โครงการระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ (Healthy Systems, Healthy Shool)


ระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ

โครงการระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ (Healthy Systems, Healthy Shool)
            โครงการระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ ได้นำแนวการพัฒนาการทำงานเชิงระบบมาใช้ในการดำเนินงานของโรงเรียน โดยต่อยอดจากการดำเนินงานของโรงเรียนที่มีต้นทุนการพัฒนาที่ดีจากการดำเนินการตามโครงการต่างๆ และใช้เทคนิคการเทียบระดับ (Benchmarking) มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา โดยจัดโรงเรียนในโครงการ จำนวน 209 โรงเรียน เป็น 25 เครือข่าย มีนักวิจัยจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเครือข่าย และเยี่ยมนิเทศโรงเรียน เพื่อร่วมพัฒนางานให้มีคุณภาพ โดยสนับสนุนให้โรงเรียนดำเนินการพัฒนางานที่สามารถทำได้ดีอยู่แล้ว ให้เป็นระบบพร้อมที่จะให้โรงเรียนอื่นๆ ในเครือข่ายมาเรียนรู้ เรียกว่า ระบบให้ (Give) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงงานที่ยังเป็นจุดด้อยของโรงเรียนให้โดยใช้เทคนิคการเทียบระดับให้เป็นระบบดียิ่งขึ้นเรียกว่า ระบบรับ (Take) การดำเนินการพัฒนางานในลักษณะนี้มีความเชื่อว่า จะเกิดการพัฒนาได้อย่างรวดเร็วในลักษณะก้าวกระโดดกว่าการพัฒนางานในสภาวะปกติของการดำเนินงานโครงการต่างๆ 
                                                 

       ซึ่งโครงการมีการดำเนินการ 3 ระยะ  เริ่มจากโครงการในระยะที่ 1 (ดำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว)  โดยมีวัตถุประสงค์  1. เพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นทุน ซึ่งมีระบบหลักหรือระบบสนับสนุนที่ดีให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ (Best  in Class) ของระบบที่ดี (Best Practice)  และ  2. เพื่อให้โรงเรียนได้เรียนรู้การพัฒนาระบบต่างๆ กับโรงเรียนต้นแบบผ่านกระบวนการเทียบเคียงวิธีการที่หลากหลาย และมีเป้าหมายในการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบระบบจำนวน 200 โรงเรียน  

ผลการดำเนินงานโครงการในระยะที่ 1
1. โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 209 โรงเรียน สามารถพัฒนาระบบหลักหรือระบบสนับสนุนที่ดีได้ทุกโรงเรียน และมีศักยภาพพร้อมขยายผลให้กับโรงเรียนอื่น ๆ ได้ จำนวน 60 โรงเรียน
2. การดำเนินงานโดยใช้การเทียบระดับใน 25 เครือข่าย สามารถคัดเลือก วิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของระบบต่างๆ ในการดำเนินงานในโรงเรียน มาได้จำนวน 25 เรื่อง
3. โรงเรียนสามรถดำเนินการตามขั้นตอนการเทียบระดับ ตามที่โครงการกำหนดได้ โดยสามารถพัฒนาระบบต่างๆ อยู่ในระดับ พอใช้ และมีบางระบบที่โรงเรียนสามารถดำเนินการได้ในระดับ ดี ได้แก่ ระบบเรียนรู้ และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทั้งการพัฒนาระบบให้ (Give)  และการปรับปรุงระบบรับ (Take) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโรงเรียนต่างๆ เห็นความสำคัญของการจัดการความรู้ และดูแลช่วยเหลือให้นักเรียนมีสุขภาวะและคุณลักษณะที่ดีตามมาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
4. ผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจอย่างยิ่งต่อการดำเนินการตามกระบวนการเทียบระดับ (Benchmarking)  เพราะมีวิธีการชัดเจนทั้งผู้ปฏิบัติและผู้ติดตามงาน ทำให้โรงเรียนสามารถทราบข้อมูลในการพัฒนาของโรงเรียนในเครือข่าย ได้เปรียบเทียบวิธปฏิบัติที่ดีที่สุดกับสิ่งที่ตนเองปฏิบัติทำให้เห็นช่องว่างหรือโอกาสในการพัฒนาให้ดีขึ้น
        ตัวอย่าง   โรงเรียนที่เป็น Best Practice ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่ โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์, โรงเรียนอนุบาลยะลา, โรงเรียนเบญจมานุสรณ์  และกลุ่มโรงเรียน หมู่บ้าน 40 ปี มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์    
Best Practice ระบบการเรียนรู้ ได้แก่ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนขามทะเลสอวิทยา นครราชสีมา เป็นต้น
      สำหรับโครงการที่จะดำเนินการต่อในระยะที่ 2  คือ 1. พัฒนาโรงเรียนต้นแบบจำนวน 200 โรงเรียนภายใน 1 ปี  2. พัฒนาโรงเรียนให้เป็น Critical Mass ของการพัฒนาเชิงระบบภายใน 2 ปีต่อไป ซึ่ง ปีที่ 1 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเป็น Healthy School   2,000 โรงเรียน และ ปีที่ 2  สร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเป็น Healthy School   4,000 โรงเรียน  และ 3. เกิดการขยายผลไปสู่โรงเรียน ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานภายใน 3 ปีต่อไป 
     โครงการในระยะที่ 3 คือ โรงเรียนเครือข่าย 6,000 โรงเรียน ขยายผลผ่านวิธีการต่างๆ เกิดการขยายผลไปสู่โรงเรียนในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป
สามารถหาอ่านและศึกษาได้ในรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ โครงการระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ ระยะที่ 1 (Healthy Systems, Healthy Shool)  และ โครงการระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ (Healthy Systems, Healthy Shool)  ระยะที่ 2  ปีที่ 1 (กรกฎาคม 2548-มิถุนายน 2549)  ซึ่งถือว่าเป็นผลงานวิจัยที่ดีและมีคุณภาพ ควรแก่การศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในแวดวงทางการศึกษาและวิจัย

                                                     
           โดย นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ และคณะสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ (สวร.)
                  ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกิงทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3817เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2005 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 โรงเรียนที่เป็น Best Practice ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่ โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์, โรงเรียนอนุบาลยะลา, โรงเรียนเบญจมานุสรณ์  และกลุ่มโรงเรียน หมู่บ้าน 40 ปี มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์    
Best Practice ระบบการเรียนรู้ ได้แก่ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนขามทะเลสอวิทยา นครราชสีมา เป็นต้น.........


 

ศิริชัย อุดมทรัพย์

ขอความอนุเคราะห์โครงการระบบดีโรงเรียนทีคุณภาพ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการโรงเรียนครับ  ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท