ค่านิยมหลัก กับ หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล


ค่านิยมหลัก กับ หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

"ค่านิยมหลัก กับ หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล"

ค่านิยมหลักที่สะท้อนถึงพฤติกรรมขององค์กรที่เป็นเลิศและเป็นพื้นฐานของคำถาม หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล มีดังต่อไปนี้...

การให้ความสำคัญกับพนักงานและคู่ความร่วมมือ

การเรียนรู้ขององค์กรและของแต่ละบุคคล

ภาพรวม หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

การเรียนรู้ของบุคลากรและการสร้างแรงจูงใจ

การให้ความสำคัญกับพนักงานและคู่ความร่วมมือ

ในความหลากหลายของภูมิหลัง ความรู้ ทักษะ ความคิดสร้างสรรค์และแรงจูงใจของบุคลากรและคู่ค้าทั้งหมดมีผลมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อความสำเร็จขององค์กร การให้ความสำคัญกับบุคลากร หมายถึง การมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้บุคลากรมีความพึงพอใจ มีการพัฒนาและมีความผาสุก ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติงานที่มีความยืดหยุ่นและมีผลการดำเนินการที่ดีที่ปรับให้เหมาะสมกับสถานที่ทำงานและชีวิตครอบครัวที่มีความแตกต่างกัน ความท้าทายที่สำคัญในการให้ความสำคัญกับบุคลากร มีดังนี้...

การแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้นำองค์กรที่มีต่อความสำเร็จของพนักงาน

การยกย่องชมเชยบุคลากรที่มีมากกว่าการให้ค่าตอบแทนตามปกติ

การสนับสนุนการพัฒนาและความก้าวหน้าของบุคลากร

การแบ่งปันความรู้ขององค์กรเพื่อให้บุคลากรสามารถให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและสนับสนุนให้ องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้บุคลากรคิดกล้าทำและมีนวัตกรรม

การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนบุคลากรที่หลากหลาย

องค์กรต้องสร้างความร่วมมือกันทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าประสงค์ อาจโดยการแบ่งปันความรู้ ซึ่งความร่วมมือภายในและภายนอกจะก่อให้เกิดการพัฒนาวัตถุประสงค์ในระยะยาวได้

การเรียนรู้ขององค์กรและของแต่ละบุคคล

การที่องค์กรจะบรรลุผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ องค์กรต้องมีแนวทางที่ปฏิบัติได้เป็นอย่างดีในเรื่องการเรียนรู้ขององค์กรและของแต่ละบุคคล การเรียนรู้ขององค์กร รวมถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของแนวทางที่มีอยู่และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่นำไปสู่เป้าประสงค์และแนวทางใหม่ ๆ การเรียนรู้ต้องถูกปลูกฝังไปในแนวทางที่องค์กรปฏิบัติการ ซึ่งหมายความว่า การเรียนรู้จะต้อง...

เป็นปกติวิสัยของงานประจำวัน

มีการปฏิบัติในระดับบุคคล หน่วยงานและองค์กร

ส่งผลต่อการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

มุ่งเน้นการสร้างและแบ่งปันความรู้ทั่วทั้งองค์กรและ

เกิดขึ้นจากโอกาสที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญและมีความหมาย

แหล่งการเรียนรู้ในองค์กร รวมถึง ความคิดของพนักงานและอาสาสมัคร การวิจัยและพัฒนาข้อมูลจากลูกค้า การแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ และการจัดระดับเทียบเคียงการเรียนรู้ขององค์กรส่งผล ดังนี้...

การเพิ่มมูลค่าให้แก่ลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์และบริการใหม่หรือที่ปรับปรุงใหม่

การสร้างโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ

การลดความผิดพลาด ของเสีย ความสูญเสียและต้นทุนที่เกี่ยวข้อง

การปรับปรุงความสามารถในการตอบสนองลูกค้าและการลดรอบเวลา

การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิผลในการใช้ทรัพยากรทั้งหมดขององค์กร

การเพิ่มผลการดำเนินการขององค์กรเพื่อให้บรรลุผลในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการให้บริการต่อชุมชน

โอกาสในการเรียนรู้และการได้ใช้ทักษะใหม่ ๆ ของแต่ละบุคคลมีผลมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อระดับความสำเร็จของพนักงานในองค์กร โดยการให้การศึกษา การฝึกอบรม โดยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาจรวมถึงการหมุนเวียนภาระงาน การได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นตามความรู้และทักษะที่แสดงให้เห็น ส่วนการสอนงานในขณะปฏิบัติงานเป็นวิธีการฝึกอบรมที่คุ้มค่าและทำให้เกิดความเชื่อมโยงมากยิ่งขึ้นกับความต้องการและลำดับความสำคัญที่มีต่อองค์กร วิธีการให้การศึกษาและการฝึกอบรมอาจมีหลายวิธี รวมทั้งการเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต รวมถึงการสื่อสารผ่านดาวเทียม...

การเรียนรู้ของบุคลากรส่งผล ดังนี้...

ทำให้บุคลากรที่อยู่ในองค์กรมีความพึงพอใจและมีทักษะหลากหลายมากขึ้น

เกิดการเรียนรู้ข้ามหน่วยงาน

สร้างสินทรัพย์ทางความรู้ขององค์กร

มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นเพื่อให้มีนวัตกรรม

ซึ่งการเรียนรู้ของบุคลากรต้องกระทำอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง...

ภาพรวม หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

จะเน้นหลักปฏิบัติที่สำคัญในการจัดการบุคลากรเพื่อก่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่มีสมรรถนะสูงและการพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ในหมวดนี้จะเป็นลักษณะที่บูรณาการกัน โดยให้มีความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับทิศทางเชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการขององค์กร

การทำงานที่ให้ผล การดำเนินการที่ดี เห็นได้จากความยืดหยุ่น นวัตกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับเป้าประสงค์ของส่วนราชการ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง

การเรียนรู้ของบุคลากรและการสร้างแรงจูงใจ

ความต้องการในการศึกษาและการฝึกอบรมอาจมีความแตกต่างกันมากขึ้นอยู่กับลักษณะของงานความรับผิดชอบของบุคลากรและระดับการพัฒนาของส่วนราชการและบุคลากร ความต้องการนี้อาจครอบคลุมถึงการเพิ่มทักษะในการแลกเปลี่ยนความรู้ การสื่อสาร การทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหา รวมทั้งการตีความและการใช้ข้อมูลการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียความสามารถในการวิเคราะห์กระบวนการและลดความซับซ้อนของกระบวนการ การลดความสูญเสียและรอบเวลา รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญตามความสอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์ อาจรวมถึงทักษะระดับสูงในเทคโนโลยีใหม่หรือทักษะพื้นฐาน เช่น การอ่าน การเขียน ภาษา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

การจัดการความรู้ของส่วนราชการ ควรมีแนวทางและวิธีการในการแลกเปลี่ยนความรู้ของบุคลากรและส่วนราชการ เพื่อทำให้มั่นใจว่าจะรักษาการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีได้ตลอดช่วงการส่งผ่านงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารสนเทศที่เป็นความรู้ส่วนบุคคลที่อยู่กับบุคลากร (Tacit Knowledge)

หมายเลขบันทึก: 380377เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2010 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 13:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

*** แวะมาเรียนรู้และมาเยี่ยมบันทึก

*** สบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะ...

P  ขอบคุณค่ะ...สบายดีค่ะ...อาจารย์สบายดีนะค่ะ...แล้วจะไปเยี่ยมเหมือนกันค่ะ...

หลักการดีน่าสนใจครับ หากใครที่ได้อ่านและนำไปประยุกต์ใช้ ผมเชื่อว่ามีประโยชน์มากทีเดียว ขอบคุณ

ตอบ...ครูหยุย...

P  ค่ะ  เป็นการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่เกี่ยวกับเรื่องการบริหารงานบุคคลให้มีการพัฒนาที่ดี  มีคุณภาพ + ประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้นค่ะ...ถ้าผู้บริหารสามารถนำไปบริหารจัดการในองค์กรได้ก็จะเป็นผลดีอย่างมากเลยค่ะ...ขึ้นอยู่กับผู้นำด้วยค่ะ...ว่าจะนำพาองค์กรไปในทิศทางใด...ไม่ใช่ให้คนภายในองค์กรเป็นผู้นำเพียงอย่างเดียวค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีค่ะอาจารย์บุษยมาศ

การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่เกี่ยวกับเรื่องการบริหารงานบุคคลแนวใหม่นี้  หากผู้บริหารนำไปใช้ และมีการติดตามอย่างเป็นรูปธรรม เชื่อองค์กรจะต้องพัฒนาสู่ความเป็นมาตรฐาน และมีคุณภาพมากๆ ทีเดียว

ขอบคุณมากค่ะ เป็นบันทึกที่มีสาระประโยชน์มากค่ะ

 

สวัสดีค่ะ...

P ใช่ค่ะ...ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร  ยิ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง ต้องให้ความสำคัญมาก ๆ ไม่ใช่เห็นแต่ความสำคัญเรื่องงบประมาณอย่างเดียวค่ะ...ขอบคุณค่ะ...เพราะถ้าคนไม่มีคุณภาพแล้ว  ไหนเลยองค์จะมีคุณภาพจริงไหมค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท