สูตรบำบัด


   

بسم الله الرحمن الرحيم

เคมียาอ์ อัสสะอาดะฮ์

كيمياء السعادة

สูตรบำบัดจิตใจให้เป็นสุข

ของท่านหุจญฺตุลอิสลาม  อิมาม  อัลฆ่อซาลีย์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์)  มีชีวิตอยู่ระหว่าง ( 450 – 505 ฮ.ศ.)

นับ ว่าเป็นการดียิ่งในการกล่าวถึงเอกลัษณ์พิเศษในช่วงยุคสมัยของท่านอิมา มอัล-ฆอซาลีย์  ซึ่งท่านเป็นนักปราชญ์ที่โดดเด่นที่สุดในยุคสมัยนั้น  ท่านเป็นนักปราชญ์ที่มีความรอบรู้ในเอกลักษณ์ของยุคสมัยนั้นมากกว่าผู้ใด  โลกอิสลามตั้งแต่ได้กำเนิดอิมามฆอซาลีย์นั้น  เต็มไปด้วยกระแสความคิด  ลัทธิ  กลุ่มนักคิด  เกิดขึ้นมามากมาย  ทั้งๆ  ที่  กระแสความคิดต่างๆ  ได้แพร่หลายในขณะนั้น  ท่านก็สามารถจำแนกกลุ่มนักคิดดังกล่าวออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน

1.   มุตะกัลลิมีน (นักวิภาษนิยม)  กลุ่มที่กล่าวว่า  พวกเขาคือนักคิดและนักวิเคราะห์

2.   อัล-บาฏินียะฮ์  พวกเขาอ้างว่า  พวกเขาคือผู้ที่ได้รับการเรียนรู้และได้รับสิทธิพิเศษในการรับรู้จากบรรดาอิ มามที่ได้รับการปกป้องจากความผิด

3.   อัล-ฟะลาซิฟะฮ์ (นักปรัชญา) พวกเขาอ้างว่า  พวกเขาคือนักตรรกศาสตร์และเป็นผู้ที่มีเหตุผล

4.   อัซ-ซูฟียะฮ์  (กลุ่มนักตะเซาวุฟ) พวกเขากล่าวว่า พวกเขาคือผู้มีคุณสมบัติพิเศษในการผู้พันธ์กับพระเจ้า  เป็นผู้เพ่งพิศและแจ้งประจักษ์

แนวคิดทั้ง 4 นี้  ได้มีได้อิทธิพลเป็นอย่างมากในสมัยของอิมามอัล-ฆอซะลีย์  ความจริงแล้ว  ในขณะที่ท่านอิมามอัล-ฆอซาลีย์ได้ทำการวิเคราะห์ท่านได้ค้นพบว่า  กระแสความคิด  ความแตกต่างในการใช้สติปัญญา  อารยะธรรมในสมัยของท่าน  ทำให้สังคมอิสลามอยู่ในสภาพวะแห่งความตกต่ำและเสื่อมโทรม  ทั้งในด้านความคิด  และพฤติกรรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  กระแสความคิด  ความปรารถนาที่อิสระอย่างไร้ขอบเขตเหล่านี้   ได้แพร่หลายในบางกลุ่มของซูฟีย์และพวกบาฏินียะฮ์   ส่วนนักปรัชญานั้น  พวกเขาได้อาศัยอยู่อย่างเอกเทศน์  ซึ่งพวกเขามีความเห็นว่า  ศาสนานั้นเป็นเรื่องที่เฉพาะสำหรับมหาชนส่วนใหญ่  ซึ่งเป็นเหตุทำให้พวกเขาไม่เอาจริงเอาจังกับข้อบังคับของบทบัญญัติ   ส่วนนักการศาสนาในยุคนั้น  พวกเขาชอบทำตัวเป็นแบบอย่างที่น่าตำหนิต่อมวลมนุษย์ในการละเลยต่อบทบัญญัติ ตามคำสอนของอิสลาม  พวกเขาต่างโยนตัวเองให้อยู่ภายใต้การโอบอุ้มของกษัตริย์และผู้นำ  และทำการยึดติด  ประจบบารมีของผู้นำเหล่านั้น  พวกเขามิได้แสวงหาความรู้เพื่อความหยั่งรู้  แต่พวกเขานำเอาวิชาความรู้เพื่อเป็นสื่อในการภักดีต่อผู้มีอำนาจปกครอง  นอกจากผู้ที่อัลเลาะฮ์ทรงเมตตาเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากสิ่งดังกล่าว  ความจริงท่านอิมามอัล-ฆอซาลีย์ได้ทำการวิเคราะห์จากพลังแห่งความคิดในเชิง บวกที่สามารถเผชิญต่อพลังความคิดเชิงลบที่เหลวไหล  แต่ทว่าท่านไม่พบสิ่งใดเลยจากการวิเคราะห์อันนี้  นอกจากแนวทางของซูฟีย์ (นักปราชญ์ตะเซาวุฟ)  ดังนั้น  นายแพทย์ต่างก็ป่วยเสียเอง  และผู้ที่ขาดสิ่งหนึ่ง  เขาก็ย่อมให้สิ่งนั้น  กับผู้อื่นไม่ได้  ซึ่งความจริงโรคร้ายได้แพร่ระบาด  แต่บรรดานายแพทย์กลับเจ็บป่วยเสียเอง  มนุษย์คงใกล้จะพินาศเป็นแน่แท้

เนื้อหาสำคัญของหนังสือเล่มนี้

คำ ว่า “เคมียาอ์ อัสสะอาดะฮ์”  หมายถึง “การขัดเกลาจิตใจให้พ้นจากสิ่งบรรดาสิ่งที่ไม่ดีและประดับประดาจิตใจด้วย คุณลักษณะที่ดีงาม”  หนังสือเคมียาอฺ อัสสะอาดะฮ์  ที่เป็นตัวบทภาษาอาหรับนั้น  ได้ชี้นำทางให้มนุษย์ไปสู่หนทางที่ผาสุก  สอนพวกเขาให้รู้ถึงวิธีบำบัด  ขัดเกลา  และชำระจิตใจ  ให้พ้นจากจรรยาที่น่าตำหนิ  โดยประดับประดาด้วยคุณลักษณะของมะลาอิกะฮ์  หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงการรู้จักของจิตใจ  รัตถะของหัวใจ  วิทยาปัญญาในการสร้างสรรค์  รู้จักไพร่พลของจิตใจ  จะอธิบายถึงกรณีต่างๆ  ที่เป็นพื้นฐานบ่อเกิดแห่งความผาสุก  พูดถึงความน่าทึ่ง  และสภาวะของจิต  การหยั่งรู้โลกที่เร้นลับและอื่นๆ  หนังสือเล่มนี้  ท่านผู้อ่านได้โปรดอ่านมันให้จบ  เนื่องจากเนื้อเรื่องแต่ละตอนนั้น  มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างยิ่ง   ท่านอิมามอัล-ฆอซะลีย์  ได้ร้อยเรียงบทย่อยต่างๆ  เป็นลำดับขั้นตอนไว้อย่างน่าประทับใจเลยทีเดียว  หนังสือเล่มนี้เหมาะสมกับผู้ที่มีตะเซาวุฟระดับปานกลางขึ้นไป   ผู้ที่มีตะเซาวุฟระดับพื้นฐาน  อาจจะไม่เข้าใจในบางคำพูดของท่านอิมามฆอซาลีย์  ซึ่งผมจะทำการอธิบายแบบย่อๆ ไว้ในภาคผนวก  เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีความเข้าใจยิ่งขึ้น   แต่ผมขอแนะนำให้ท่านอ่านหนังสือเล่มนี้หลายๆ จบ  เพราะการอ่านแต่ละจบนั้น  ความเข้าใจของท่านจะเพิ่มขึ้นมาอัตโนมัติ   หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่อ่านเพื่อประดับความรู้  แต่เพื่อนำมาบำบัดจิตใจของเราที่เป็นอยู่  ขออัลเลาะฮ์ทรงโปรดชี้นำเราและท่านผู้อ่านด้วยเทอญ 

หนังสือเล่มนี้   มีหลายบทย่อยด้วยกัน  คือ

- การรู้จักตัวเอง

-  ท่านจะรู้จักตัวของท่านเองได้อย่างไร?

-  อะไรคือแก่นแท้ของหัวใจ?

-  เพราะเหตุใดจึงสร้างหัวใจ?

-  การรู้จักไพร่พลของหัวใจ

-  การรู้จักหัวใจและไพร่พลของมัน

-  หน้าที่ของหัวใจ

-  สามประการที่ก่อให้เกิดสุข

-  สภาวะของหัวใจที่อยู่กับไพร่พลของมัน

-  จรรยาที่น่าสรรเสริญและน่าตำหนิ

-  รูปธรรมต้องตามนามธรรมหรือไม่?

-  ความมหัศจรรย์ของหัวใจ

-  หัวใจประดุจดังกระจกเงา

-  เมื่อใดหัวใจจึงถูกปิดกั้นจาการแลเห็นโลกที่เร้นลับ?

-  เมื่อใดหัวใจจะแลเห็นโลกที่เร้นลับ?

-  ผู้ที่แสวงหาเขาย่อมประสบ

-  อะไรคือความปีติที่สุดของหัวใจ?

-  ชีวิตเป็นภาพย่อมาจากโลก

-  การรู้จักส่วนประกอบของร่างกายในเชิงภายภาพศาสตร์

-  โครสร้างของมนุษย์

-  เมื่อใดสัตว์เดรัจฉานมีความประเสริฐกว่ามนุษย์

คำสำคัญ (Tags): #การบำบัด
หมายเลขบันทึก: 382758เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2010 01:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท