การปฏิรูปการศึกษา เป็น 5 ด้าน ปัญจปฏิรูป


การปฏิรูปการศึกษา เป็น 5 ด้าน ปัญจปฏิรูป

การปฏิรูปการศึกษา เป็น 5 ด้าน ปัญจปฏิรูป ซึ่งประกอบด้วย

          1) ปฏิรูประบบการศึกษา เร่งดำเนินการการเรียนรู้ตลอดชีวิต, การบูรณาการการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย, การเทียบโอนผลการเรียนรู้, การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน, การศึกษาปฐมวัย, การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี, การศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้มีความสามารถพิเศษ ,การปฏิรูปอาชีวศึกษา, และ การปฏิรูปอุดมศึกษา การปฎิรูปที่กล่าวมาข้างต้นนี้เน้นให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

          2) ปฏิรูปการเรียนรู้ โดยให้มีการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียน, เชื่อมโยงหลักสูตรสาระ การเรียนรู้ของ ผู้เรียนตั้งแต่อายุ 0-20 ปี, ปฏิรูปวิธีการเรียนรู้และการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย, ใช้แหล่งเรียนรู้ทุกรูปแบบ, ประเมินผลจากพัฒนาการของผู้เรียน และใช้วิธีที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ

          3) ปฏิรูประบบการบริหารและการจัดการศึกษา ส่วนกลาง กำหนดนโยบาย แผนมาตรฐานการ ศึกษา สนับสนุน ทรัพยากร ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล, กระจายอำนาจการบริหารและ การจัดการศึกษาไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การมีส่วนร่วม ของผู้เกี่ยวข้องในการบริหารสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาในรูปองค์คณะบุคคล, ส่งเสริม การจัดการศึกษาของเอกชน และให้ระบบการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารสถานศึกษา
          4) ปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการเร่งพัฒนาครูประจำการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, การยกย่องและให้ผู้นำครูสร้างเครือข่ายปฏิรูปการเรียนรู้, การผลิตครูใหม่, ยกฐานะครูเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพชั้นสูง, กระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลไปยังเขตพื้นที่การศึกษา, สนับสนุนเงินเดือนและ ค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ และสนับสนุนให้ครูภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

          5) ปฏิรูปทรัพยากร มีการระดมทรัพยากรจากทุกส่วนของชุมชนเพื่อการเรียนรู้, จัดสรร ทรัพยากรอย่างทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรม รวมทั้งเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา

           คนไทยควรจะได้รับการพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข รักการเรียนรู้ พึ่งตนเองได้ มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนเพื่อความมั่นคงของ มนุษย์ และพร้อมก้าวทันสังคมโลก ในส่วนของ ICT นั้น ผู้เรียน สถานศึกษาและหน่วยงานทาง การศึกษาทุกแห่ง ควรมีโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การบริหารจัดการ การวิจัย การพัฒนาอาชีพ การพัฒนา คุณภาพชีวิตโดยได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพและประสิทธิภาพนำไปสู่สังคมแห่ง ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตระทรวงศึกษาธิการได้มีการดำเนิน โครงการต่าง ๆ อาทิ การแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โครงการรักการอ่าน การจัดการศึกษา สำหรับผู้อยู่นอกระบบ การพัฒนาห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน การปฏิรูปกระบวนการ เรียนรู้ การนำหลักสูตรใหม่ไปประยุกต์ใช้การพัฒนาครูทั้งระบบ

หมายเลขบันทึก: 380052เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2010 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท