สรุปงานวิจัยชิ้นที่ 3


สรุปงานวิจัย

ชื่อเรื่อง         :       การศึกษาการกวดวิชาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสุโขทัย

ผู้วิจัย               :        นางสาวสมหวัง นุชเอี่ยม

ปีที่วิจัย             :       2543

วัตถุประสงค์   

          1. เพื่อศึกษาสาเหตุการกวดวิชาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6  สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสุโขทัย

            2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของเพศ ระดับชั้น โปรแกรมการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีต่อสาเหตุการกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสุโขทัย ทั้ง  3  ด้าน  คือ  ด้านส่วนตัวนักเรียน  ด้านเทคนิคและวิธีการสอน  และด้านเนื้อหาวิชา

 

วิธีการวิจัย

            วิจัยเชิงสำรวจ

            กลุ่มตัวอย่าง   

                        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่   1- 6 สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสุโขทัย  จำนวน  341  คน  โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น  กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางเครจซี่ และมอร์แกน

            เครื่องมือ        

                        เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการและคำถามปลายเปิด  

            วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

                   1. ผู้วิจัยขอหนังสือแนะนำตัวเพื่อขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม จากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

                        2.  นำหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัยติดต่อขอความอนุเคราะห์จากผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อขอให้นักเรียนตอบแบบสอบถาม

                        3.  ติดตามแบบสอบถาม

                        4.  เก็บรวบรวมแบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ผล

 

            วิธีวิเคราะห์ผล

                      ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ และคำนวณค่าร้อยละ

                        วิเคราะห์ความสัมพันธ์สาเหตุการเรียนกวดวิชาของนักเรียนจำแนกตามเพศ ระดับชั้น โปรแกรมการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยใช้การทดสอบไคสแควร์  โดยใช้โปรแกรม SPSS/PC

 

ผลการวิจัยพบว่า

                   1.  สาเหตุการเรียนกวดวิชาของนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสุโขทัย เป็นรายด้าน ดังนั้น  ด้านส่วนตัวนักเรียนเพราะต้องการได้รับความรู้เพิ่มเติม  ด้านเทคนิคและวิธีการสอน เพราะผู้สอนใช้เทคนิคและวิธีการสอนให้เข้าใจง่าย ด้านเนื้อหาวิชา เพราะมีเนื้อหาวิชาสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

                        2. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับสาเหตุการเรียนกวดวิชาของนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสุโขทัย จำแนกรายด้าน พบว่า  ด้านส่วนตัวนักเรียน ด้านเทคนิคและวิธีการสอน และด้านเนื้อหาวิชา เพศ โปรแกรมการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับสาเหตุการเรียนพิเศษ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ระดับชั้นเรียน ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

หมายเลขบันทึก: 383750เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2010 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท