การปกครอง


ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภาพแสดงการพัฒนาการของระบอบประชาธิไตยไทย

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (อังกฤษ: democratic form of government with the King as Head of State[1]) เป็นชื่อเรียกระบอบการปกครองในประเทศไทย ที่รวมเอาทั้งรูปแบบการปกครอง (อังกฤษ: form of government) ประเภทประชาธิปไตยโดยมีรัฐสภา (อังกฤษ: parliamentary democracy) กับรูปแบบรัฐ (อังกฤษ: form of state) ประเภทการปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (อังกฤษ: constitutional monarchy[2] ) ไว้ในคำเดียวกัน โดยมีการใช้คำ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เช่นนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 แล้ว[3]

ภายในระบอบการปกครองเช่นนี้ของประเทศไทย อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน พระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขแต่ในทางพิธีการ กล่าวคือ เป็นพิธีการที่ทรงบริหารอำนาจอธิปไตยแทนปวงชนโดยแบ่งแยกอำนาจนั้นเป็นสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังสภานิติบัญญัติที่เรียก "รัฐสภา" ฝ่ายบริหาร อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังกลุ่มผู้บริหารสูงสุดที่เรียก "คณะรัฐมนตรี" และฝ่ายตุลาการ อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังศาลทั้งหลาย ซึ่งมีสามประเภท คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ แต่ความจริงแล้ว องค์กรเหล่านั้นเป็นปวงชนหรือผู้แทนของปวงชนที่บริหารอำนาจด้วยตนเองเพื่อ ประโยชน์ของปวงชนและโดยการควบคุมของปวงชน ส่วนพระมหากษัตริย์เป็นแต่เชิดให้กิจการดำเนินไปด้วยดีตามพระราชภารกิจทาง พิธีการที่รัฐธรรมนูญมอบให้เท่านั้น[4]

สำหรับพระมหากษัตริย์นั้น ตามรัฐธรรมนูญแล้ว มีพระราชสถานะที่ได้รับการเคารพสักการะ (อังกฤษ: revered worship) และไม่อาจทรงถูกละเมิดได้ (อังกฤษ: inviolable) กับทั้งผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้เลย ตามหลักที่ว่า "พระมหากษัตริย์ไม่อาจทรงทำผิด เพราะพระมหากษัตริย์ไม่อาจทำอะไรได้เลย" (อังกฤษ: the King can do no wrong, for the King can do nothing) หรือหลักที่ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงปกเกล้า แต่ไม่ทรงปกครอง" (อังกฤษ: reign but not rule) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีการลงนามสนองพระบรมราชโองการทุกครั้งไป โดยรัฐบาล หรือรัฐสภาเพื่อ "อนุมัติ" ให้พระมหากษัตริย์ทรงกระทำได้ผ่านสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ มิใช่โดย"พระองค์เอง" การละเมิดหลักการสำคัญนี้ ถือเป็นการทำลายรากฐานของระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐ ธรรมนูญ การกระทำดังต่อไปนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การพระราชทานพระราชดำรัสสด โดยไม่มีการลงนามสนองพระบรมราชโองการในร่างพระราชดำรัส และการแต่งตั้งตำแหน่งใดๆ โดยพระองค์เอง เช่น การแต่งตั้งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ให้เป็นผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารในการรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ใน พ.ศ. 2500 ที่มีพระบรมราชโองการโดยไม่มีผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ ทั้งนี้ การประกาศพระบรมราชโองการดังกล่าว ถือเป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2494 ซึ่งในขณะนั้นคณะรัฐประหารยังมิได้ยกเลิกไปด้วย นอกจากนั้น ยังทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ซึ่งเป็นตำแหน่งแต่ทางพิธีการ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก (อังกฤษ: Defender of all Faiths) ด้วย

จะเห็นได้ว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไทย มีความผสมผสานระหว่างรากวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และวัฒนธรรมการปกครองสมัยใหม่อย่างระบอบประชาธิปไตยทั้งมีผู้แทน ในรัฐสภา

คำสำคัญ (Tags): #ระบอบการปกครอง
หมายเลขบันทึก: 382753เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2010 00:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท