แนวทางพัฒนาชุมชน วิวาทะกับเพื่อนเก่า


การรู้ว่าองค์กรชุมชนมีจริงหรือไม่ โดยไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เท่ากับไม่รู้
เมื่อวาน(12ก.ย.)ผมไปร่วมงานศพอ.เปลื้อง คงแก้วที่จ.ตรัง ได้คุยกับคุณอัมพร แก้วหนู ผู้จัดการพอช.สำนักงานภาคใต้ (เป็นเพื่อนรุ่นพี่ที่สนิทกันตั้งแต่เรียนอยู่ที่มอ.) เรื่องงานพัฒนาชุมชน     เรามองเห็นสถานะการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่คล้ายกัน แต่มุมมองในการเข้ามีส่วนร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลงเหลื่อมซ้อนกัน
ประเด็นแรกคือ ข้อมูลองค์กรชุมชน เราเห็นพ้องกันว่า ไม่ชัดเจน ซึ่งผมเห็นว่า การทำให้ชัดเจนอย่างต่อเนื่องใช้ต้นทุนสูงมากและเกิดประโยชน์น้อย ควรมุ่งที่การพัฒนากลุ่มสนใจอย่างเป็นระบบตามแนวทางการจัดการความรู้ ผมเสนอแนวทางจัดทำระบบมาตรฐานชุมชน(มชช.)ของกรมการพัฒนาชุมชน โรงเรียนชาวนาของกรมส่งเสริมการเกษตร และกลุ่มเรียนรู้ของกศน. เป็นเครื่องมือ ผมเห็นว่า การรู้ว่าองค์กรชุมชนมีจริงหรือไม่ โดยไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เท่ากับไม่รู้  อย่ากระนั้นเลย จับองค์กรชุมชนที่สามารถเข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลงได้    ดีกว่า
ประเด็นที่สอง เรื่องวิธีการ ผมเห็นว่า ควรให้ความสำคัญกับหน่วยสนับสนุนและแกนนำองค์กรชุมชนตามแนวคิด นักเรียนจัดการความรู้ในบทบาทคุณกิจ คุณอำนวยและคุณเอื้อในมหาวิทยาลัยจัดการความรู้เพื่อชุมชน(gotoknow.org/acwu) การต่อตรงกับชุมชนแบบNGOหรือนักวิจัย แม้ว่าจะทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น แต่เกิดผลกระทบน้อย

ผมกับพี่ทวย(อัมพร แก้วหนู)เคยร่วมอยู่ในกลุ่มศึกษาตามอัธยาศัยทุกวันศุกร์ที่มอ. พวกเรา4-5คนเขียนเรื่องที่ตนเองสนใจ จากนั้นดูว่าเรื่องไหนตรงกันมากที่สุด นำมากำหนดเป็นประเด็นพูดคุยทุกวันศุกร์โดยปิดประกาศแจ้งให้ผู้สนใจทั่วไปทราบ
ก่อนถึงวันพูดคุย แต่ละคนไปทำการบ้านมา ตอนกลางคืนประมาณทุ่มนึงเป็นต้นไป เริ่มรายการ   คุยกันหน้าชมรมอาสา ใครสนใจก็มาร่วมวงฟัง แลกเปลี่ยนความเห็นได้
20 กว่าปีผ่านมา เราก็วนเวียนพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันตามวิถีทางที่เราเลือก ที่เรารัก
หมายเลขบันทึก: 3819เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2005 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

lสวัสดีค่ะ km4fc

           ได้อ่านวิวาทะว่าด้วยเรื่อง ชุมชน กับเพื่อนเก่าแล้ว จึงจะขอพูดถีงเรื่องที่เกี่ยวๆกันบ้าง

            ขณะนี้เรื่องการออม และเรื่องกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติกำลังเป็นเรื่องสำคัญที่มีข่าวลง น.ส.พ.และสื่ออื่นๆทุกวัน   และเคยจำได้ว่า km4fc เคยกล่าวถีงตัวเลข 12 ล้านคนเอาไว้ ขอขยายความเพิ่มว่าเป็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างระบบความคุ้มครองสำหรับแรงงานในระบบการจ้างงาน ให้แก่แรงงาน 12 ล้านคน เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีภายหลังวัยทำงาน ซึ่งสามารถทำได้ ด้วย 12 ล.คน นั้นอยู่ในระบบมีความพร้อมหลายๆประการ

           แต่น่าคิดว่าคนที่ไม่อยู่ในระบบการจ้างงาน เป็นคนทำงานอิสระ เป็นเกษตรกร เป็นคนไม่มีนายจ้าง จะจัดระบบให้อย่างไรดี

            ก็เลยมาคิดได้ว่าระบบชุมชน น่าจะเป็นกลไกในเรื่องนี้ได้ และโดยเฉพาะในชุมชนที่มีการจัดทำกลุ่มการออม เพราะมีการจัดสวัสดิการอยู่แล้ว เรามาหาทางขยายความคิดเรื่องระบบบำเหน็จบำนาญให้กับคนกลุ่มนี้โดยกลไก ชุมชนกันดีกว่า เพื่อเป็นการสร้างตาข่ายความคุ้มครองมิให้ผู้ที่พ้นวัยทำงานในกลุ่มนี้ที่มีมากกว่า 20 ล.คน จะได้อยู่ดีมีสุขตามอัตภาพ ช่วยกันคิดค่ะ 

ตรงเผงเลยครับ ผมอ่านหนังสือเงินตราแห่งอนาคต ผู้เขียนให้ข้อมูลจากสถิติว่า ประชากรสูงอายุจะเป็นประเด็นหลักที่กระทบต่อการมุ่งไปสู่สังคมอุดมสมบูรณ์ที่ยั่งยืน
การจัดระบบการออมด้วยแนวคิดสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาททำสวัสดิการภาคประชาชนของครูชบ ยอดแก้ว เป็นนวัตกรรม  ที่ล้ำเลิศ นอกจากนี้ครูชบยังพูดถึงทุนอื่น ๆในชุมชนอีก 6 ทุน   ซึ่งผมคิดว่าสามารถนำมาพัฒนาเป็นระบบเงินตราอนาคตเสริมระบบเงินตราในปัจจุบันเพื่อแก้ปัญหาสังคมประชากรผู้สูงอายุ อีกทางหนึ่งด้วย แต่ผมคิดวิธีการไม่ออก ต้องพึ่งปัญญาครูชบ  ยอดแก้วทำภาค 2 ต่อจากการออมทุนเงินตราด้วยการลดรายจ่ายวันละ 1 บาทแล้วละครับ


ผมยังหาBlogพี่ไม่เจอเลยครับ

สวัสดีค่ะ

         ยังไม่ค่อยคุ้น บางทีก็หาไม่เจอเหมือนกัน ดังนั้นเมือวานนี้เลยเขียนเรื่องที่อยากเขียน ลงในข้อคิดเห็นแทน และ เวลาหาบล็อกของคุณภีม P'Sue ก็ใช้วิธีหลายวิธี ที่แน่ๆคือเอารูปมือไปคลิกตรงที่มีเรื่องของคุณ

         ตอนนี้ยุ่งสุดๆเพราะพรุ่งนี้ 15 กย.ต้องเสนอผลการศึกษาเรื่อง ความเหมาะสมของระบบการออมเพื่อสวัสดิการและการชราภาพโดยใช้ชุมชนเป็นกลไกดำเนินการ แล้วจะเล่าในblockค่ะ 

                                                          P"SUE

เรื่องที่พี่กำลังทำอยู่สำคัญมาก เป็นการทำเพื่อเตรียมรับอนาคตมีความคืบหน้าอย่างไร เปิดBlogคุยเรื่องนี้โดยตรงให้ผู้สนใจ      ทั่วไปรับรู้และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท