การบูรณาการงานสุขภาพจิตครั้งที่ 1+ฝากเรื่องชีวิตคู่มีความสุข อย่า “หย่า” ง่ายๆ


ชีวิตคู่ คือพื้นฐานชีวิตครอบครัว หากจะให้ชีวิตคู่มีความสุข อย่า “หย่า” ง่ายๆ

วันที่ 5-6  สิงหาคม53 เข้าร่วมประชุมที่ รร ปริ้นพาเลช  กทม  เรื่อง การประชุมวิชาการบูรณาการงานสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยครั้งที่ 1 เป็นการนำเสนอ/ชี้แจงโครงการ ระดับ PM  ของกรมสุขภาพจิตแต่ละ แห่ง เพื่อให้หน่วยบริการทุกแห่งรองรับ การดำเนินงานต่อไป

1.โครงการเฝ้าระวังและช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

เป้าหมาย  •1.อัตราการฆ่าตัวตาย ไม่เกิน 6.5 ต่อประชากรแสนคน

              •2.ร้อยละ 80 ของผู้พยายามทาร้ายตนเอง ได้รับการคัดกรอง เฝ้าระวัง ดูแล

รักษาพยาบาลตามอาการ จนสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ

              •3.จานวนผู้ที่ฆ่าตัวตายซ้ำลดลงจากเดิม ร้อยละ 10

2.โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนในภาวะวิกฤต ประจำปี 2554

เป้าหมายโครงการ  1.ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

                       2.อัตราการฆ่าตัวตายลดลงตามเป้าหมายที่กำหนด

                       3.จานวนผู้ที่ฆ่าตัวตายน้อยลงกว่าเดิมเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ  •ร้อยละ ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ปีที่ผ่านมา

                                 •อัตราการฆ่าตัวตาย ไม่เกิน 6.5 ต่อประชากรแสนคน

                                 •จานวนผู้ที่ฆ่าตัวตายซ้ำ ลดลงจากเดิม ร้อยละ 10

                                •บุคลากรสาธารณสุขในระดับจังหวัด มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า ภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

กลุ่มเป้าหมาย

1.พื้นที่เป้าหมาย 75 จังหวัด ยกเว้น กรุงเทพมหานคร  เน้น ในจังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายในปี 2552 เท่ากับ / มากกว่า 8 ต่อประชากรแสนคน

2.ทุกหน่วยบริการ / สถานพยาบาลทุกพื้นที่ของประเทศ

3. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้าในประเทศไทย

วิสัยทัศน์ : ภายในปี 2563 โรคซึมเศร้าจะไม่ใช่ความเจ็บป่วยที่ก่อความสูญเสียด้านสุขภาพ (DALY)4 อันดับแรกในคนไทย

เป้าหมาย : ลดความชุกและภาระโรคของโรคซึมเศร้า

         ของฝาก  วันที่2  เป็นการแยกห้อง ตามความสนใจของแต่ละคน  วรรณ ขอเอาความรู้ที่เข้ารับฟังเรื่องความสุขในครอบครัวมาฝากแล้วกันนะ เพื่อทบทวนตนเองว่าในแต่ละgeneration ของเราควรทำอย่างไร เพื่อลดปัญหาในครอบครัว และเป็นการดุแลสุขภาพจิตของตนเอง (เอาความรู้เดิมของท่านมาเล่าใหม่ละกัน)

ชีวิตคู่ คือพื้นฐานชีวิตครอบครัว   สถิติชีวิตคู่ที่ ล้มเหลว: 20 % หย่าร้างในปีที่ 5 หลังการอยู่ร่วมกัน30 %หย่าร้างในปี 10 ปี   43 %หย่าร้างในปี 15 ปี    

การ“หย่า” คือ คาตอบ?  จากการวิจัยของ University of Chicago, Minnesota, Denver  สามี-ภรรยาที่หย่า 5,232คน  พบว่า645 คน ไม่มีความสุข   หลัง ติดตาม 5 ปี  หย่า ไม่ได้มีความสุขมากกว่าทนอยู่    เพราะการทนอยู่  2 ใน 3 ดีขึ้น    ใครคิดจะอย่าทบทวนดีๆหน่อยล่ะกัน

                ทาไมชีวิตคู่ดีขึ้น?   กลุ่ม 1 ความอดทนปัญหาลดลงเอง (เวลา)   กลุ่ม 2 พยายามแก้ไขความสัมพันธ์ (marital counseling)   กลุ่ม 3 ทำใจ (individual work)   ดังนั้น  หากจะให้ชีวิตคู่มีความสุข อย่า “หย่า” ง่ายๆ  คิๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ   เอาเพื่อการปรับตัวของเราเองมาเรียนรู้วงจรชีวิตครอบครัวกัน

วงจรชีวิตครอบครัว(family life cycle)•คือการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นกับทุกครอบครัว•ในแต่ละขั้นตอน จะมีการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ และมีความเครียดเกิดขึ้น   •ความรู้เรื่องวงจรชีวิต จะทำให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ และความเครียดที่เกิดขึ้นกับครอบครัว และให้คำปรึกษาได้อย่างเหมาะสม

วงจรชีวิตครอบครัว(ดัดแปลงจากCarterและMcGoldrick 1980)

ระยะต่างๆ

ภารกิจที่สำคัญ

วิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุภารกิจ

1.เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว

 

 

2. แต่งงาน และสร้างครอบครัว

 

3. ครอบครัวที่มีลูกเล็ก

 

 

4. ลูกโตเป็นวัยรุ่น

 

 

 5. ลูกแยกไป จากครอบครัว

 

 

 

6.สู่บั้นปลายของชีวิต

แยกตัวจากครอบครัวเดิม

 

 

อุทิศตนให้กับครอบครัวใหม่

 

ต้อนรับสมาชิกใหม่(ลูก)เข้าสู่ครอบครัว

 

 

ส่งเสริมให้ลูกมีความเป็นตัวของตัวเอง

 

ยอมรับการแยกไปของลูกและการเข้ามาของเขย-สะใภ้

 

 

 

ยอมรับการเปลี่ยนแปลงในบทบาทของตนเนื่องจากย่างเข้าสู่วัยชรา

ก. เป็นตัวของตัวเองและเป็นอิสระจากครอบครัวเดิม

ข.สร้างความสัมพันธ์ลึกซึ้ง

ค.ทางานสร้างฐานะ

ก. สร้างความสัมพันธ์ที่เหมาะสม

ข. ปรับความสัมพันธ์กับครอบครัวเดิม

ก. ปรับความสัมพันธ์เพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่(ลูก)

ข. ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพ่อแม่

ค. เสริมสัมพันธ์เครือญาติกับลูก

ก. ปรับความสัมพันธ์กับลูกวัยรุ่น

ข. กลับมาสนใจในคู่สมรสและงานอีกครั้ง

ค. ดูแลพ่อแม่ซึ่งย่างเข้าสู่วัยชรา

ก.สัมพันธ์แน่นแฟ้นกับคู่สมรส

ข.ปรับสัมพันธ์ต่อลูกให้เป็นแบบผู้ใหญ่ต่อผู้ใหญ่

ค.ต้อนรับเขย-สะใภ้และหลาน

ง.ยอมรับความเสื่อมสมรรถภาพรวมทั้งการจากไป(เสียชีวิตของพ่อแม่)

ก. หาบทบาทใหม่ที่เหมาะกับวัยชรา

ข. พยายามคงประสิทธิภาพการทำงานและความกระตือรือร้น

ค. คนรุ่นลูก-บทบาทมากขึ้น

ง. จัดการกับความสูญเสีย(เสียชีวิตของคู่สมรสญาติพี่น้องเพื่อน)   จ. เตรียมตัวเตรียมใจสำหรับตนเอง

เกิดเป็นคน ควรหมั่น ขยันเอย........................อภัยวรรณ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 384139เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2010 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เนื้อหาแน่นมากครับ /Boss

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท