ผลการศึกษาวรรณกรรมเรื่อง โรเมโอและจูเลียต (๑.ผู้แต่ง)


"โอ้ว่าสิเนหดนุเอก ก็กำเนิด ณ ชังเดียว แรกพบบ๋รู้บ๋มิเฉลียว คติรู้สิเลยกาล"

๑. ผู้แต่ง
                พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม รัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงสนพระทัยในงานวรรณกรรมและวรรณคดีอย่างยิ่ง อีกทั้งยังทรงให้การส่งเสริมงานด้านนี้เป็นอย่างดี เห็นได้จากการที่พระองค์ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้น เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฏคม พ.ศ. ๒๔๕๗ มีคณะกรรมการทำหน้าที่ตรวจคัดหนังสือที่แต่งดี เพื่อรับพระบรมราชานุญาตให้ประทับตรา พระราชลัญจกร รูปพระคเนศร์ ไว้หน้าหนังสือ และมีรางวัลพระราชทานด้วย
                สมถวิล วิเศษสมบัติ (๒๕๒๗ : ๓๒) กล่าวถึงพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถือว่าการเล่นละครนอกจากจะเป็นเครื่องบันเทิงใจและให้ความสุขแล้ว ยังเป็นวิธีแห่งการศึกษาที่สำคัญเพราะละครเป็นสิ่งที่โน้มน้าวจิตใจ คนให้เห็นผิดเห็นชอบได้ ทำให้จิตใจสูงขึ้นจึงได้ทรงศึกษาการละครเป็นอันมาก...
                ทรงพระราชนิพนธ์บทละครทุกชนิด มากกว่าผู้ใดทั้งสิ้น เช่น โขน, ละครรำ, ละครดึกดำบรรพ์, ละครพูดสลับลำ(ลำหมายถึงเพลง) ละครสังคีต เป็นละครประกอบดนตรี วรรณคดีสโมสรได้ยกย่องว่า พระราชนิพนธ์ หัวใจนักรบเป็นยอดของบทละครพูด...

                โศกนาฏกรรมความรักเรื่องโรเมโอและจูเลียตนั้น ก็เป็นเป็นหนึ่งในพระราชนิพนธ์แปลหลาย ๆ เรื่องของพระองค์ เรื่องโรเมโอจูเลียตนี้พระองค์ทรงแปลและพระราชนิพนธ์เป็นภาษาไทยจากต้นฉบับเดิมของ วิลเลียม เชกส์เปียร์ ชาวอังกฤษ ซึ่งในพระราชบันทึกคำนำในการจัดพิมพ์ครั้งแรก มีความตอนหนึ่งว่า
             “เรื่อง โรเมโอและจูเลียตนี้ นักปราชญ์อังกฤษสันนิษฐานกันว่า เชกส์เปียร์
             ได้เนื้อเรื่องมาจากนิทานที่ได้มีผู้แต่งขึ้นตามเค้าประวัติการที่เกิดขึ้นจริง  ๆ
             ในเมืองเวโรนาในประเทศอิตาลี ราวปีคริสตศก ๑๓๐๓ (พ.ศ. ๑๘๔๖)
              ส่วนละครของเชกส์เปียร์นั้น ได้แสดงออกโรงครั้งแรกในปีคริสตะศก ๑๕๙๖
                                (พ.ศ. ๒๑๓๙), แต่จะแต่งขึ้นเมื่อใดหาปรากฏในแห่งใด ๆ ไม่. ....

               หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (๒๕๑๘ : ๓๑๘) กล่าวถึง ความเป็นมาของเรื่องโรเมโอและจูเลียตว่า   
        ผู้แต่งเรื่องโรเมโอและจูเลียตนั้น คือ Luigi da porto เป็นชาว Vincenza บ้านอยู่ใกล้ ๆ นี้เอง แต่งเป็นร้อยแก้วเมื่อราว ค.ส. ๑๕๒๕ แต่งขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่นี่ เอาชื่อปราสาทไปให้ชื่อ สกุลของโรเมโอ ต่อจากนั้นMatteo Bandello ชาว Naples เอาไปแต่งเป็นฉบับที่ ๒ เป็นร้อยแก้วเช่นเดียวกันต่อจากนั้นไปอีก ชาวฝรั่งเศสชื่อ Belleforest เอาไปแต่งเป็นร้อยกรองซึ่งว่ากันว่าไม่ค่อยดีนัก แต่ดีที่ทำให้เชกส์เปียร์ได้อ่าน และแต่งขึ้นเป็นคนที่ ๔ ทำให้โลกรู้จัก.

        ตามความเห็นของกวีร่วมสมัยคือ Ben Johnson กล่าวถึงเชกส์เปียร์ว่า มิใช่กวีสำหรับยุคใดยุคหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นกวีผู้เป็นที่นิยมตลอดกาล (He was not for an age but for all time) ดังจะเห็นได้จากที่ “Gounod ชาวฝรั่งเศส ได้ประพันธ์เพลง ทำเป็นมหาอุปรากรเรื่อง Romeo et Julietแสดงครั้งแรกที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๐ (หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล. ๒๕๑๘ : ๓๑๙)  จะเห็นได้ว่า แม้เวลาผ่านไปถึง ๒๗๑ ปี นับตั้งแต่ละครของเชกส์เปียร์ได้แสดงออกโรงครั้งแรก ผลงานของเขาก็ยังเป็นที่นิยมอยู่
                
         บทละครของ วิลเลียม เชกส์เปียร์ นั้น มีผู้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่าหนังสืออื่น ๆ  เฉพาะที่แปลเป็นภาษาไทยเท่าที่ทราบ มีดังนี้[1] :-
        ๑.  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์เรื่อง Romeo and Juliet เป็นนิทานร้อยแก้ว
        ๒.  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์เรื่อง Comedy of Errors เป็นคำพูดที่ไม่ได้แปลตรง  ทรงเรียกนามว่า หลงใหลได้ปลื้ม
        ๓.  หลวงธรรมาภิมณฑ์ ได้แต่งเรื่อง เวนิสวานิช คำฉันท์ ซึ่งไม่ตรงตามแบบเดิมของเชกส์เปียร์

  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ดังต่อไปนี้
         ๑.  ทรงพระราชนิพนธ์ดัดแปลเรื่อง Othello เป็นละครนอก คือเรื่อง พญาราชวังสัน
         ๒.  ทรงพระราชนิพนธ์ ดัดแปลงเรื่องเดียวกัน เป็น บทเสภาพญาราชวังสัน
         ๓.  ทรงพระราชนิพนธ์ แปล The Merchant of Venice เป็น เวนิสวานิชคำกลอน. ทรงรักษารูปให้เป็นละครเจรจาโต้ตอบกันตามแบบของเชกส์เปียร์
         ๔.  ทรงพระราชนิพนธ์ แปล As you like it เป็น ตามใจท่าน ทรงรักษารูปให้เป็นละครเจรจาโต้ตอบกันตามแบบของเชกส์เปียร์
         ๕.  ทรงพระราชนิพนธ์ แปล Romeo and Juliet เป็น โรเมโอและจูเลียต ทรงรักษารูปให้เป็นละครเจรจาโต้ตอบกันตามแบบของเชกส์เปียร์

ต่อมามีผู้เจริญรอยพระยุคลบาท ในเรื่องต่อไปนี้
       ๑.    ท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล แปลเรื่อง A Midsummer Night’s Dream ให้ชื่อเรื่องว่า     “ฝัน ณ คืนกลางฤดูร้อน
       ๒.    นางรัตนาภรณ์ ยุพิพันธ์ แปลเรื่อง Twelfth Night ให้ชื่อเรื่องว่า ราตรีที่สิบสอง


 

 


 

[1] หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล. งานละครของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม
(พิมพ์คร้งที่ ๑). โรงพิมพ์ ไทวัฒนาพานิชย์ จำกัด. ๒๕๑๘
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล. งานละครของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม(พิมพ์คร้งที่ ๑). โรงพิมพ์ ไทวัฒนาพานิชย์ จำกัด. ๒๕๑๘
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3832เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2005 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชิ้นนี้เป็นงาน ชุดวิชาพัฒนาการวรรณกรรม ทำตอนอยู่ปี 1 ครับ

ยังไงก็ช่วยวิจารณืด้วยครับ

เหลืออีกหลายหัวข้อ วันหลังจะมาโพสอีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท