R&D 22-7-53 มูลนิธิข้าวขวัญ


ตัวอย่างที่ดีของการนำความรู้ไปใช้และพัฒนาต่อยอดที่ดีคือชาวนาชัยพร นำไปคิดและปฏิบัติต่อจนเกิดรายได้ขึ้นมาอย่างมาก (ยินดีมากครับ ชาวนาเงินเดือน 60,000 บาท อ่านว่า หกหมื่นบาท รายรับของครอบครัวไม่ต่ำกว่า 150,000 บาท)

มูลนิธิขวัญข้าว

ออกไปเรียนนอกสถานที่ครั้งแรก  ในวันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา หาประสบการณ์ไปเรื่อยๆ การเรียนที่ไม่มีวันสิ้นสุดมูลนิธิขวัญข้าว จ.สุพรรณบุรีมาครั้งแรกในชีวิต ไม่เคยคิดไว้ว่าจะมีโอกาสได้มาเนื่องจากอยู่ในคนละเรื่องกัน งานที่ทำ ครอบครัวไม่มีส่วนไหนยุ่งกันเลย  แต่  ลืมไปว่ายังกินข้าวอยู่.....น่าจะรู้เรื่องข้าวบ้าง  ต้องซื้อ ปลายข้าว รำ รำสกัด น้ำมันรำ อื่นๆที่เกี่ยวกับข้าว พบพี่เดชา(ขอเรียกพี่นะ เพราะพี่-น้อง มหาวิทยาลัยเดียวกัน) มาดสุขุมนุ่มลึกและทีมงาน มาพร้อมกับข้าวต้มมัดที่อร่อยมากๆ  แนะนำตัวกันเรียบร้อยก็เข้าประเด็นในเรื่องของความเป็นไปเป็นมา  ในแนวความคิดที่จะทำนาปลูกข้าว แบบยั่งยืน ใช้ธรรมชาติเข้าช่วย แม่เจ้าเป็นไปได้หรือนี่ที่ทำนาโดยไม่ต้องใช้สารเคมีใดไม่ว่าจะเป็น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี น้ำยานั่น น้ำยานี่ พัฒนาความรู้และวิธีการจนกระทั่งได้ออกมาเป็นแนวปฏิบัติที่ได้ผลและผลลัพธ์ที่ได้ดีกว่าวิธีเดิมมากทั่งในแง่ของผลผลิต ต้นทุน สภาพแวดล้อม ระบบนิเวศน์   ชุดความรู้นี้นำมาจัดตั้งเป็น รร.ชาวนาตั้งแต่ ประถม มัธยม และ มหาวิทยาลัย นำชาวนาที่มีที่นาและนาเช่า ที่มีความทุกข์จากการทำนา แต่มีกระบวนทัศน์ มีความตั้งใจ เข้ามาเรียน ทำจริงๆและนำกลับไปใช้  (ต้องใช้ KM : Knowledge management เข้ามาช่วย)  ผมเข้าไปชมและสัมผัสได้รับความรู้สึกหลายๆด้าน คนที่มีคุณธรรมและธรรมะในหัวใจเป็นผู้ที่ให้มากกว่าผู้รับ และให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ   ดูแล้วพี่เดชาไม่แก่เลย มีความสุขมากๆ

                               กระบวนความคิดที่นำมาต่อยอดมากมาย ทั้งในระบบวิธีการ ตั้งแต่การเตรียมดิน การไถ(เอ!ใช้ควาย ไถนามากๆจะเสร็จทันมั๊ยเนี่ย) การปลูก การให้น้ำ การคัดเมล็ดพันธ์  ตลอดจนถึงการแปรรูปต่างเช่น จมูกข้าว ข้าวกล้องทั้งงอกและไม่งอก  ข้าวสารบรรจุถุงชนิดต่าง คิดเองว่าทำไมไม่นำข้าวสารที่มีลักษณะเด่นๆมารวมและบรรจุถุงขายเป็นชุดๆเลย เช่น  ข้าวสารตรา ขวัญข้าว ชนิด Zn สูง สรรพคุณ ช่วยบรรเทาอาการเครียด เพิ่มความสดชื่น ผิวพรรณสวย ..... เป็นต้น   เลยได้จมูกข้าวและข้าวกล้องมาฝากคุณแม่ด้วยครับ

แถมต่อด้วยภูมิปัญญา ที่นำเอาจุลินทรีย์จากป่าอุดมสมบูรณ์มาเลี้ยงและนำไปใช้ต่อในด้านการทำปุ๋ย และช่วยควบคุมโรค กลุ่มจุลินทรีย์ นี้เป็นกลุ่มใดกันนะน่าจะค้นคว้าต่อเอามาย่อยขยะ และ ส้วมที่บ้าน มูลสัตว์ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คลองเน่าๆใน กทม.ต่อไปได้รึเปล่าหนอ

ตัวอย่างที่ดีของการนำความรู้ไปใช้และพัฒนาต่อยอดที่ดีคือชาวนาชัยพร นำไปคิดและปฏิบัติต่อจนเกิดรายได้ขึ้นมาอย่างมาก (ยินดีมากครับ ชาวนาเงินเดือน 60,000 บาท อ่านว่า หกหมื่นบาท รายรับของครอบครัวไม่ต่ำกว่า 150,000 บาท)  เทคนิคของท่านเหนือล้ำและทันสมัย ทันเหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ที่ไช้ ความเข้าใจระบบน้ำ การคัดพันธ์ข้าว การใช้ปุ๋ย ใช้สมุนไพร การผลิตจุลินทรีย์ ฮอร์โมนและจังหวะการนำไปใช้ ไม่ได้มาง่ายๆนะครับต้องมาจากความเข้าใจมากๆและประสบการณ์ในการทำจริงๆ  ต้องยกให้ ถ้าชาวนามีผู้นำกลุ่มที่ดี และทำนาด้วยกันจริงๆ ผมว่าจะสร้างอำนาจต่อรองได้อย่างมาก   แล้วจะได้เลิกพูดกันเสียทีว่าชาวนายากจน

  

 

หมายเลขบันทึก: 382799เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2010 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 08:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท