สถานะบุคคล กับสิทธิในทางแพ่ง--กรณีการสมรส


การสมรสหาใช่สัญญาทางแพ่งอย่างแท้จริงไม่ เนื่องจากความผูกตามสัญญาในกฎหมายแพ่ง มักจะมีลักษณะเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเงินทองเป็นส่วนใหญ่ การสมรสนั้นแม้ว่าจะต้องมีการแสดงเจตนาถูกต้องตรงกัน และแม้ว่าจะก่อให้เกิดความผูกพันตามกฎหมายก็ตาม ก็ยังหาใช่สัญญาทางแพ่งไม่ เพราะการสมรสมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างฐานะของบุคคลเป็นหลัก เจตนาที่แสดงโดยการยินยอมนั้นก่อให้เกิดสถานการณ์อย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า สถานะบุคคล (status) หรือฐานะบุคคลตาม ปวพ. ม.145(1) 

สถานะบุคคบุคคลทำให้เกิดนิติสัมพันธ์และสิทธิหน้าที่ต่อกันไม่ใช่แสดงเจตนามุ่งโดยตรงก่อการผูกนิติสัมพันธ์ ตามมาตรา 149 แต่มุ่งโดยตรงต่อการก่อสถานะบุคคล สถานะบุคคลต่างหากที่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ นิติสัมพันธ์ไม่ได้เกิดโดยตรง (immediate) จากการแสดงเจตนา แต่เกิดโดยกฎหมายกำหนดสิทธิและหน้าที่ซึ่งจะมีในสถานะบุคคลที่เป็นสามีภริยากันอีกชั้นหนึ่ง นี่คือความสำคัญของข้อความที่ว่า “มุ่งโดยตรง” (immediate purpose) ในมาตรา 149

เงื่อนไขที่อาจทำให้การสมรสเป็นโมฆะ 

  1. สมรสกับบุคคลวิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถ (ม.1449)
  2. สมรสกับญาติสืบสายโลหิต (ม.1450)
  3. สมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ (ม.1452)

ผู้จดทะเบียนซ้อนอาจมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็เท็จ แก่พนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย ปอ.มาตรา 137

  1. สมรสโดยปราศจากความยินยอม (ม.1458)

 

เงื่อนไขที่อาจทำให้การสมรสเป็นโมฆียะ

  1. ขณะอายุต่ำกว่า 17, ม.1448
  2. ผู้เยาว์สมรสโดยไม่ได้รรับความยินยอม 1509
  3. สำคัญตัวผิดในคู่สมรส ม.1505
  4. ถูกกลฉ้อฉล ม.1506
  5. ถูกข่มขู่ ม.1507

 

ข้อห้ามนายทะเบียนทำการจดทะเบียนสมรส

-ม.1451 ระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม

-ม.1453 หญิงที่การสมรสเดิมสิ้นสุดลงไม่เกิน 310 วัน

-ม.1579 ห้ามมิให้คู่สมรส ซึ่งได้รับครอบครองทรัพย์สินของบุตรสมรสใหม่ หลังจากคู่สมรสของตนถึงแก่ความตาย

เงื่อนไขที่อาจทำให้การสมรสเป็นโมฆะ

  1. ความยินยอมของชายหญิงที่จะทำการสมรส

ม.1458 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยอมเป็นสามีภรรยากัน โดยจะต้องแสดงความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน

  1. เงื่อนไขที่ถือว่าเป็นการสมรสเป็นสถาบัน

2.1     คู่สมรสไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถ ม.1449

2.2     คู่สมรสต้องไม่เป็นญาติสืบสายโลหิต หรือพี่น้องกัน ม.1450

2.3     คู่สมรสต้องไม่เป็นคู่สมรสของคนอื่น

 

การฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรส อาจถูกผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงหรืออาจกล่าวอ้างว่าการสมรสเป็นโมฆะได้

            หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว ตามหลักแล้ว กฎหมายถือว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะมาตั้งแต่วันจดทะเบียนสมรส (ฎ. 1216/2523) เป็นการสมรสที่ไม่เคยมีอยู่ หรือไม่เคยเกิดขึ้นสายตามของกฎหมาย

 

บุตรนอกสมรสและการเปลี่ยนฐานเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย

บุตรนอกสมรส หมายถึง บุตรที่เกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย เป็นบุตรตามป.พ.พ. มาตรา 1546 ซึ่งให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงเท่านั้น หาได้มีความผูกพันทางกฎหมายแต่อย่างใดกับชายผู้เป็นบิดาโดยกำเนิดไม่

บุตรของหญิงจึงไม่ได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (บุตรชอบด้วยกฎหมาย ม.1536, 1537, 1538, 1560)

ไม่ก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ใดๆ ระหว่างเด็กและบิดา เข้าลักษณะเด็กที่กฎหมายไม่รับรองฐานะความเป็นบุตร เป็น “บุตรนอกกฎหมาย” ม.1627

แม้ ม.1627 จะรับรองสิทธิว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็จำกัดประโยชน์อยู่เฉพาะสิทธิในการรับมรดกของชายผู้เป็นบิดาเท่านั้น ฎ.345/2511, ฎ 1601/2492 ทั้งยังต้องพิสูจน์ถึงพฤติกรรมที่บิดาได้แสดงออกถึงการรับรองในขณะที่ฝ่ายหลังยังมีชีวิตอยู่ หาได้รับรองให้มีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามบรรพ 5 นี้ไม่ ดังนั้น บุตรดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิใช้ชื่อสกุลบิดา ไม่มีสิทธิได้รับการอุปการะ เลี้ยงดูรับการส่งเสียให้ศึกษาเล่าเรียนจากบิดา และหากบิดาไม่ให้การรับรองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ บุตรนั้นก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของบิดา

 

รศ.ดร.ไพโรจน์ กัมพูสิริ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว, พิมพ์คร้ั้งที่ 5, 2548 

หมายเลขบันทึก: 384770เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2010 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เเวะมาเเปะบันทึกเเละปัดฝุ่นบล็อคตัวเองที่อัพครั้งสุดท้ายตอนที่มีเสวนาเรื่อง พรบ. คืนชาติ ห่างหายจากวงการไปเกือบปี กลับมาตามอ่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท