เครื่องมือการพัฒนาองค์การ (Organization Improvement Toolkits)


เครื่องมือการพัฒนาองค์การ (Organization Improvement Toolkits)

"เครื่องมือการพัฒนาองค์การ

(Organization Improvement Toolkits)"

เมื่อวันที่ 28 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ผู้เขียนได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม "การเสริมสร้างบุคลากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA - Team Building) ปี พ.ศ. 2553" โดย สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐและพัฒนาทักษะด้านเทคนิคเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ โดยให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ บูรณาการและเชื่อมโยงระบบงานสู่ยุทธศาสตร์และเป้าหมายของการปรับปรุงและพัฒนาองค์การได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีเทคนิควิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากรในองค์การให้มีความพร้อมและสามารถเรียนรู้ตอบสนองต่อสถานการณ์และความท้าทายต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อมุ่งสู่การเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการพัฒนาองค์การแบบยั่งยืนต่อไป

โดยผู้เขียนได้เข้าร่วมโครงการ เมื่อวันที่ 28 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553 หลักสูตรที่ 1 การพัฒนาองค์การขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Introduction to PMQA) ไปแล้ว และหลักสูตรที่ 7 การนำองค์การสู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล ซึ่งผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า มีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่อย่างเป็นระบบมากกว่าที่รัฐปฏิบัติในครั้งที่แล้ว ๆ มา ดูเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญส่วนราชการต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง + จนเป็นนิสัย จะส่งผลให้ส่วนราชการมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 - 2555) ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ว่าด้วยการมุ่งสู่องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง และบุคลากรมีความพร้อมและความสามารถในการเรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้กำหนดเป้าประสงค์ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถพัฒนาขีดสมรรถนะและมีความพร้อมในการดำเนินงาน ทั้งนี้ ได้กำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมาย คือ "ระดับความสำเร็จของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐในการปรับปรุงและยกระดับคุณภาพการบริหารงานตามแผนพัฒนาองค์การ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดยเฉลี่ย"

ก.พ.ร. ได้พัฒนาเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการยกระดับและพัฒนาองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้จัดทำชุด เครื่องมือการพัฒนาองค์การ (Organization Improvement Toolkits) เพื่อให้ส่วนราชการและผู้เกี่ยวข้องนำไปใช้พัฒนาและปรับปรุงองค์การให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล โดยได้มอบหมายให้สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีดำเนินการ

การจัดทำชุดเครื่องมือการพัฒนาองค์การดังกล่าว ประกอบด้วย...

1. ลักษณะสำคัญขององค์กร

2. หมวด 1 การนำองค์กร

3. หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

4. หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

5. หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้

6. หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

7. หมวด 6 การจัดการกระบวนการ

8. หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

9. คู่มือเทคนิคการปรับปรุงและพัฒนาองค์การ เวอร์ชั่น 1.0

ซึ่งทั้ง 7 หมวดข้างต้นนั้น... ผู้ที่สำคัญที่นำพาองค์กรให้สำเร็จได้นั้น ขึ้นอยู่กับผู้นำสูงสุดขององค์กร...ที่จะเป็นผู้นำพาให้ทั้งองค์กรเกิดการขับเคลื่อน...เพื่อจะนำมาซึ่งผลของความสำเร็จ... โดยหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล นั้น...ความเป็นจริง มิใช่เป็นเรื่องของงานการเจ้าหน้าที่หรือกองบริหารงานบุคคล เพียงอย่างเดียว... แต่เป็นเรื่องของทุกหน่วยงานภายในองค์กรที่จะต้องให้ความสำคัญ + ร่วมความคิดเห็นในการดำเนินการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล...

เนื่องจากการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่...จะขับเคลื่อนไปได้ต้องมาจากความคิดเห็นร่วมกันของคนภายในองค์กร...มิใช่เป็นความคิดเห็นของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น...และในแต่ละหมวดนั้น...การดำเนินการต่าง ๆ จะเชื่อมโยงกัน ซึ่งไม่สามารถแยกหมวดกันทำได้...จึงทำให้เห็นถึง... สภาพความเป็นหนึ่งเดียวกันที่จะนำพาทีมหรือองค์กรให้ขับเคลื่อนไปสู่ความมีคุณภาพได้...

หมายเลขบันทึก: 379878เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ  อ่านแล้วได้ความรู้การจัดองค์กรดีครับ

สวัสดีค่ะ...คุณธนา...

ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...เป็นเรื่องยากในตอนต้นค่ะ...เพราะมีความเปลี่ยนแปลง...ซึ่งขัดกับงานที่เราทำอยู่ในปัจจุบันค่ะ...แต่ถ้าหน่วยงานได้ทำเป็นกิจวัตรและอย่างต่อเนื่องแล้ว...คิดว่าเป็นผลดีมีคุณภาพในตอนปลายค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท