สุภาษิตไทย


เน้นรักษาสำนวนไทย

 

สุภาษิตไทย

 

น้ำกลิ้งบนใบบอน

ที่มาของสำนวนนี้  

       บอน เป็นไม้ล้มลุก ขึ้นตามชายน้ำหรือที่ลุ่มน้ำขัง ชนิดที่ก้านใบกินได้ ใบใหญ่ใช้ห่อของได้ ใบบอนลื่น ไม่ซับน้ำ หยดน้ำบนใบบอนจึงกลิ้งไปกลิ้งมา

          น้ำ ในที่นี้อาจเปรียบกับน้ำใจ น้ำที่กลิ้งบนใบบอนจึงเหมือนน้ำใจที่กลอกกลิ้ง คือ โลเลไม่แน่นอน

 

 

ความหมายของสำนวนนี้

สำนวนนี้เดิมมักใช้ว่าผู้หญิงที่รักง่ายหลายใจว่าเหมือนน้ำกลิ้งบนใบบอน แต่ปัจจุบันใช้กับผู้ใดก็ได้ที่ใจไม่แน่นอน

 

 

กินปูนร้อนท้อง

ที่มาของสำนวน

: สำนวนนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู )
มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง
จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า  "  ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง 

 

ความหมายของสำนวนนี้

                     จึงนำเอามาเปรียบกับคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า  "  ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง 

 

ที่มา http://www.siamtower.com/supasit/p22.html

หมายเลขบันทึก: 383102เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2010 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันความรู้ภาษาไทยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท