จำนวน (Numbers) : ตอนที่ 3


จำนวนต่างๆ ทึ่ควรรู้จัก

 

 

 

 

 จำนวนกำลังสอง (Square number)

จำนวนบวกซึ่งเป็นผลจากการคูณจำนวนเต็มแต่ละจำนวนด้วยตัวมันเอง ซึ่งเรียกว่า เป็นการยกกำลังสองของจำนวนนั้น เช่น

    4  x  4   =   16

    7  x  7   =   49

  (-5) x (-5)  =  25

จำนวนกำลังสอง สิบตัวแรก ได้แก่  1  4  9  16  25  36  49  64  81  100

จำนวนกำลังสองมีไม่จำกัด ที่เรียกจำนวนเหล่านี้ว่าจำนวนกำลังสอง เพราะสามารถแสดงโดยใช้หน่วยเป็นตารางหน่วย

                  0   0   0   0

                  0   0   0   0

                  0   0   0   0

                  0   0   0   0   16 ตารางหน่วย

                  จำนวนกำลังสองของ 16 โดยแบ่งแบบรูปของรูปสี่เหลี่ยมซึ่งแทนด้วยจุด 4x4

จำนวนสามเหลี่ยม (Triangular number)

จำนวนบวกซึ่งมีผลบวกของจำนวนเต็มเรียงต่อกันไป เช่น

                      1   =   1               

                 1 + 2  =   3

          1 + 2 + 3   =   6

    1 + 2 + 3 + 4   =   10

จำนวนเหล่านี้อาจแทนด้วยหน่วยในรูปสามเหลี่ยม รูปสามเหลี่ยมใหม่ที่เกิดขึ้นโดยการบวกจุดกับอีกแถวหนึ่งกับจุดในสามเหลี่ยมที่มีมาก่อน

จำนวนสามเหลี่ยมสิบตัวแรก คือ 1 3  6  10  15  21  28  36  45  55

จำนวนสามเหลี่ยมไม่มีที่สิ้นสุด

 

จำนวนกำลังสาม (Cube number)

จำนวนกำลังสามของ 8

 แสดงได้โดยการวัดลูกบาศก์ 2x2x2

 

จำนวนบวกซึ่งเป็นผลจากการคูณจำนวนเต็มแต่ละจำนวนด้วยตัวมันเองอีกครั้งหนึ่ง แล้วคูณด้วยตัวมันเองอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งเรียกว่าเป็น การยกกำลังสาม ของจำนวนนั้นๆ

กำลังสามสิบตัวแรก ได้แก่ 1  8  27  64  125  216  343  512  729  1000

จำนวนกำลังสามมีไม่จำกัด ที่เรียกจำนวนเหล่านี้ว่าจำนวนกำลังสามก็เพราะสามารถแสดงโดยใช้หน่วย ลูกบาศก์

จำนวนกำลังสามของ 27

แสดงได้โดยการวัดลูกบาศก์ 3x3x3

 

พาลินโดรม (Palindrome)

จำนวนจำนวนหนึ่ง ซึ่งอ่านจากทางขวาไปทางซ้าย มีค่าเช่นเดียวกันกับการอ่านจากทางซ้ายไปทางขวา  เช่น  23432  ,  121

จำนวนแพนดิจิท (Pandigital number)

จำนวนจำนวนหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยเลขโดด 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9 เพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น  เช่น  2918653470 

จำนวนตรรกยะ (Rational number)

จำนวนใดๆ ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วน เมื่อตัวเศษและตัวส่วนเป็นจำนวนเต็ม ซึ่งเป็นทั้งจำนวนบวกและจำนวนลบ

อาจเป็นทศนิยม เช่น 50.856 และทศนิยมไม่รู้จบ เช่น 0.333...

จำนวนอตรรกยะ (Irrational number)

จำนวนอตรรกยะ คือ จำนวนที่ไม่ใช่จำนวนตรรกยะ  จึงไม่สามารถเขียนเป็นเศษส่วนหรือทศนิยม

จำนวนอตรรกยะจะมีจำนวนของตำแหน่งทศนิยมไม่จำกัด พาย (¶) เป็นจำนวนอตรรกยะ ได้แก่ 3.141592653...

 

จำนวนจริง (Real numbers)

เซตของจำนวนตรรกยะ และจำนวนอตรรกยะ

 

***^^ขอขอบคุณที่ติดตามทั้งสามตอนครับ  จบแล้วเรื่องจำนวน^^***

 

คำสำคัญ (Tags): #จำนวนเต็ม
หมายเลขบันทึก: 383835เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2010 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โห อาจารณ์ ยากมาก

ตัวผมอยากเก่งมากๆ แต่หัวไม่ค่อยเอาเลย มีวิธีป่าวครับ

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม

อยากเก่งคณิตศาสตร์ ต้องฝึกบ่อยๆ อ่านบ่อยๆ

โดยปกติแล้วคณิตศาสตร์ จะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติเสมอ

ขอบคุณครับ พี่ชาย อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท