  ความหมายกว้าง ๆ  ของคำ  ๆ  นี้ก็คือ  สิ่งที่เกิดและดำรงอยู่ได้โดยตัวของมันเอง  ไม่มีผู้สร้างและไม่มีสาเหตุทำให้มันเกิด  เมื่อมันดำรงอยู่ดำรงอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสิ่งอื่น  "ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ" ในที่นี้จึงหมายเอา  สังขตธรรม  ไม่รวม  อสังขตธรรม นั่นเอง  แต่ท่านก็ใช้คำว่า  "ธรรมทั้งหลาย" นะครับ

 

 


-->  ธรรมทั้งหลายในข้อ 2. ต้องมาพิจารณาอีกว่า  เข้าได้กับอสังขตธรรมหรือไม่  เพราะ ใจ ในที่นี้  ถ้าเป็นสังขตธรรมย่อมมีใจเป็นหัวหน้าได้  นั่นคือสังขารธรรม  เพราะ ใจเกิดแต่เหตุ  แต่ อสังขตธรรมไม่เกิดแต่เหตุ  "ธรรมทั้งหลาย" ในที่นี้จะรวม อสังขตธรรมได้หรือ..?

 



-->  ธรรมทั้งหลายในข้อ 3. ก็ธรรมก็อย่างหนึ่ง  ตนก็อย่างหนึ่ง  ธรรมจึงไม่ใช่ตน  ตนจึงไม่ใช่ธรรม  นี่ก็ว่าตามสำนวนภาษาอย่างนี้ก็ว่าได้  

ก่อนที่จะทรงตรัสว่า  "ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน"  ทรงตรัสเต็มๆ ว่า  "สัพเพ สังขารา อนิจจา สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ"  บท "สัพเพ ธัมมา อนัตตา"นั้น พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อตรวจสอบธาตุธรรม และพบว่าทุกธาตุธรรมที่
เป็นสังขตธาตุ สังขตธรรมล้วนเป็นอนัตตา และบทสัพเพ ธัมมา อนัตตา ล้วนเป็นตอนต้นเมื่อพระ
พุทธองค์พูดถึงเรื่องขันธ์ 5 และสังขาร เท่านั้น ตัวอย่าง

"สัพเพ สังขารา ทุกขา สัพเพ สังขารา อนิจจา สัพเพ ธัมมา อนัตตา"

รูปัง อะนิจจัง, เวทะนา อะนิจจา, สัญญา อะนิจจา, สังขารา อะนิจจา, วิญญาณัง อะนิจจา, รูปัง อะนัตตา, เวทะนา อนัตตา, สัญญา อะนัตตา, สังขารา อะนัตตา, วิญญาณัง อะนัตตา, สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ,

ธรรมทั้งปวงอนัตตา เช่นนี้ก็ทรงกล่าวให้ไม่ไปยึดถือในสังขารธรรมที่ทรงตรัสก่อนหน้านี้  จึงทรงสรุปว่า  ธรรมทั้งหลาย(ที่ทรงตรัสในเรื่องสังขารนี้)ไม่ใช่ตน  สำคัญคือเราไปตีความเพิ่มเติมไปเองยัดใส่อะไรๆ เกินจากพุทธประสงค์เข้าไปอีกหรือเปล่านั่นเอง  

 

 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑
 

            โสตเป็นของร้อน  เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ...
            ฆานะเป็นของร้อน  กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน ...
            ชิวหาเป็นของร้อน  รสทั้งหลายเป็นของร้อน ...
            กายเป็นของร้อน  โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน ...
            มนะเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=1124&Z=1215

อย่างนี้จะหมายเอา  อสังขตธรรมเป็นของร้อนด้วยหรือไม่..?

 



-->  ธรรมทั้งหลายในข้อ 4. นี้น่าจะช่วยยุติการวิวาทะได้  เพราะแม้จะเห็นต่างกันอย่างไรในประเด็น  "ธรรมทั้งหลาย"  ก็ควรพิจารณาเพื่อความปล่อยความยึดถือในทิฏฐิทั้งปวงซึ่งเป็นประโยชน์ต่อมรรคผลนิพพาน  นั่นก็คือ  "ธรรมทั้งหลายไม่พึงยึดมั่นถือมั่น"  นั่นเอง   

 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=1183&Z=1203


     [๙๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง
ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือหนอแล ฯ
            พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชา
ย่อมเกิดขึ้น มีอยู่ ฯ
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ
อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ
            พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ
อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงละ
อวิชชาได้  วิชชาจึงเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ฯ
            พ. ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
เธอย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรม
ทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมเห็นนิมิตทั้งปวงโดยประการอื่น คือ
เห็นจักษุโดยประการอื่น เห็นรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น ฯลฯ
เห็นใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น
ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชา

 



สุดท้าย ขอเสนองานวิจัยที่ควรศึกษาในเรื่องที่มาของภาษา  เพื่อเราจักได้มีมุมมองในการวินิจฉัยอรรถวินิจฉัยธรรมได้กว้างขวางยิ่งขึ้นนะครับ

อ่านงานวิจัยได้ที่นี่  http://www.mcu.ac.th/userfiles/file/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C2538-2552%20%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3/255023.pdf

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 385972เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2010 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ธรรมทั้งหลายย่อมเกิดแต่เหตุ ถ้าเหตุดับ ธรรมทั้งหลายนั้นย่อมดับตามไปด้วย

เจริญในธรรม...ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท