การเปลี่ยนจากการศึกษาจิตมาเป็นศึกษาพฤติกรรม


Behaviorism ยังคงไปกันได้กับ Functionalism ในแง่ของการเน้นที่พฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

        ถ้าให้  S = Stimulus,  R = Response,   O = Brain procesess & Consciousness  แล้ว  เราจะได้ความสัมพันธ์ดังนี้

                       S - O - R

        Structuralism  จะศึกษา Consciousness  ที่  O  โดยใช้วิธี Introspection      Functionalism  จะศึกษาหน้าที่ของ Consciousness  ที่  O  โดยใช้วิธี  Experimentation เป็นส่วนใหญ่

        Jonh  B.Watson (1878 - 1958) ชาวอเมริกัน  ได้ตัด O  ออกไป เหลือแต่  S - R  เรียกว่า   Paradigm  S - R  ซึ่งหมายความว่า  เราสามารถอธิบาย  R  ได้  เมื่อทราบ  S  โดยไม่ต้องใช้  จิต  มาช่วยในการอธิบาย   และเขานิยามจิตวิทยาว่า  จิตวิทยาคือวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรม   และเขาได้ประกาศลัทธิใหม่ขึ้นมาแทน โครงส้รางนิยม และ  หน้าที่นิยม  ชื่อว่า  พฤติกรรมนิยม  หรือ  Behaviorism  เมื่อปี ค.ศ. 1913

        Behaviorism  มีอิทธิพลในช่วง  1913 - ประมาณ 1960  แล้วเสื่อมลง  แต่ยังมีอิทธพลอยู่แม้จะเบาบางลง

        ในประเทศไทยยังมีอิทธิพลมาก  โดยเฉพาะในสถาบันการศึกษาระดับที่ประสาทปริญญา  ซึ่งนักศึกษาเกือบทุกคนจะต้องลงทะเบียนเรียน วิชาจิตวิทยาเป็นพื้นฐาน  และเมื่อสำรวจดูเนื้อหาในรายวิชา  หรือแบบเรียนที่ใช้กัน  ยังหนักอยู่ที่ แนวคิดของ Behaviorism   ผมเคยถามนักศึกษา  หรือครูในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาว่า  รู้จัก  STM, LTM ไหม  ส่วนใหญ่ส่ายหน้า  และยังพูดกันทั่วไปว่า   Psychology is a science of behavior  ตามความคิดของ Watson  แทนที่จะพูดว่า Psychology is a science of mind and behavior  ตามแนวคิดของ Cognitive Psychology  ซึ่งโตวันโตคืนอยู่ในปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 38554เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2006 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท