รายละเอียดประวัติ ห้องสมุดโรงเรียนนครไทย


ประวัติห้องสมุดโรงเรียนนครไทย

โครงการ “พัฒนาห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบในโรงเรียนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๕๕ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”

**************************

หลักการและเหตุผล  

                        ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายในการพัฒนาห้องสมุดทุกแห่งให้เป็นห้องสมุด ๓ ดี คือ หนังสือดี บรรยากาศดี และบรรณารักษ์ดี ดังนั้น เพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณลักษณะดังกล่าวสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน      จึงร่วมมือกับสำนักงานอุทยานการเรียนรู้  สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึ่งได้เคยมีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนมาตั้งแต่ ปีงบประมาณ ๒๕๕๑ โดยจัดทำโครงการ “พัฒนาห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบในโรงเรียน”        ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว ๒ รุ่น จำนวน ๒๒ โรงเรียนจาก ๒๑ จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขยายแนวคิดแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบอุทยานการเรียนรู้ (TK park) หรือห้องสมุด    มีชีวิตสู่โรงเรียน และเพื่อเป็นแบบอย่างและแนวทางในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนเป็นห้องสมุดมีชีวิต โดยกระตุ้นให้โรงเรียนและชุมชนเห็นความสำคัญของห้องสมุดมีชีวิต         ในโรงเรียนในการเป็นแหล่งเรียนรู้และปลูกฝังส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้       อย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนไทย จากผลการดำเนินโครงการดังกล่าวได้ประสบผล   สำเร็จตามวัตถุประสงค์เป็นอย่างดียิ่ง เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการปรับปรุงและพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบในโรงเรียนตามโครงการดังกล่าวไปขยายผล ประกอบกับปีนี้เป็นปีมหามงคลเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี            ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕๕ พรรษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้จัดทำโครงการ “พัฒนาห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบในโรงเรียนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๕๕ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี ๒๕๕๓ ร่วมกับสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ เพื่อดำเนินการขยายผลการพัฒนาห้องสมุด        มีชีวิตต้นแบบในโรงเรียนเพิ่มขึ้นอีก ๕๕ โรงเรียนใน ๕๕ จังหวัดทั่วประเทศ รวมกับรุ่นที่ ๑ และ ๒ ที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะทำให้มีโรงเรียนตัวอย่างห้องสมุดมีชีวิตครบทุกจังหวัด ๆ ละ ๑ โรงเรียน

                                ดังนั้น  เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นผลการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมจึงควรให้มีการดำเนินงานตามกิจกรรมที่กำหนดในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง ๗๖ โรงเรียน โดยมุ่งพัฒนาทั้งด้านบรรยากาศ สื่อส่งเสริมการอ่าน และบาบาทของครูบรรณารักษ์ต่อไป

                                                                                                            วัตถุประสงค์ ...

 

วัตถุประสงค์

                        ๑. เพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนเป็นห้องสมุดมีชีวิตในลักษณะอุทยานการเรียนรู้ที่มีคุณสมบัติครบ ๓ ดี คือ หนังสือส่งเสริมการอ่านดี บรรยากาศดี และครูบรรณารักษ์ดี

                        ๒. เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมดำเนินการ

                        ๓. เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีนิสัยรักการอ่านการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ในโรงเรียนและชุมชน

เป้าหมาย

                        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

                        ๑. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ “พัฒนาห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบในโรงเรียน” (ประจำปี ๒๕๕๑ และประจำปี ๒๕๕๒) จำนวน ๒๒โรงเรียน ใน ๒๑ จังหวัด

                        ๒. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่ยังไม่มีห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ “พัฒนาห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบ           ในโรงเรียนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๕๕ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” (รุ่นที่ ๓ ประจำปี ๒๕๕๓) จำนวน ๕๕ โรงเรียนใน ๕๕ จังหวัด

วิธีดำเนินการ 

                        ๑. ประชุมหารือ วางแผนและแนวทางการดำเนินงานในเบื้องต้นร่วมกันระหว่างสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาและสำนักงานอุทยานการเรียนรู้

                        ๒. ขออนุมัติโครงการตามแนวทางการวางแผนดำเนินงานที่กำหนดร่วมกัน

                        ๓. ประกาศรับสมัครโรงเรียนเข้าร่วมโครงการตามเกณฑ์ที่กำหนด

                        ๔. คัดเลือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/โรงเรียนเข้าร่วมโครงการตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

                        ๕. ประสานงานกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการให้จัดเตรียมบุคลากร สถานที่และจัดหาทรัพยากรในการพัฒนาห้องสมุด

                        ๖. ร่วมกับสำนักงานอุทยานการเรียนรู้จัดอบรม ครั้งที่ ๑ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแนวคิดและแนวทางการบริหารจัดการห้องสมุดมีชีวิตให้แก่ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการ

                                                                                                             ๗. ร่วมกับ ...

 

 

                        ๗. ร่วมกับสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ลงพื้นที่จริงเพื่อสำรวจ รวบรวมข้อมูล ให้คำปรึกษาแนะนำและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

                        ๘. ร่วมกับสำนักงานอุทยานการเรียนรู้จัดอบรม ครั้งที่ ๒ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแนวคิดและแนวทางการปฏิบัติงานห้องสมุดมีชีวิตด้านต่าง ๆ ให้แก่ครูบรรณารักษ์ หรือ      ครูที่ทำหน้าที่ครูบรรณารักษ์และผู้ช่วยครูบรรณารักษ์

                        ๙. ร่วมกับสำนักงานอุทยานการเรียนรู้จัดอบรม ครั้งที่ ๓ เพื่อพัฒนาแนวคิดและทักษะการส่งเสริมการเรียนรู้ การสร้างสรรค์และจินตนาการศิลปะให้แก่ครูบรรณารักษ์ หรือครูที่ทำหน้าที่ครูบรรณารักษ์และครูศิลปะของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

                        ๑๐. โรงเรียนนำแนวทาง ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการอบรม  การให้คำปรึกษาแนะนำ และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นไปปรับปรุงและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการพัฒนาห้องสมุดให้มีชีวิตในโรงเรียน

                        ๑๑. ร่วมกับสำนักงานอุทยานการเรียนรู้จัดอบรมครูแกนนำบรรณารักษ์และยุวบรรณารักษ์ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 

                        ๑๒. ร่วมกับสำนักงานอุทยานการเรียนรู้จัดประชุมปฏิบัติการสรุปผล         การดำเนินโครงการ

                        ๑๓.  โรงเรียนทุกแห่งเปิดให้บริการห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบในโรงเรียน ปี ๒๕๕๓

                        ๑๔. โรงเรียนจัดทำรายงานสรุปและประเมินผลการดำเนินงานให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามลำดับชั้น

งบประมาณ  (ในส่วนที่ สพฐ. รับผิดชอบ)

                        การดำเนินโครงการ “พัฒนาห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบในโรงเรียนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๕๕ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี ๒๕๕๓ ใช้งบประมาณส่วนกลาง เป็นเงินทั้งสิ้น ๔,๖๑๐,๓๐๐ บาท (สี่ล้านหกแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยบาทถ้วน)           โดยมีกิจกรรม  ดังนี้

                   กิจกรรมที่ ๑ ประชุมปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแนวคิดและแนวทางการบริหารจัดการห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

                   กิจกรรมที่ ๒ ประชุมปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแนวคิดและแนวทาง การปฏิบัติงานห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียนด้านต่าง ๆ

                   กิจกรรมที่ ๓ ประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวคิดและทักษะการส่งเสริมการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ และจินตนาการศิลปะ

                                                                                      กิจกรรมที่ ๔ ...

 

 

                   กิจกรรมที่ ๔ ประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูแกนนำบรรณารักษ์และ             ยุวบรรณารักษ์ห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

                   กิจกรรมที่ ๕ ประชุมปฏิบัติการเพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการ

                    กิจกรรมที่ ๖ การสำรวจ รวบรวมข้อมูล การให้คำปรึกษา แนะนำ  การติดตาม     การประสานงาน และร่วมพิธีเปิดห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบในโรงเรียน

หมายเหตุ   ขอถัวจ่ายทุกรายการ                                                                 

 

ระยะเวลาดำเนินการ

                        พฤษภาคม – กันยายน  ๒๕๕๓

 

สถานที่ดำเนินการ

                        - กิจกรรมที่ ๑ – ๕ โรงแรมแกรนด์ เดอ วิลล์ (วังบูรพา) ถนนมหาไชย เขตพระนคร   สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) และอาคารดับเบิ้ลเอ บุ๊คส์ ทาวเออร์

                        - กิจกรรมที่ ๖ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ประจำปี ๒๕๕๓ จำนวน ๕๕ โรงเรียน

 

การติดตามและประเมินผล

                        ๑. ร่วมกับสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ เพื่อติดตาม ประสานงาน และให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

                        ๒. ประเมินผลจากแบบประเมินผลของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

                                    - แบบสอบถามจากการอบรม

                                    - แบบสอบถามสรุปและประเมินผล

                                    - รายงานผลการดำเนินงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                        ๑. มีห้องสมุดโรงเรียนที่ได้รับการพัฒนาขยายผลให้เป็นห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบในลักษณะอุทยานการเรียนรู้ เพิ่มขึ้น จำนวน ๕๕ แห่ง

                        ๒. มีต้นแบบห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งการศึกษา ดูงานเกี่ยวกับการปลูกฝังการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ให้แก่ครู เด็กและเยาวชน โรงเรียน และชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง

 

                                                                                                            ๓. เด็ก ...

 

 

 

                        ๓. เด็ก เยาวชน ครู และประชาชนทั่วไปได้รับการส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่าน และการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต

                        ๔. มีกระบวนการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยใช้ประโยชน์จากห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

                        ๑. กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมวิทยบริการ  สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก   เขตดุสิต กทม.  โทร. ๐ ๒๒๘๘ ๕๗๓๐ – ๒ โทรสาร ๐ ๒๒๘๘ ๕๗๓๐  

                        ๒. สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park)  อาคารเซ็นทรัลเวิล์ด แขวงวังใหม่   เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โทร.๐ ๒๒๕๗ ๔๓๐๐ และ ๐ ๒๒๕๗ ๔๓๕๗ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : [email protected]

 

หมายเลขบันทึก: 380663เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2010 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท