APN: คุณค่า การพัฒนาและความสำเร็จ


คุณค่า การพัฒนาและความสำเร็จ ของ APN ขึ้นอยู่กับ 1. ผู้บริหารเห็นประโยชน์ของAPN ต่อองค์กร การสนับสนุน/กำหนดตำแหน่งในองค์กรพยาบาล และการเปิดโอกาส ในการทำงานรูปแบบต่างๆ

ได้ประชุมวิชาการการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงแห่งชาติ ครั้งที่ 1“APN: คุณค่า การพัฒนาและความสำเร็จโดยสภาการพยาบาล และสมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง(ประเทศไทย)วันที่ 14 – 16 กรกฏาคม พ.ศ.2553

  ย้ายมาที่รพ มโนรมย์ ครั้งแรกมีคน ถามว่า พี่วรรณ  APN คืออะไร

ถ้างั้นลอง รู้จักความหมาย และบทบาท ก่อนเลยนะและสุดท้ายก็ว่าพยาบาลเราจะเป็น APN  ได้อย่างไร (จบ ปโท หรือมีคุณสมบัติตามสภาการพยาบาลกำหนด แล้วสอบเอาวุฒิบัตรตามสาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางการปฏิบัติการทางคลินิก (ที่เรียน)  )

“การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) หมายถึง การแสดงออกถึงความเชี่ยวชาญในระดับสูงในการประเมิน วินิจฉัย และรักษาดูแลเกี่ยวกับการตอบสนองที่ซับซ้อนของบุคคล ครอบครัวและชุมชนต่อปัญหาสุขภาพทั้งที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่เสี่ยงต่อการเกิด รวมถึงการป้องกันความเจ็บป่วยและ การคงไว้ซึ่งความผาสุก”(American Nurses Association , 1996)

                การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง Advanced Practice Nursing (APN)  เป็นการปฏิบัติการพยาบาลในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะโดยใช้สมรรถนะขั้นสูง มีการขยายขอบเขตอย่างมีอิสระและชอบด้วยกฎหมาย และปฏิบัติโดยใช้ความรู้ทฤษฎี การวิจัย และหลักฐานเชิงประจักษ์เป็นการปฏิบัติของผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท

หรือเอก    ด้านการปฏิบัติการพยาบาล   และเป็นการปฏิบัติขั้นสูงด้านต่างๆ ในขอบเขตของวิชาชีพการพยาบาล อาจเป็น การศึกษา การวิจัย การบริหาร และ การปฏิบัติ โดยที่มีการใช้ความรู้และทักษะขั้นสูงในการปฏิบัติ

สำหรับวรรณเอง เป็น APN สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช  สอบได้วุฒิบัตร ปี 2547 รุ่น4  

คุณลักษณะของการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง

 ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (specialization)

 การขยายขอบเขต (expansion) หมายถึง การพัฒนาทักษะเพิ่มเติมในด้านการปฏิบัติ ความรู้

และทักษะ มีบทบาทที่เป็นอิสระและชอบด้วยกฎหมาย

 ความก้าวหน้าของการปฏิบัติ (advanced practice) ที่มีลักษณะของบูรณาการความรู้อย่าง

กว้างขวางลึกซึ้งทั้งทางทฤษฎี วิจัย และการปฏิบัติ

บทบาทหลักของ APNs ในระบบสุขภาพไทย

 ผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติทางคลินิก

 พยาบาลเวชปฏิบัติ    

 พยาบาลวิสัญญี    

 พยาบาลผดุงครรภ์ขั้นสูง 

จำนวน APN  ในประเทศไทยปัจจุบัน(2553)มี  944 คน  แยกเป็น 1. อายุรศาสตร์ – ศัลยศาสตร์ 447 คน

2. สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 102 คน  3. มารดา – ทารก 34 คน  4. การพยาบาลเด็ก 79 คน

5. ชุมชน 88 คน  6 ผู้สูงอายุ 44 คน  7 เวชปฏิบัติชุมชน 97 คน  8. โรคติดเชื้อละการควบคุมการติดเชื้อ 35 คน

9. การให้ยาระงับความรู้สึก 17 คน  10. ผดุงครรภ์ 1 คน

วรรณ  คิดว่า คุณค่า การพัฒนาและความสำเร็จ ของ APN  ขึ้นอยู่กับ  1. ผู้บริหารเห็นประโยชน์ของAPN ต่อองค์กร  การสนับสนุน/กำหนดตำแหน่งในองค์กรพยาบาล และการเปิดโอกาส ในการทำงานรูปแบบต่างๆ    2. จากตัว APN ที่มีความสามารถในการปฏิบัติการทางคลินิก  ความมุ่งมั่นทำงานมุ่งสู่ผลลัพธ์   และ3.จากเพื่อนร่วมงานที่ให้การยอมรับและเปิดโอกาส     (แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับบริบทวัฒนธรรมขององค์กรเพราะสุดท้าย  งานคือคุณค่าของความเป็นคน เนอะ(คิดเอง))   อภัยวรรณ

 

หมายเลขบันทึก: 384237เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2010 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 04:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เพิ่งรู้เหมือนกันครับ /boss

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท