การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษา


ผู้บริหารทันสมัยพึงใส่ใจเทคโนโลยี

การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษา

        การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษานั้น เป็นวิธีการที่ผู้นำองค์การชี้นำและกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ระยะสั้นระยะยาว ค่านิยม และความคาดหวังในผลการดำเนินงานขององค์การ และทำให้องค์การมีผลการดำเนินการได้อย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับวิธีการที่ผู้บริหารขององค์การสื่อสารกับบุคลากร และการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการดำเนินการที่มีจริยธรรมและผลการดำเนินการที่ดี ระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคม และการสนับสนุนชุมชน เทคโนโลยีต่างๆที่ผู้บริหารควรมีความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารองค์การ  ซึ่งทักษะที่มีความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหารนั้น ถ้าเรียงลำดับความสำคัญจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดนั้น สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้            

  1. ทักษะการคิดวิเคราะห์
  2. ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
  3. ทักษะการสื่อสารสร้างความเข้าใจ
  4. ทักษะการคิดสร้างสรรค์
  5. ทักษะการคิดนอกกรอบ

        นอกจากนั้นผู้บริหารจะต้องมีการกำหนดทิศทาง/นโยบาย ให้มีความสอดคล้องกันด้วย โดยพิจารณาจากประเด็นต่อไปนี้ซึ่งจะนำทางผู้บริหารให้สามารถไปสู่เป้าหมายในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศได้

    1. ประวัติความเป็นมา ซึ่งจะต้องศึกษาในเรื่องต่างๆของภูมิหลังของสถานศึกษา

    2. สภาพปัจจุบัน โดยศึกษาตั้งแต่โครงสร้างการบริหาร การเงินงบประมาณ ปัจจัยเอื้อในชุมชน ทรัพยากรสนับสนุน และบุคลากร

    3. ภาระความรับผิดชอบและสิ่งที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาตั้งแต่แผนงาน/โครงการ มาตรฐานคุณภาพ การพัฒนาบุคลากร ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และหลักสูตรสถานศึกษา

    4. สภาพการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยศึกษารายละเอียดระบบและกระบวนการวางแผน ผลงานในปีที่ผ่านมา และสภาพของผู้เรียน

    5. สภาพแวดล้อมและชุมชน ซึ่งจะต้องทราบในรายละเอียดของที่ตั้งโรงเรียน สภาพเศรษฐกิจ การเมือง ความต้องการและความคาดหวังของชุมชน และสภาพสังคม

    จากการศึกษาเบื้องต้นจะนำประโยชน์ให้กับผู้บริหารใน 3 ประเด็นหลัก คือ

    1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและประเมินสถานภาพโรงเรียน

    2. การพัฒนาระบบสารสนเทศ

    3. การนำเสนอภูมิหลังและพัฒนาการโรงเรียน

    นอกจากนั้นอีกหน้าที่หนึ่งที่ผู้บริหารควรดำเนินการคือนำทั้ง 3 ประเด็นนี้ไปจัดการในการศึกษาสภาพแวดล้อมหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า SWOT ในโรงเรียนนั้นๆ ก่อน เพื่อจะได้ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค  ซึ่งการวิเคราะห์สวอต (SWOT Analysis) หรือว่า การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมนั้นจะช่วย เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร และประกอบกับผู้บริหารมีการกำหนดนโยบายและการวางแผนที่ดีก็จะนำไปสู่การบริหารจัดการเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

หมายเลขบันทึก: 380311เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2010 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท