ข้อควรคำนึงของผู้บริหารที่ต่อเทคโนโลยีการบริหารการศึกษาและการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา


การใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษามีความจำเป็นที่ผู้บริหารต้องวางแผน และเตรียมปัจจัยเกื้อหนุนทั้งทางด้านกำลังคน งบประมาณ สถานที่ และการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
 
 

การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา

ข้อควรคำนึงของผู้บริหารที่ต่อเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา

       การใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษามีความจำเป็นที่ผู้บริหารต้องวางแผน และเตรียมปัจจัยเกื้อหนุนทั้งทางด้านกำลังคน งบประมาณ สถานที่ และการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งสิ่งที่ผู้บริหารควรคำนึงถึงในการใช้เทคโนโลยีการบริหารการศึกษาคือ

(1)การเตรียมกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

(2) การลงทุนในรูปของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ งบประมาณที่เพียงพอ

(3) พึงระวังการใช้ประโยชน์อันมิชอบต่อข้อมูล และการป้องกันอาชญากรรมต่างๆในระบบการใช้ข้อมูล

(4) การเตรียมงบประมาณในการฝึกอบรมเพิ่มเติมตลอดเวลา

(5) คำนึงถึงการทำงานที่ต้องขึ้นกับเทคโนโลยี(Techno dependence)

(6) ความรวดเร็วในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร บางครั้งสร้างภาวะกดดันให้ผู้บริหารในการตัดสินใจ

(7) การเกิดสภาพสังคมผู้ใช้ตรง(End user Society) ทำให้ผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษาต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนในการทำงาน

(8) ภาวะความต้องการเรียนรู้ของบุคคลในหน่วยงาน

(9) ความสามารถของผู้บริหารในการวิเคราะห์ข้อมูล แยกแยะข้อมูลที่ปรากฏ มิฉะนั้นผู้บริหารจะถูกหลอกหรือตัดสินใจผิดพลาดจากการจัดกระทำข้อมูลที่ปรากฏให้เห็น

การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการบริหารการศึกษา

     ในมุมมองของข้าพเจ้า  การที่จะบูรณาการเทคโนโลยีต่างๆ เข้าช่วยในการบริหารการศึกษา ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้นั้นจะต้องมีการศึกษาแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2550-2554 ก่อนเพื่อจะได้วางกรอบแนวนโยบายและวางแผนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

    ซึ่งตามแนวความคิดของข้าพเจ้าควรมีการกำหนดแนวนโยบายโดยให้คำนึงถึงวิสัยทัศน์ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2550-2554 ก่อน ซึ่งได้มีกำหนดวิสัยทัศน์ว่า     ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชน  ใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา ได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐานสากล                      

    สิ่งต่อมาคือนำกลยุทธ์ที่มีการกำหนดไว้ในแผนแม่บทมาเป็นกรอบในการวางแผนในการที่จะบูรณาการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา   ซึ่งได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ไว้ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1    การสร้างโอกาส  เพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์  (e - Learning)

    กลยุทธ์ที่ 1.1   สร้างความร่วมมือและส่งเสริมการพัฒนาและการใช้สื่ออีเล็กทรอนิกส์ (e-Contents)   เพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย          

    กลยุทธ์ที่  1.2   เร่งรัดการใช้โครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการเรียนรู้ตามความต้องการและความจำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์ที่  2     การเป็นผู้นำในการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการ ให้บริการทางการศึกษา (e- Management)

    กลยุทธ์ที่  2.1    เร่งรัดการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เพื่อการบริหารจัดการและการให้บริการทางการศึกษา (e – Management Infrastructure)

    กลยุทธ์ที่ 2.2   มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพระบบการบริหารงานภาครัฐ (Back office) สู่การเป็นสำนักงานอัตโนมัติ (e-Office)

    กลยุทธ์ที่ 2.3   ให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)   โดย

 ยุทธศาสตร์ที่ 3    การผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลด้าน ICT (e - Manpower)

    กลยุทธ์ที่  3.1    ผลิตและพัฒนาบุคลากร ICT ระดับมืออาชีพ (e - Professional )

    กลยุทธ์ที่ 3.2   พัฒนาสมรรถนะพื้นฐานทรัพยากรบุคคล  เพื่อสังคม ICT และสังคมแห่ง การเรียนรู้  (e-Society & Learning  Society)

อ้างอิง : แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2550 – 2554. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.kroobannok.com/948. (วันที่ค้นข้อมูล 1 สิงหาคม 2553)

            การที่จะบูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษานั้นต้องคำถึงวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้เป็นสำคัญ ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างรูปแบบการบูรณาการใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ดังนี้

            ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการแข่งขันการพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์ ในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการศึกษากันมาก การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction) มีบทบาทและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการพัฒนาผู้เรียนอีกทางหนึ่ง รูปแบบที่โรงเรียนควรกำหนดคือควรปรับประยุกต์ใช้ภายใต้บริบทของโรงเรียนดังนี้

          1. จัดการเรียนรู้ "ตลอดเวลา" (Anytime) เวลาใดก็สามารถเรียนรู้ได้ ระยะแรกเริ่มให้นักเรียนสามารถใช้ Computer สืบค้นหาความรู้จากห้องสมุด ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการระบบ Internet

          2. เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ "ทุกหนแห่ง" (Anywhere) นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันจากสื่อต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ โทรทัศน์ CAI และอื่นๆ

          3. การให้ทุกคน (Anyone) ได้เรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพของตน ตั้งแต่ระดับอนุบาลเป็นต้นไป

การใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้

                   การเรียนรู้ในปัจจุบันแตกต่างจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหมายความว่า ผู้เรียนมีโอกาส มีอิสระในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ สร้างทักษะด้วยตนเอง ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็น ผู้ให้คำแนะนำ นอกจากนี้ทั้งครูและศิษย์สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกันได้ การจัดการเรียนที่โรงเรียนดำเนินการได้ในขณะนี้

          1. การสอนโดยใช้สื่อ CAI ช่วยสอนให้เกิดการเรียนรู้ตามความสนใจ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม หรือ วิชาภาษาอังกฤษ

          2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักสืบค้นวิทยาการใหม่ ๆ จากอินเทอร์เน็ต จาก E-book จาก E-Library

          3. ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนและการค้นคว้าหาความรู้ โดยกำหนดให้ผู้เรียนได้เล่นเกมการศึกษา (Education Games ) ที่ผ่านการวิเคราะห์ของครูผู้รับผิดชอบว่าไม่เป็นพิษภัยต่อผู้เล่น และเป็นการสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ดีให้กับเด็ก

          4. ใช้แผนการสอนแบบ ICT บูรณาการเรียนรู้ในสาระวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และ คอมพิวเตอร์

          5. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนรู้

          6. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบและเผยแพร่ความรู้

          7. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น

          8. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน

บทสรุป

         การนำเอาเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เป็นการเพิ่มพูน ประสิทธิภาพทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ได้ ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น จึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์ความเป็นไปได้ ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง ครูควรต้องพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อนำพาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ ดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุข

                                   

หมายเลขบันทึก: 380361เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2010 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท