ทุนมนุษย์ (Human Capital)


ทุนมนุษย์ (Human Capital)

"ทุนมนุษย์ (Human Capital)"

สภาพปัจจุบันนี้ ในหน่วยงานหรือองค์กรทุกองค์กร สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทุกหน่วยงานหรือองค์กรต้องให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การบริหารจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital) ทุนทางสังคม (Social Capital) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญและเป็นความได้เปรียบในการแข่งขันในยุคปัจจุบัน โดยมีฐานองค์ความรู้ (Knowledge based Economy) และก่อให้เกิดความยั่งยืน...หน่วยงานหรือองค์กรจึงจำเป็นต้องมีแนวทางปฏิบัติ ระบบงาน ที่เอื้อและสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรภายในองค์กรเกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงานเป็นทีมทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรให้สามารถเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เกิดความพึงพอใจของบุคลากรที่สูง เพื่อสร้างความมุ่งมั่น ทุ่มเทในการขับเคลื่อนหน่วยงานหรือองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนดไว้...

การทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดี หมายถึง กระบวนการทำงานที่มุ่งให้ผลการดำเนินการของส่วนราชการและบุคลากรมีระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเป็นระบบ ซึ่งหมายรวมถึงผลดำเนินการด้านคุณภาพผลิตภาพนวัตกรรมและรอบเวลาที่สั้นลง ส่งผลให้การให้บริการแก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดีขึ้น

สำหรับแนวทางที่จะนำไปสู่การทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดี มีรูปแบบ กระบวนการและระบบจูงใจที่แตกต่างกันไป การทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดี มักประกอบไปด้วย...

ความร่วมมือระหว่างฝ่ายบริหารและบุคลากร

ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทีมงานต่าง ๆ

การรับผิดชอบด้วยตนเอง

การะกระจายอำนาจการตัดสินใจให้กับบุคลากร

การวางแผน

การสร้างทักษะและการเรียนรู้ในระดับองค์กรและบุคคล

การเรียนรู้จากองค์กรอื่น

ความยืดหยุ่นในการออบแบบงานและการมอบหมายงาน

โครงสร้างองค์กรแบบไม่ซับซ้อน

การใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล

การเปรียบเทียบ

ระบบการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีส่วนใหญ่ใช้สิ่งจูงใจ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน พิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น

ผลการดำเนินการของส่วนราชการ

สิ่งที่บุคลากรและทีมทำให้ส่วนราชการ

การเพิ่มทักษะ

มีความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน

การบริหารงานบุคคลที่ผ่านมา ส่วนราชการไม่ค่อยได้มองเห็นถึง "ทุนมนุษย์" ที่อยู่ภายในองค์กร บางหน่วยงานจะใช้อำนาจหน้าที่ในการบริหารงานมากกว่าที่จะคำนึงถึงเรื่อง "จิตใจ" ความผาสุกของบุคลากรภายในหน่วยงาน... แต่ปัจจุบันสภาพการณ์เปลี่ยนแปลงไป...ทุกส่วนราชการมีบุคลากรที่อยู่ภายในหน่วยงานหรือองค์กร สภาพของบุคลากรที่มีอยู่เปรียบเสมือนเป็นต้นทุน หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "หน่วยงานมีต้นทุน" คือ "ทุนมนุษย์" เป็นทุนที่ทุกส่วนราชการมีอยู่... ทำอย่างไรที่หน่วยงานนี้จะใช้ ทุนมนุษย์ที่มีอยู่นี้ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับส่วนราชการได้... ส่วนราชการมีทุนอยู่แล้ว...เปรียบเทียบกับมีเงินอยู่ จำนวน 100,000 บาทในกระเป๋า...ทำอย่างไรที่จะให้เงินในกระเป๋าจำนวนแสนบาทนี้ ให้เกิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ทำให้เงินเพิ่มขึ้น...โดยไม่ทำให้ยอดเงินลดลง ถ้าจำนวนเงินลดลงน้อยกว่าแสนบาท ก็แสดงว่าส่วนราชการขาดทุน แต่ถ้ายอดเงินจำนวนแสนบาท เกิดการออกดอกผลเพิ่มขึ้น ๆ แสดงว่าส่วนราชการ กำลังมีกำไรเพิ่มขึ้น ๆ ๆ ๆ ... กำไรในที่นี้มิได้หมายความถึง ในรูปตัวเงิน...แต่เป็นสิ่งที่แฝงอยู่ในตัวคน นั่นคือ "องค์ความรู้"...ที่มีอยู่ในตัวของแต่ละคน...โดยความรู้นี้อาจไม่เหมือนกันไปเสียทุกเรื่อง...ฐานความรู้นี้เองที่ทำให้ส่วนราชการในแต่ละแห่งเกิดความแตกต่างกัน...และร่วมกันทำงานในหน่วยงานให้ประสบผลสำเร็จได้...

แล้วส่วนราชการจะบริหารจัดการกับ "ทุนมนุษย์" หรือเงินจำนวนแสนบาทที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนั้นอย่างไร?...และมีสิ่งที่จะจูงใจคน ๆ นั้น ให้อยู่กับองค์กรของเราต่อไปได้อย่างไร?...ซึ่งต่อไปก็เป็นเรื่องที่ส่วนราชการต้องหันมาสนใจในเรื่องของความผาสุกในการดำรงชีวิตและความพึงพอใจของบุคลากรในหน่วยงาน เพื่อที่จะทำให้บุคลากรเหล่านั้นอยู่ในองค์กร + ทำประโยชน์ให้องค์กรมีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนั่นเอง...

...หน่วยงานหรือองค์กรของท่าน...

ต้องการที่จะได้กำไรหรือขาดทุนในเรื่องของทุนมนุษย์

ที่มีอยู่ภายในองค์กร"...

หมายเลขบันทึก: 380250เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2010 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 13:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรามีทุนมนุษย์มากมายในหน่วยงาน  และทุนเหล่านี้มีไม่น้อยที่มีประโยชน์และมีคุณค่ารวมทั้งมีความสามารถสูงสุดในหลายๆด้านไม่แพ้ประเทศอื่น   แต่เมื่อหน่วยงานหรือองค์กรใช้ทุนมนุษย์เหล่านี้อย่างไม่คุ้มค่า  และไม่เห็นความสามารถ  หน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆก็ย่อม...ขาดทุน  หรืออย่างดีที่สุดก็เสมอตัว

ส่วนที่จะทำกำไรให้หน่วยงานหรือองค์กรนั้นหายากมาก  แต่หากมีขึ้นก็มักจะถูกขัดขวาง ( อิจฉา )  ประเภท...จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย..นั่นแหละ

สวัสดีค่ะ...

P  ค่ะ  ถ้าสังคมไทยปรับเปลี่ยนเรื่องการทำงานให้เป็นเรื่องการทำงานอย่างจริงจังเสียที...น่าจะดีกว่านี้นะค่ะ...ชอบเอาเรื่องงานมาเป็นเรื่องส่วนตัวค่ะ...ขอบคุณนะค่ะที่แวะมาอ่านค่ะ...

ผอ.บุษครับ

ผู้บริหารหัวเก่าไม่ค่อยมองเห็นความสำคัญของทุนมนุษย์ สื่อสารไม่ดี ชอบใช้แต่อำนาจบาดใหญ่ มองไม่เห็นหัวคนอื่น

อย่าลืมว่าแม้แต่ภารโรงก็มีความสำคัญ ภารโรงเปรียบเสมือนฟันเฟืองเล็ก ๆ ในเครื่องจักร ถามว่าหากฟันเฟืองเล็ก ๆ นี่

หักลงทำงานไม่ได้ แล้วเครื่องจักรทำงานได้ไหม ได้แต่ไม่ดี ดังนั้นผู้บริหารยุคใหม่โปรดหันมาสนใจ"ทุนมนุษย์ "ครับผม

จาก nayniranam

สวัสดีค่ะ...คุณ nayniranam...

ใช่แล้วค่ะ...การทำงานในส่วนราชการก็เปรียบเสมือนเครื่องจักรที่ภายในเครื่องจักรจะมีน็อตต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกันไป...แต่น็อตทุก ๆ ตัวภายในเครื่องจักรมีความสำคัญเท่า ๆ กันค่ะ...จะขาดน็อตตัวใดตัวหนึ่งไปไม่ได้...ถ้าขาดจะทำให้การหมุนเวียนของเครื่องจักรสะดุด...ไม่ขับเคลื่อนไปอย่างปกติ...เช่นเดียวกับการทำงานในส่วนราชการ  ความจริงแล้ว ทุกคนมีบทบาทหน้าที่สำคัญเท่าเทียมกัน  เพียงแต่แตกต่างกันตรงหน้าที่  ความรับผิดชอบค่ะ...ถ้าส่วนราชการหันมาจริงจังเรื่องงานและให้ความสำคัญเรื่องคนมากขึ้น...ก็เป็นเรื่องที่ดีนะค่ะ...อยากเห็นประเทศไทยพัฒนาอย่างจริงจังเสียทีค่ะ...

ได้หัวข้อวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับทุนมนุษย์วันนี้เองครับ คงต้องขออ้างอิงแล้วหล่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท