จับผู้ป่วยคลุ้มคลั่งที่บำราศ...ทำได้ง่ายนิดเดียว


หัวข้อข่าววันนี้ "จับผู้ป่วยคลั่งที่บำราศ.." หลายท่านอาจจะตื่นเต้นว่าจริงหรือ ? อันที่จริงดิฉันตั้งชื่อรื่องให้สะดุดตาผู้อ่านน่ะค่ะ ความจริงก็คือสืบเนื่องมาจากการทำ AAR ของพนักงานห้องผ่าตัดของชุมชนคนชุดเขียว จำนวน 4 คนที่มีโอกาสเข้าฟังวิชาการในเรื่อง " การกุมตัวอย่างปลอดภัย " ในบันทึกนี้ดิฉันขอพลิกบทบาทตัวเองจากคุณกิจมาเป็นคุณลิขิตเนื่องจากมีเนื้อหาที่น่าสนใจและอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่อาจจะประสบปัญหากรณีพบคนหรือผู้ป่วยที่มีอาการคลุ้มคลั่งได้

  <p>พนักงานทั้ง 4 คนอันได้แก่สำราญ, ติ๊ก, หนึ่ง, และดอน ได้เล่าเรื่อง " การกุมตัวอย่างปลอดภัย " ให้กับพวกเราฟังในช่วง Morning Talk ของวันที่ 3 ก.ค. 49 ซึ่งดิฉันได้เขียนบันทึกไว้ในชื่อว่า .....gotoknow.org/blog/supalukbi/37476..แล้ว และจาก EK ที่ได้มานั้นทั้ง 4 คนก็ได้เกิด TK ขึ้นถ่ายทอดออกมาเล่าให้พวกเราฟัง ซึ่งดิฉันเก็บตก จดบันทึกและกลั่นกรองเป็นองค์ความรู้เรื่อง การกุมตัวให้ปลอดภัย..ทำได้ง่ายนิดเดียว </p><p></p> กรณีที่พบผู้คลุ้มคลั่ง หัวใจสำคัญคืออย่าได้คิดที่จะเป็นฮีโร่เพียงคนเดียวหรือวันแมนโชว์ ข้ามาคนเดียวเด็ดขาดเพียง ต้องมีอย่างน้อย 2-3 คนขึ้นไป แต่ไม่ควรจะใช้จำนวนคนมากเกินเป็นไทยมุงเพราะจะทำให้ผู้คลุ้มคลั่งเกิดความหวาดระแวงและอาละวาดได้ และต้องดูให้รอบคอบว่าผู้คลุ้มคลั่งมีอาวุธหรือไม่ แบ่งผู้คลุ้มคลั่งเป็น 2 กรณี <p style="margin-left: 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt"></p><p>1.      กรณีผู้คลุ้มคลั่งไม่มีอาวุธ การจับกุมต้องยึดหลักความปลอดภัยทั้งผู้จับกุมและผู้ถูกจับกุม มีขั้นตอนการจับกุมดังนี้</p><p>                  1.1             เจ้าหน้าที่คนที่ 1 เป็นผู้ต่อรองหรือเจรจาหรือเป็นตัวล่อให้สนใจ</p><p>                  1.2             เจ้าหน้าที่คนที่ 2 และ 3 (ถ้ามี) หรือมากกว่า 2 จะดีมาก จะเป็นผู้ทำการจับกุมหรือประชิดตัวจากด้านอื่น ๆ หรือด้านหลัง </p><p style="margin-left: 90pt; text-indent: -36pt; tab-stops: list 90.0pt">1.3             การจับกุมด้วยผู้จับกุมเพียงคนเดียววิธีที่ 1 จะเข้าล็อคทางด้านหลัง ใช้มือข้างหนึ่งจับข้อมือผู้คลุ้มคลั่งอาละวาดแล้วบิดไขว้ไพล่ไปข้างหลัง  มืออีกข้างหนึ่งจะทำการล็อคคอโดยจะพาดจากต้นคอมาที่บริเวณหน้าอกของผู้คลุ้มคลั่งแต่ไม่รัดคอเพราะถ้าใช้กำลังไม่ถูกต้องจะทำให้คอหักได้ ดังภาพ</p><div style="text-align: center"></div><p style="margin-left: 90pt; text-indent: -36pt; tab-stops: list 90.0pt">1.4             การจับกุมด้วยผู้จับกุมเพียงคนเดียววิธีที่ 2 จะเข้าล็อคทางด้านหลังเช่นเดิมใช้ทั้ง 2 มือช้อนใต้รักแร้แล้วอ้อมมาล็อคที่ต้นคอด้านหลัง ของผู้คลุ้มคลั่ง พร้อมกับผู้จับกุมใช้เข่าตนเองดันที่เข่าด้านหลังผู้คลุ้มคลั่งเพื่อให้ทรงตัวไม่อยู่ ดังรูป</p>  <div style="text-align: center"></div><p style="margin-left: 90pt; text-indent: -36pt; tab-stops: list 90.0pt">1.5             กรณีที่มีผู้จับกุมมากกว่า 1 คน จะใช้วิธีดังข้อ 1.4 และ 1.5 แล้วผู้จับกุมอื่น ๆ จะมาช่วยอุ้มหรือประคองเอาตัวผู้คลุ้มคลั่งออกไป</p><div style="text-align: center"></div><p style="margin-left: 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt">2.      กรณีผู้คลุ้มคลั่งมีอาวุธ เช่น มีด ของมีคมต่าง ๆ การจับกุมยิ่งต้องยึดหลักความปลอดภัยทั้งผู้จับกุมและผู้ถูกจับกุมเป็นสำคัญ มีขั้นตอนการจับกุมดังนี้</p><p align="center"></p>

2.1             เจ้าหน้าที่คนที่ 1 เป็นผู้ต่อรองหรือเจรจาหรือเป็นตัวล่อให้สนใจแต่ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันด้านหน้าของตนเองเช่น หมอน เป็นต้น เผื่อกรณีที่ผู้คลุ้มคลั่งส่ายอาวุธไปมาหรือทิ่มแทงได้

2.2             ต้องมีเจ้าหน้าที่มากกว่า 2 คนในการจับกุมหรือประชิดตัวจากด้านอื่น ๆ หรือด้านหลัง

2.3             เจ้าหน้าที่ที่จับกุมไม่ควรจะจับกุมด้วยมือเปล่าเหมือนกรณีผู้คลุ้มคลั่งที่ไม่มีอาวุธ ควรจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยได้แก่ ผ้า กระสอบ แต่ควรเป็นผืนใหญ่ ๆ

</span></font><p style="margin-left: 135pt; text-indent: -45pt; tab-stops: 90.0pt list 135.0pt">2.3.1             ผู้จับกุมคนที่ 2 จับมุมของผ้า 2 ข้างให้มั่นคง ปล่อยชายผ้าลง</p><div style="text-align: center"></div><p style="margin-left: 135pt; text-indent: -45pt; tab-stops: 90.0pt list 135.0pt">2.3.2             รวบผ้าเข้าหาตัวให้ถนัดและเตรียมพร้อม</p><div style="text-align: center"></div><p style="margin-left: 135pt; text-indent: -45pt; tab-stops: 90.0pt list 135.0pt">2.3.3             ตลบผ้าไปคลุมศีรษะผู้คลุ้มคลั่งให้ถึงบริเวณข้อศอก ซึ่งจะทำให้แขนทั้ง 2 ข้างผู้คลุ้มคลั่งถูกจับแนบลำตัวและไม่สามารถใช้อาวุธได้</p><p style="margin-left: 135pt; text-indent: -45pt; tab-stops: 90.0pt list 135.0pt"></p><p align="center"><div style="text-align: center"></div></p><p style="margin-left: 135pt; text-indent: -45pt; tab-stops: list 135.0pt">2.3.4             ผู้จับกุมคนที่ 3 และหรือ 4 รีบเข้าประชิดตัวผู้คลุ้มคลั่งที่ถูกผ้าคลุมและช่วยอุ้มหรือประคองเอาตัวผู้คลุ้มคลั่งออกไป</p><p style="margin-left: 135pt; text-indent: -45pt; tab-stops: list 135.0pt"></p>     <p style="margin-left: 54pt; text-indent: -54pt; tab-stops: 63.0pt" align="center">เป็นอย่างไรบ้างคะสำหรับเรื่องการจับกุมตัวผู้ที่คลุ้มคลั่งหรือผู้ป่วยที่มีการคลุ้มคลั่งอาละวาดหวังว่าคราวนี้ถ้าหากท่านพบเหตุการณ์น่าระทึกท่านคงจะมีแนวทางการแก้ไขบ้างนะคะ</p><p align="center">มีคำถามว่าถ้าผู้คลุ้มคลั่งมีอาวุธที่ไม่ใช่แต่เป็นปืนล่ะ จะทำอย่างไร</p><p align="center">คำตอบคือ แปลงร่างเป็นอาจารย์โกยนะสิ...วิ่งซิครับ จะอยู่ให้ร่างมีรูพรุนทำไมล่ะคร้าบ ?   </p>

หมายเลขบันทึก: 38368เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2006 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้ และนำไปใช้ได้ น่าจะมีการซ้อมบ่อยๆ เหมือน CPR นะคะ

              ถ้าเจ้าหน้าที่คลุ้มคลั่ง ล่ะ จะทำยังไง...?!!

        อืมมม... น่าคิด ("o)

  • อ่านชื่อเรื่องแล้วรีบเปิดดูว่ามีผู้ป่วยอาละวาดที่ไหนซะอีก หลอกกันจนได้นะหนูเล็ก
  • ได้ความรู้ดีค่ะคงได้นำไปใช้บ้างนะ (ถ้ามี)
  • "รับรองว่านำไปใช้ได้แน่นอนครับ" เป็นการรับรองจากปากพนักงานของเราเอง
  • ถ้าเจ้าหน้าที่คลุ้มคลั่งโทรมา 3614-5 พนักงาน ห้องผ่าตัดจะรีบไปจัดการให้นะคร้าบ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท