KM0012 : ประสบการณ์นำกระบวนการ EE ครั้งแรก ตอนที่ ๓ (ตอนจบ)


สรุปได้ว่า EE สำหรับผมแล้วมีประโยชน์อย่างยิ่งในการทำงาน การวางแผนงานโครงการ จากเดิมที่เราอาจคิดคนเดียว นำไปให้คนอื่นที่เกี่ยวข้องปฏิบัติ แล้วมารับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ ซึ่งก็ไม่ค่อยได้อะไร เพราะเริ่มต้นจากรับฟังปัญหา ความรู้สึกก็เป็นลบแล้ว เราก็ต้องคอยมานั่งแก้ตัว สมาธิไม่มี

มาถึงตอนสุดท้ายสำหรับเรื่องนี้แล้ว หลังจากที่เขียนมา ๒ ตอน
ตอนที่ ๑ http://gotoknow.org/blog/kidkom/384706
ตอนที่ ๒ http://gotoknow.org/blog/kidkom/385170

ต่อจากตอนที่แล้วเรายังอยู่ในขั้นตอนที่ ๒ ของ EE และเป็นข้อย่อยคือ ๒.๒ คือ ระบุกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการ (List Activities) และ จัดลำดับความสำคัญ (Prioritize) ขั้นตอนต่อไป

๒.๒) ขั้นตอนนี้ผมเรียกว่าการให้คะแนนความสำเร็จ (Rating) เป็นการให้คะแนนจากชุมชนคนในโครงการเหมือนเดิม โดยดูว่าที่ผ่านมากิจกรรมที่พวกเราได้ทำไปเราคิดว่ามันมีความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ซึ่งขั้นตอนนี้อาจต้องใช้สุนทรียสนทนา (Dialogue) ร่วมด้วย การให้คะแนนก็จาก ๑ - ๑๐ คะแนน แต่ละคนก็สอบถามเหตุผลการให้คะแนนซึ่งกันและกันได้ เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้ก็มารวมคะแนนและหาค่าเฉลี่ยในแต่ละกิจกรรม ตรงนี้เราก็จะได้แล้วว่ากิจกรรมที่สำคัญมากได้คะแนนความสำเร็จเท่าไหร่ กิจกรรมที่สำคัญน้อยได้คะแนนความสำเร็จเท่าไหร่ ตามตัวอย่างนะครับ

กิจกรรม
คะแนน
รวม
ลำดับ
ความสำคัญ
นาย A
นาง B
นาย C
นาง D
รวม
เฉลี่ย
กิจกรรม 3
11
1
มาก
8
6
9
5
28
7.00
กิจกรรม 1
9
2
มาก
7
5
9
4
25
6.25
กิจกรรม 2
8
3
มาก
8
7
8
6
29
7.25
กิจกรรม 5
7
4
น้อย
5
8
8
7
28
7.00
กิจกรรม 4
6
5
น้อย
9
6
7
5
27
6.75

จากนั้นผมก็แจ้งให้ในกลุ่มกำหนดมาว่าจากคะแนนเต็ม 10 กลุ่มคิดว่าจะให้ระดับคะแนนเท่าไหร่ที่จะถือว่าทำกิจกรรมนั้นได้ดี ซึ่งหากต่ำกว่าที่กำหนดก็จะถือว่ายังทำไม่ได้ดี เช่น บางกลุ่มก็กำหนดไว้ที่ 8 ขึ้นไปถือว่าทำได้ดีเป็นต้น ถึงขึ้นตอนนี้เราก็นำผลมาใส่ในตารางด้านล่าง (ตามที่ อ.อ้อมสอนมา) ซึ่งผมกำหนดไว้ว่าถ้าทำได้ดีต้องมากกว่า 7 คะแนน

 
กิจกรรมที่สำคัญมาก
กิจกรรมที่สำคัญน้อย
ทำได้ดี 7-10 คะแนน
กิจกรรมที่ 3 (7.00)
กิจกรรมที่ 2 (7.25)
กิจกรรมที่ 5 (7.00)
ทำได้ไม่ดี ต่ำกว่า 7 คะแนน
กิจกรรมที่ 1 (6.25)
กิจกรรมที่ 6 (6.25)

แค่นี้ก็เสร็จขั้นตอนที่ ๒ แล้วครับ ทีนี้มาดูขั้นตอนที่ ๓ กันครับ

ขั้นตอนที่ ๓ วางแผนเพื่ออนาคต (Planning for the Future) ตรงนี้ผมก็ให้แต่ละกลุ่มนำเฉพาะกิจกรรมที่สำคัญมากมาวิเคระห์จุดแข็ง จุดอ่อน และหาแนวทางเพื่อการพัฒนา (ตรงนี้เข้าใจว่าเป็นการประยุกต์ขึ้นมาใหม่)  ซึ่งแน่นอนกิจกรรมที่ทำได้ดีอาจมีจุดอ่อนน้อย (แต่ก็ไม่แน่เสมอไป) กิจกรรมที่ทำได้ไม่ดีก็มีจุดอ่อนมาก นำจุดอ่อนจุดแข็งมาคิดแนวทางเพื่อการพัฒนาร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ กิจกรรมที่ทำดีอยู่แล้วก็จะดียิ่งๆขึ้นไป กิจกรรมที่ยังทำไม่ดีก็พัฒนาได้ดีขึ้น ทั้งหมดเกิดจากการร่วมกันทำแล้วนำมาคิดร่วมกัน ผู้รับผิดชอบโครงการ (ไม่ใช่เจ้าของเพราะทุกคนคือเจ้าของ) ก็สามารถพัฒนาโครงการได้ดีขึ้นในการดำเนินการครั้งต่อไป

 

จุดแข็ง

จุดอ่อน

ข้อเสนอแนะ

เพื่อการพัฒนา

กิจกรรม 3

 

 

 

กิจกรรม 2

 

 

 

กิจกรรมที่ 1

 

 

 

อย่างไรก็ตามหากมีเวลาผมก็เสนอว่าเราอาจปรับ ข้อเสนอแนะฯ ให้เป็นกลยุทธ์และการประเมินผล แบบนี้เราก็แทบจะเขียนแผนงานหรือโครงการในปีต่อไปได้เลย ต่างกันตรงที่จากเดิมเราคิดคนเดียวก็ร่วมกันคิดหลายๆ คน ทุกคนมีส่วนร่วม ก็จะรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ

 

จุดแข็ง

จุดอ่อน

กลยุทธ์

การประเมินผล

กิจกรรม 3

 

 

 

 

กิจกรรม 2

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 1

 

 

 

 

 สรุปได้ว่า EE สำหรับผมแล้วมีประโยชน์อย่างยิ่งในการทำงาน การวางแผนงานโครงการ จากเดิมที่เราอาจคิดคนเดียว นำไปให้คนอื่นที่เกี่ยวข้องปฏิบัติ แล้วมารับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ ซึ่งก็ไม่ค่อยได้อะไร เพราะเริ่มต้นจากรับฟังปัญหา ความรู้สึกก็เป็นลบแล้ว เราก็ต้องคอยมานั่งแก้ตัว สมาธิไม่มี ปรับมาใช้ EE ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม ประเมินผล ร่วมกันพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ทุกคนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ อย่างไรก็ตามสำหรับประสบการณ์ครั้งนี้เป็นเพียงครั้งแรก ยังคงต้องฝึกฝนตัวเองอีกพอสมควร ขอบคุณที่ติดตามจนจบครับ ถ้ามีโอกาสได้ไปทำอีกจะมาเล่าให้ฟังใหม่ครับ

คำสำคัญ (Tags): #ee#empowerment evaluation#km
หมายเลขบันทึก: 385803เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2010 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

แวะมาบล็อกพี่ครั้งแรกเลย  ตามมาจาก KM เว็บ สปสช. (ภาพคุณพ่อกับลูก 2 คน น่ารักมากครับ)

ยกนิ้วให้เลยครับพี่คิดคม ทั้งกระบวนการและกำลังใจ

^_^ ตอนเตรียมเวิร์คช็อปครั้งสุดท้าย คุณอ้อม มีลังเลเหมือนกันว่าควรจะให้ทดลอง EE ดีหรือไม่

ถ้าทราบว่าเกิดประโยชน์อย่างนี้  คงดีใจมากทีเดียวครับ

ขอบคุณครับ ที่แวะมาทักทาย คงมีโอกาสได้เจอกันอีกบ้างนะครับ ไม่รู้คุณโหน่งได้ไป KM รุ่น ๒ ของ สปสช. หรือเปล่า แต่ผมไม่ได้ไปนะ สัปดาห์หน้ามีโอกาสได้ไปจัด KM ให้อีก ๒ สำนัก (ทฤษฎีแห่งความสำเร็จข้อที่ ๓ มาอีกแล้ว) จะเอามาเล่าให้ฟังครับ

มาชม

มีมุมมองที่น่าสนใจดีจังนะครับ

สวัสดีครับ

  • ติดตามเรียนรู้อย่างใกล้ชิดทั้ง 3 ตอน
  • EE ที่ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม เป็นเจ้าของ วางแผนระดมสมองร่วมหาจุดแข็งและจุดที่ควรปรับปรุง โอกาสในการพัฒนา นำไปใช้ลงมือปฏิบัติจริง ประเมินผลและร่วมกันพัฒนาอย่างสร้างสรรค์
  • ใช้กิจกรรมสุนทรียสนทนา (Dialogue) เพื่อเพิ่มทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งด้วย
  • ขออนุญาตเรียนถามครับว่า มีการนำกิจกรรมอื่นๆ มาใช้ร่วมด้วยหรือเปล่าครับ
  • เช่น รู้เรารู้เขา เปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เน้นการคิดใคร่ครวญ ตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง แนวจิตตปัญญา ฯลฯ
  • ขอบพระคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณ ไทบ้านผำ ขอบคุณมากครับที่ติดตาม จริงๆ แล้วผมก็ไม่ได้เป็นมืออาชีพอะไรหรอกนะครับ แค่งานประจำก็จะทำไม่ทันแล้ว แต่ที่ชอบนำกระบวนการ KM มาใช้เพราะคิดว่าน่าจะเกิดประโยชน์ครับ แต่ก็ต้องลงทุนลงแรงพอสมควร (ตามธรรมชาติองค์กรของรัฐ) กิจกรรมที่ถามมา จะอยู่ในขั้นเตรียมการครับ เรื่องที่ผมเขียนจะต่อเนื่องมาจาก KM0004 : ประสบการณ์ KM กับกองทุนเอดส์ (http://gotoknow.org/blog/kidkom/384086) และ KM0006 : ประสบการณ์ KM กับกองทุนเอดส์ ตอน 2 (http://gotoknow.org/blog/kidkom/384270) ซึ่งเข้าใจว่าได้อ่านแล้วนะครับ ในส่วนที่ผมเขียนเรื่อง ประสบการณ์นำกระบวนการ EE ครั้งแรก จึงปนๆ กันระหว่างทฤษฎี (ซึ่งไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่) กับผลการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง ในส่วนของกิจกรรมก่อนขั้นเตรียมซึ่งผมเขียนแล้วว่าสำคัญที่สุด ผมก็ทำได้เท่าที่ผู้จัดให้เวลาครับ ถ้าเป็นไปได้อยากให้คุณไทบ้านผำ แนะนำขั้นตอนการทำกิจกรรมที่คุณเสนอมาให้ผมทราบด้วยก็ขอบพระคุณอย่างสูงครับ เผื่ได้นำไปใช้บ้างครับ

EE กับ SWOT ต่างกันยังไงครับ ในประเด็นประโยชน์

ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญครับ แต่คิดว่ามีความต่างกันอยู่บ้าง SWOT น่าจะใช้กับการวิเคราะห์องค์การ องค์กร หรือหน่วยงาน ส่วน EE น่าจะเป็นการประเมินผลกิจกรรมมากกว่า การนำจุดอ่อน จุดแข็งมาใช้ใน EE น่าจะเป็นการประยุกต์มาอีกที เพราะผมอ่านต้นฉบับไม่เห็นมี แต่ถ้ามันดีก็น่าเอามาใช้ อีกอย่างที่น่าจะแตกต่างกันผมว่าน่าจะเป็นเรื่องกระบวนการเตรียมคนนะครับ แต่จริงๆ ผมว่านะเวลาทำ SWOT ถ้ามีกระบวนการเตรียมคนเหมือน EE ก็น่าจะดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท