Entry Jounal7


Entry Journal7

 

จรรยาบรรณ

หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและ

ส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิกนับถือกันมา หรือได้กำหนดร่วมกันขึ้นมาใหม่และ

ประพฤติปฏิบัติร่วมกันยอมรับว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ

 

มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม

หมายถึง สิ่งที่ถือเป็นหลักสำหรับเทียบทางสภาพคุณงามความดี ทั้งที่อยู่ภายใน

จิตใจ   และที่แสดงออก ที่ควรประพฤติในสังคมนั้น ได้ยอมรับนับถือกันมา

และประพฤติปฏิบัติร่วมกันยอมรับว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ

 

องค์ประกอบของจริยธรรม

- ความประพฤติ

- สะท้อนความนึกคิดและจิตสำนึก

- เกิดการกระทำดีไม่มุ่งให้เกิดผลร้าย

- สร้างผลดีแก่ตนเองและผู้อื่น

 

จริยธรรมในการทำงานของข้าราชการ สามารถแยกได้ดังนี้

 

จรรยาบรรณต่อตนเอง

- เป็นผู้มีศีลธรรม และประพฤติตนเหมาะสม

- ซื่อสัตย์

-มีทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเอง

จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน

-สุจริต เสมอภาค ปราศจากอคติ

-ทำงานเต็มความสามารถ รวดเร็ว ขยัน ถูกต้อง

-ตรงต่อเวลา

-ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัด

จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม

-ให้ความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ สุภาพอ่อนโยน

-ประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป

-ละเว้นการรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่า

เกินปกติวิสัยจากผู้มาติดต่อราชการ

จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา - ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน

-ร่วมมือ ช่วยเหลือ แนะนำและทำงานเป็นทีม

-เอาใจใส่ดูแลลูกน้อง

-สร้างความสามัคคีในการปฏิบัติงาน

-สุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษยสัมพันธ์

-ละเว้นการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตน

ขั้นตอนการสร้างจรรยาบรรณ/มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม

-เริ่มต้นจากผู้บริหาร

-มีการปรึกษาหารือร่วมกัน

-เห็นชอบยอมรับเป็นกติกา

-สร้างความรู้ความเข้าใจให้ทราบทั่วกัน

-ดูแลให้ยึดถือปฎิบัติ/ติดตามประเมินผล

-มีการดำเนินการเมื่อมีผู้ร้องเรียนหรือมีการละเมิด

จากข้อมูลข้างต้น ทำให้เห็นว่าจรรยาบรรณต่อวิชาชีพนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ไม่เพียงแต่วิชาชีพครูเท่านั้น ทุกวิชาชีพก็ควรที่จะมีจรรยาบรรณเป็นของอาชีพตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพที่ต้องมีผลกระทบต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น อาชีพแพทย์ พยาบาล ผู้พิพากษา ทนายความ ทหาร ตำรวจ เป็นต้น เราควรที่ช่วยกันปลูกฝังและคงสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นกับทุกวิชาชีพต่อไป

 
คำสำคัญ (Tags): #entry journal7
หมายเลขบันทึก: 380240เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2010 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท