TQM กับ PMQA


TQM กับ PMQA

"TQM กับ PMQA"

TQM การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร

มุ่งให้ความสำคัญกับการบริหารทั่วทั้งองค์กรเพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพแก่ลูกค้า...

องค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่...

การมีส่วนร่วมของพนักงาน

มุ่งให้ความสำคัญแก่ลูกค้า

การเทียบเคียงกับหน่วยงานอื่นที่มีความเป็นเลิศ

มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

แนวคิดของการจัดการคุณภาพโดยรวม (TQM)

ความทุ่มเท ใส่ใจกับคุณภาพทุก ๆ จุดขององค์กร

ลูกค้า

การมีส่วนร่วมของ Steckholder

สิ่งที่เกี่ยวกับมนุษย์

การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การศึกษา + การฝึกอบรม

เครื่องมือทางเทคนิคและวิทยาศาสตร์

ความสำคัญของกระบวนการ

ประโยชน์ของ TQM

พนักงานทุกคนทุกระดับ มีส่วนร่วมรับผิดชอบและสร้างผลงานคุณภาพ

หน่วยงานทุกหน่วยเห็นความสำคัญของตนเองจากการเชื่อมความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงาน ผลงาน ที่มีต่อคุณภาพตามเป้าหมายของการปฏิบัติงาน

การรับฟังข้อเสนอแนะ ปรับปรุงงานจากพนักงานเป็นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม

การสร้างมาตรฐานการทำงานของหน่วยงาน โดยใช้ระเบียบวิธี PDCA

การประเมินผลงานด้วยเกณฑ์มาตรฐาน และแสดงผลที่ชัดเจนอธิบายได้

การเปิดโอกาสและสนับสนุนให้พนักงานและหน่วยงานปรับปรุงการทำงาน

ความเป็นมาของ PMQA

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นการจัดระบบการบริหารภายในองค์กรให้มีความเหมาะสม ในภาวะในปัจจุบัน ทั้งผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่างก็มีความคาดหวังต่อองค์กรสูงขึ้น ในขณะที่ทรัพยากรต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะน้อยลง องค์กรจึงจำเป็นต้องหาวิธีขับเคลื่อนให้เร็วขึ้น โดยต้องมีการปรับระบบการจัดการให้คล่องตัวขึ้นทำให้องค์กรสามารถบริหารงานภายในได้คล่องตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในการบริหารงานทั้งระบบ ต้องนำแนวคิด การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) มาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ ซึ่งการจัดการเชิงกลยุทธ์ท่ามกลางปัจจัยภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง องค์กรต้องมีการวิเคราะห์ ติดตาม คาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพิจารณาเพื่อปรับการบริหารงานภายในให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงภายนอกดังกล่าว โดยนำหลักคิดด้านการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM : Total Quality Managemet) มาปรับใช้ แนวทางนี้ได้นำหลักการการจัดการกระบวนการที่ดีมาเป็นหลักการพัฒนาองค์กร โดยในประเทศญี่ปุ่น Dr. Kano ได้เปรียบองค์กรเป็นเสมือนบ้าน (Dr. Kano'House) ซึ่งมีรากฐาน มีโครงสร้างหรือเสา 3 ต้น และหลังคา โดยมองเสาต้นแรกเป็น TQM Concept หรือแนวคิด เสาต้นที่สอง คือ Vehicles เป็นการขับเคลื่อนให้แนวคิดเป็นรูปธรรม เสาต้นที่สาม คือ The Techniques & Tools เป็นเทคนิควิธีการและเครื่องมือในการใช้

PMQA : ความรู้ทั่วไป

PMQA (Public Sector Management Quality Award)

"รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ" โดย ก.พ.ร. ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยมีหลักเกณฑ์และแนวทางการยกระดับและพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน การบริหารจัดการภาครัฐให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลในระดับโลก

PMQA เป็นรางวัลใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นการนำเกณฑ์ Malcolm Baldrige National Quality Award : MBNQA ของ สหรัฐอเมริกา และรางวัล Thailand Quality Award : TQA ของประเทศไทย มาประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของระบบราชการไทยและสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

ประเทศญี่ปุ่นได้รางวัลด้านคุณภาพของนานาประเทศ เมื่อ ปี ค.ศ. 1951

สำหรับประเทศไทย ได้รางวัลด้านคุณภาพของนานาประเทศ เมื่อ ปี ค.ศ. 2001 (Thailand Quality Award)

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)

เพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของภาครัฐให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของหน่วยงานสู่ระดับมาตรฐานสากล

เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการประเมินตนเองและเป็นบรรทัดฐานการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ

หมายเลขบันทึก: 379888เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท