การศึกษาเทร็ชโฮลด์(Threshold)ของความรู้สึก


การวิจัยเรื่องนี้เป็นงานของนักจิตวิทยาในช่วงต้นๆของการศึกษาทางจิตวิทยา

        นักจิตวิทยาในอดีตบางกลุ่มที่มุ่งสนใจศึกษาเรื่องเกี่ยวกับจิต  มีความต้องการที่จะรู้ว่า   ความเข้มของสิ่งเร้าระดับตำที่สุดที่ทำให้คนเริ่มมีความรู้สึกสัมผัสต่อสิ่งเร้านั้น  มีความเข้มเท่าไร    และเรียกระดับความเข้มที่ตำที่สุดของสิ่งเร้าที่ทำให้คนเริ่มรู้สึกว่ามีอะไรมาสัมผัสนี้ว่า  เทร็ชโฮลด์   เช่น   เราจะต้องใส่นำตาลลงไปในแก้วที่มีนำอยู่ครึ่งแก้วปริมาณอย่างตำที่สุดเท่าไร  จึงจะทำให้คนรู้สึกว่านำนั้นหวาน  เราจะต้องเพิ่มอุณหภูมิเข้าไปในนำนั้นอย่างตำที่สุดเท่าไรที่ทำให้เราเริ่มรู้สึกว่านำนั้นอุ่น  ฯลฯ  และผลการทดลองเป็นดังนี้

         การเริ่มรู้สึกหวาน เมื่อเอานำตาล ๑ ช้อนชา  ผสมกับน้ำ ๗.๕ ลิตร

         การเริ่มรู้สึกได้กลิ่นเมื่อใช้น้ำหอม ๑ หยด ภายในบ้านขนาด ๖ ห้อง

                                           ฯลฯ

         ขอให้สังเกตว่า  ในขณะนั้น  ผู้สัมผัสอยู่ในภาวรู้สึกตัว  คือมีความรู้สึก(Conscious)อยู่ก่อนแล้ว  เพราะเขาตื่นอยู่   การรู้สึกหวาน หรือการได้กลิ่นหอม จึงเป็นการรู้สึกสัมผัส

         ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ  นักจิตวิทยาดังกล่าว  ไม่ได้ศึกษาว่า  ความรู้สึกเกิดขึ้นได้อย่างไร?     บุคคลมีความรู้สึกเพราะว่าเทวดาได้ประทานความรู้สึกให้มาแล้วพร้อมกับการเกิด?  หรือว่ามีอยู่แล้วใน Genes ?   หรือว่าเกิดขึ้นใหม่จากกิจกรรมของนิวโรน?

หมายเลขบันทึก: 38037เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2006 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
     ผมตอบตัวเองใหม่ว่าหรือนี่คือสิ่งที่ผมสนใจ และอยากรู้ เมื่อติดตามอ่านบันทึกของอาจารย์ แต่ผมยังไม่พร้อมที่จะ ลปรร.ด้วยเลยครับ ขอเวลาทำความเข้าใจอีกสักเล็กน้อยครับ
     ผมมีเรื่องสงสัยมาก ๆ คือ เรื่อง "ความรู้สึก" ที่เหมือนไม่มีอะไรกระตุ้นและเราอยู่ในภาวะหลับ หรือไม่อยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ ด้วย ประมาณที่จะเรียกว่า "สังหรณ์ใจ" ประมาณนั้นครับ ที่สังสัยใคร่รู้มาก ว่าเกิดอะไรอย่างใร ที่เป็นวิทยาศาสตร์นะครับ

        ความรู้สึก(Conscious) เป็นพฤติกรรมภายใน  เช่นความรู้สึกคิด  ความรู้สึกเจ็บ  เราสังเกตโดยตรงไม่ได้  เป็นเรื่องส่วนตัว  ใครมาเห็นเรารู้สึกเจ็บไม่ได้ ตรงข้ามกับพฤติกรรมภายนอก  เช่นการเดิน  การพูด ที่เราสังเกตได้โดยตรง  ใครๆก็เห็นได้

        พฤติกรรมภายในที่คุณชายขอบกล่าวนั้น  สามารถจะกระตุ้นได้จากสิ่งเร้าภายนอก  และสิ่งเร้าภายใน  การรู้สึกสังหรณ์ใจดังกล่าว  เป็นความคิดอย่างหนึ่ง ที่หาต้นตอของสิ่งเร้าได้ยาก  และเราตั้งชื่อมันว่า  การสังหรณ์ใจ  เป็นมโนทัศน์

         ถ้าอธิบายเชิงวัตถุ  ก็อาจอธิบายได้ว่า  ในขณะนั้นกลุมเซลล์ที่ชื่อนิวโรนในบริเวณของเซเรบรัลคอร์เท็กซ์บางแห่งเกิดแสดงกิจกรรมขึ้นมา  ทำให้เกิดความรู้สึกคิด  เราเรียกว่าการสังหรณ์ใจ  เป็นต้น

         ที่ว่าเกิดอะไร  อย่างไรที่เป็นวิทยาศาสตร์ นั้น  เราพิจารณาที่กระบวนการ  ที่เริ่มต้นจากการสังเกต  เกิดปัญหา  ตั้งสมมุติฐาน  รวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล  และได้ความรู้  ซึ่งเราเรียกว่ากระบวนการวิทยาศาสตร์  ที่สำคัญก็คือ ขั้นที่หนึ่ง  คือการสังเกต สิ่งนั้นจะต้องสังเกตได้ จะโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม  ถ้าสังเกตไม่ได้ ก็ไม่ใช่วิทยาศาสตร์  เพราะชาววืทยาศาสตร์เขายอมรับเฉพาะสิ่งที่สังเกตได้  หรืออย่างน้อยมีความเป็นไปได้ที่จะสังเกต  ใครที่มีพฤติกรรมอย่างนี้  คิดอย่างนี้เป็นนิสสัย  ก็เรียกว่านักวิทยาศาสตร์  สิ่งใดที่เป็นไปไม่ได้ที่จะสังเกตแล้ว  สิ่งนั้นอยู่นอกขอบเขตของวิทยาศาสตร์  เราใช้เกณฑ์นี้ในการพิจารณาว่าอะไรจะเป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่

         เราพยายามที่จะนำวิธีการวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษาจิต  แต่จิตนั้น  เราสังเกตโดยตรงไม่ได้  จึงเกิดปัญหาดังกล่าว  ดังนั้น  เราจึงใช้พฤติกรรมภายนอกที่สังเกตได้มาเป็นข้อมูลในการศึกษาจิต  จึงเข้ากันได้กับกระบวนการขั้นที่หนึ่งดังกล่าว  ทำให้เรานำวิธีการวิยาศาสตร์มาใช้ค้นหาความรู้ในสาขาจิตวิทยา ทำให้ได้ความรู้ในสาขานี้มากมาย

         แต่ยังมีปัญหาที่จะต้องแสดงให้เห็นว่า  พฤติกรรมภายนอกนั้นคือสิ่งเดียวกันกับพฤติกรรมภายใน  เช่น  การร้องโอย  คือสิ่งเดียวกันกับการรู้สึกเจ็บ!!

        

     อาจารย์ครับ คำอรรถาธิบายของอาจารย์ ทำให้ผมกล้าขึ้นที่จะร่วม ลปรร.ครับ ด้วยแต่เดิมผมก็ติดตรงที่กลัวว่าจะไม่เป็นวิทยาศาสตร์ (เชื่อด้วยลม ๆ แล้ง ๆ) พอได้อ่านแล้ว ผมมองเห็นเลยว่าที่แท้ก็คือสิ่งที่ผมพยายามที่จะสื่อคือสิ่งที่ยังสังเกตโดยตรงไม่ได้ ทำให้ขาดขั้นตอนแรกของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไป และตรงนี้แหละที่ผมคงยังไม่หลุดกรอบ ทำให้ไม่กล้าผลีผลามกล่าวออกมา
     อาจจะยังไม่ลึกซึ้งอะไรมากนักนะครับ แต่อย่างน้อยก็กล้ามากขึ้นแล้วล๊ะครับ ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ
รู้สึกดีใจครับ  เรามาช่วยกันขอขอบคุณ ดร.จันทวรรณ น้อยวัน  และทีมงาน  ที่ทำให้เราได้มีช่องทางแลกเปลี่ยนความคิดกัน ดีไหมครับ

     เห็นด้วยครับที่เราต้องขอบคุณทีมงาน GotoKnow.Org และ สคส. ซึ่งทำให้เกิดเวทีนี้ขึ้นครับ โดยเฉพาะที่ผมชอบมาก ๆ คือ ผมรับรู้ว่าความต่างของระดับการศึกษาเพื่อการ ลปรร.กัน แทบไม่มีเหลืออยู่เลย ทุกคนล้วนแลกกันได้อย่างอิสระและเป็นกันเองมากในเวทีแห่งนี้

เป็นคุณค่าของคำว่า  เสรีภาพ  ที่ใครๆไผ่หา

     อาจารย์ครับ ผมไปต่อปากต่อคำไว้กับอาจารย์จันทรรัตน์ที่บันทึก วันแม่...พิธีที่ทำให้ขนลุกซู่ อยากเชิญอาจารย์ไปร่วมแจมด้วยครับ เรื่องประเด็นต่อยอดจากบันทึกนี้ครับ

ไปเยี่ยมมาแล้วครับ  ขอบคุณที่แนะนำ ช่วงนี้ติดรายการรับเชิญครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท