ประวัติศาสตร์


อ้ายลาวหรือต้ามุง คือใคร

อ้ายลาว หรือ ต้ามุง คือใคร

สมัยอ้ายลาว

    ( รวมทั้งระยะแรก ระยะหลัง ) ไทยมี อาณาจักร อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งก่อตั้งโดย คนไทย ที่อพยพถอยร่นลงมาจาก ทางเหนือ และได้ร่วมกับ คนไทย ที่อยู่เดิม ในภมิภาค แห่งนั้น  อาณาจักรอ้ายลาว มีจุดศูนย์กลาง อยู่ที่ มณฑลยูนาน จะตั้งมา ช้านาน เพียงไร ไม่อาจทราบได้แต่มา ปรากฏว่า ”เมืองเทียน” หรือ ”เมืองแถน” เอาเมื่อราว พ.ศ.263-323 ตามตำนาน ของ มณฑลยูนาน ปรากฏว่า   พวกลูกหลาน พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งมคธประเทศ ได้เข้ามาครอบครอง เมืองต่างๆ อยู่หลายแห่ง แต่ก็ยังเค้าอะไร ไม่ได้เพราะ ไม่มีแบบอย่าง สถาปัตยกรรม เช่น สมัยอโศก เหลืออยู่เลย ( สถาปัตยกรรม สมัยอโศกมหาราช นับเป็น สมัยแรก ที่ใช้หินเป็น วัสดุก่อสร้าง)

    อย่างไรก็ตามพวกไทย ที่อยู่ในมณฑลอื่นๆ ทางเหนือนครนั้นก็ยังมีอยู่ด้วย เช่น ใน มณฑลเสฉวน เป็น “อ้ายลาว” พวกหนึ่งเหมือนกัน มาในราว พ.ศ.400 ก็ปรากฏ ราชธานีขึ้นอีกแห่งคือ ”นครเพงาย” การแต่งกายของไทยใน สมัย อ้ายลาว จึงแยกออก เป็น 2 ระยะ หรือ 2 พวก คือ พวกที่อยู่ทางมณฑลเสฉวน นุ่งกางเกงเหมือนกัน ทั้งชายหญิง ส่วนเสื้อนั้นนอกจากจะแขนสั้นแล้ว ยังมีเสื้อแขนยาวข้างในอีกด้วย   ทั้งของ หมอด๊อค ที่ได้พบพวกไทยใน มณฑลเสฉวน แต่ระยะหลัง เวลาห่างไกลกัน มาก เท็จจริง เป็นเพียง สันนิษฐาน เท่านั้น และระยะนี้พวกญวน ได้แยก ออกไปทางตังเกี๋ย จึงน่าจะนำเสื้อตัวยาวไปด้วย ประกอบกับญวน ก็ปฏิเสธว่าไม่ใช่แบบจีน แต่ประดิษฐ์ขึ้น ให้คล้ายกับจีนเท่านั้น เองต่อมา ระยะหลัง ไทยอ้ายลาว ค่อยมีความสงบสุขมากขึ้น ฝ่ายหญิงอาจดัดแปลงกางเกง มาเป็น ผ้านุ่งสวม เสื้อป้าย เสื้อแบบนี้ น่าจะยังเหลืออยู่ กับพวก “ไทยลื้อ”เพราะปรากฏว่าตกแต่ง ประดับประดา ลวดลายเพื่มขึ้นอีกมาก ไทยอ้ายลาว ได้ยอมรับนับถือ พระพุทธศาสนา ในราว พ.ศ. 600 โดยการนำของ ขุนหลวงเมา กษัตริย์ของ ไทยอ้ายลาว เพราะประชาชนอีกราว 5 แสนคน  ไทยอ้ายลาว รู้จัก การย้อมสี เสื้อผ้า และ ทำพรม ขนสัตว์ ต่างๆ ได้แม้ การทอผ้า เป็นลายต่างๆ ก็ทำได้ และมีผ้าหลายชนิดขึ้น นอกจากนั้นยังรู้จักหาแร่ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว ทองคำ เงิน และรู้จัก ทำแก้ว จากทราย เป็นอย่างดีและรู้จักทำรองเท้า

                                      

 

 

คำสำคัญ (Tags): #อ้ายลาว
หมายเลขบันทึก: 384987เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2010 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท