KM0004 : ประสบการณ์ KM กับกองทุนเอดส์


เทคนิคการบอกบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ชื่นชอบ ทำให้คนในกลุ่มเข้าใจกันง่ายขึ้น สัมพันธ์กันง่ายขึ้น เพราะได้รู้ว่าใครชอบแนวเดียวกับตัวเอง หาเรื่องที่จะคุยกันง่ายขึ้น รู้สึกถึงความเป็นพวกพ้อง

สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปร่วม KM กับกองทุนเอดส์ บางท่านบอกว่าผมไปเป็น FA แต่จริงๆ อยากบอกว่าตัวเองน่าจะเป็นแค่คุณกิจ หรือเป็นอะไรก็ได้ที่ไปช่วยทำให้การจัดประชุมเปลี่ยนแปลง สำหรับ FA หรือคุณอำนวยตัวจริงต้องยกให้คุณแนนซี่ ที่พยายามนำกระบวนการ KM เข้าไปสอดแทรกกับการจัดประชุมของกองทุนได้สำเร็จ ลึกๆ แล้วผมก็ไม่ค่อยชอบถูกเรียกว่า FA เท่าไหร่เพราะเมื่อออกเสียงเป็นภาษาอังกฤษแล้วคล้ายๆ กับคำว่า Far (สำเนียงแบบไทยๆ นะครับ) ซึ่งแปลแล้วไม่ค่อยเป็นมงคลเท่าไหร่ ปัญหาอย่างหนึ่งของคนในองค์กรก็คือหลายคนคิดว่า KM เป็น ภาระ ไม่ใช่ พละ อย่างที่ อ.ประพนธ์ ว่าไว้ ดังนั้นการตัดสินใจนำ KM เข้าไปสอดแทรกกับการจัดประชุมให้เป็นเนื้อเดียวจริงเป็นเรื่องที่ท้าทายพอสมควร โดยเฉพาะกับคนในองค์กรที่มีจับเอากระบวนการพัฒนาองค์กรหลายอย่างมาใช้

การได้เข้ามามีส่วนในการจัดกระบวนการ KM ครั้งที่ 3 ของผมนี้ ก็มีความแตกต่างจากครั้งก่อนๆ โดยครั้งแรกจัดให้กับสำนักตัวเอง กลุ่มเป้าหมายจึงเป็นคนในสำนัก ครั้งที่สองเป็นการจัดร่วม 2 สำนัก มีทั้งคนของสำนักตัวเองและต่างสำนัก และครั้งที่ 3 นี้เป็นของสำนักอื่น (กองทุนเอดส์และผู้รับผิดชอบจากเขต) ดังนั้น ผมจึงได้เห็นการตอบสนองที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ได้ประสบการณ์ในการเตรียมกระบวนการอีกครั้ง

การทำ BAR ยังคงถูกนำมาใช้เสมอ และดูเหมือนเป็นกระบวนการประจำไปซะแล้ว การตั้งความคาดหวังก่อนทำเรื่องใดๆ ทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้นว่ามาทำอะไร เปรียบเสมือนตั้งวัตถุประสงค์ให้ตัวเอง การแนะนำตัวเป็นสิ่งจำเป็นถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะรู้จักกันแล้ว เพราะทำงานเรื่องเดียวกัน แต่ก็เป็นการเริ่มให้ทุกคนได้พูดได้อย่างไม่ต้องคิดมากเพราะเป็นชื่อของตัวเอง เทคนิคการบอกบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ชื่นชอบ ทำให้คนในกลุ่มเข้าใจกันง่ายขึ้น สัมพันธ์กันง่ายขึ้น เพราะได้รู้ว่าใครชอบแนวเดียวกับตัวเอง หาเรื่องที่จะคุยกันง่ายขึ้น รู้สึกถึงความเป็นพวกพ้อง เวลา 1 ชั่วโมงจึงหมดไปกับเรื่องนี้ ก่อนไปพักเที่ยงผ่อนคลายกันด้วยการท่องสูตรคูณ ที่เป็นกิจกรรมคลาสสิกไปแล้ว

ช่วงบ่าย "ผ่อนพักตระหนักรู้" กิจกรรมที่ทุกคนเรียกร้องแต่ไม่ได้มีในรายการที่เตรียมไว้ แต่ อ.อ้อม (สคส.) สอนไว้ว่าต้องปรับกิจกรรมให้เข้ากับบรรยากาศหรือความต้องการของคนเข้าร่วม กิจกรรมนี้จึงถูกงัดมาใช้ เมื่อเสร็จกิจกรรมนี้ (ซึ่งส่วนใหญ่ก็หลับ อาจจะเหนื่อยจากการเดินทาง) หลายคนก็ดูสดชื่นขึ้นบ้างจากการผลัดกันนวด

เนื่องจากกำหนดการประชุมส่วนใหญ่เป็นการแสดงความคิดเห็น ก่อนไปทีมงาน (ผม, น้องโอ๋ ภาคี และ FA แนนซึ่) จึงออกแบบกิจกรรมที่ให้ทุกคนได้เริ่มพูดและฟังแบบมีทักษะ ซึ่งคนในองค์กรเราส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องพูด แต่อาจมีปัญหาเรื่องการฟัง แต่จริงๆ แล้วหากมีทักษะการฟังที่ไม่ดี ก็อาจมีปัญหาเรื่องการพูดตามมา เพราะอาจพูดไปคนละเรื่องสองเรื่องได้ เพราะไม่ฟังกัน ทีมของเราจึงเลือกเอากิจกรรม "รู้เรารู้เขา" มาใช้ ใครเป็นเหยี่ยว เป็นกระทิง เป็นหมี หรือเป็นหนู ก็ว่ากันไป เหตุผลอะไร ดูตัวเอง บอกคนอื่น ดูคนอื่น ฟังคนอื่น ก็ได้ความสัมพันธ์กัน ความเป็นพวกไปอีกแบบ หมดไปสำหรับกิจกรรมวันแรกของทีมงาน ประสบความสำเร็จหรือไม่ ไม่แน่ใจ แต่ค่อนข้างแน่ใจว่าทุกคนมีความสุข น่าจะใกล้เคียงกับที่ว่า

"หน้าที่ของผู้บริหาร หรือ หน้าที่ของแต่ละคน คือ ต้องค้นพบและระบุความสุขของตนเองและผู้คนในองค์กรให้ชัดเจนให้ได้ก่อน ก่อนจะทำการวางแผน,ออกแบบกลยุทธ์ หรือลงมือทำสิ่งใดทั้งสิ้น" ยืมมาจากข้อเขียนของคุณวราภรณ์ ด่านสิริ ใน gotoknow (http://gotoknow.org/blog/creativecluster/369026)

ยังเหลืออีก 1 วัน กับการใช้กระบวนการ EE (Empowement Evaluation) รออ่านต่อไปนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 384086เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2010 00:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับคุณคิดคม

      เเวะมาอ่านก่อนเข้านอนครับ  เดี่ยวจะมาติดตามอ่านตอนต่อไปครับ  หลับฝันดีมีความสุขมากๆนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท