เมื่อคุณอยากเป็นอัจฉริยะ


ฝึกอย่างน้อย 10000 ชั่วโมงหรือ 10 ปี เดี๋ยวก็เก่ง

ถ้าใครได้มีโอกาสไปร้านหนัง

สือ ซักช่วง 1/2ปีที่ผ่านมา ยิ่งถ้าได้เยี่ยมชมหนังสือภาษาอังกฤษจะพบว่า มีหนังสือแนวที่เขียนว่า ความเป็นอัจฉริยะนั้นเกิดจากอะ ไร เท่าที่มีอยู่ที่บ้านตอนนี้ก็ 4 เล่มแล้ว (ซึ่งก็น่าจะเท่ากับ 100% ของหนังสือแนวนี้้ในร้านหนังสือ) เล่มจาก The Talent Code โดย Daniel Coyle, Talented is overrated ของ Geoff Colvin, Outlier ของ Malcom Gladwell (เล่มนีี้มีแปลเป็นหนังสือภาษา ไทย ชื่อว่า สัมฤทธิ์พิศวง) และเล่มล่าสุด ของอดีตนักปิงปองมือหนึ่งทีมชาติอังกฤษ Mathew Syed ที่เขียนหนังสือชื่อว่า Bounce

หนังสือทั้งหมด 4 เล่มให้ธีม (theme) หรือหลักใหญ่ใจความเหมือนกันหมด คือ คุณว่าอัจฉริยะ อย่าง Picasso, Mozart, Roger Federer, David Beckham, รวมไปถึง Bill Gates หรือนักฮอกกี้บางที เขาเป็นสุดยอดได้อย่างไร ถ้าสรุปกันเป็นหลักใหญ่ใจความจะได้ว่า ความเป็นอัจฉริยะนั้นเกิดขึ้นได้อยู่ สาม อย่าง

1. ความเป็นอัจฉริยะอยู่ที่การฝึก การฝึกอย่างต่ำคือ 10,000 ชั่วโมง หรือ 10 ปี

2. แต่การฝึก 10,000 ชั่วโมง หรือ 10 ปี อย่างเดียวนั้นไม่พอ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ป่านนี้ผมคงจะเป็นนักแข่งรถ F1 ไปแล้ว ก็เริ่มขับรถมาตั้งแ่ต่อายุ 18 ป่านนี้ ก็เลย 10 ปีมาแล้ว ดังนั้นการฝึก 10,000 ชั่วโมง หรือ 10 ปี ดังกล่าว จะต้องเป็นการฝึกแบบที่เรียกว่า Deliberate practice หรือเป็นการฝึกที่มีการได้รับ feedback อย่างทันที และต้องมีการปรับแก้ตนเองในทุก ครั้งที่ฝึก จากหนังสือชื่อ Bounce Sayed ได้เขียนถึงนักสเก็ตน้ำแข็งที่หกล้มทุกครั้งว่า เขาไม่ได้มองว่าการหกล้มคือความ ล้มเหลว แต่เขามองว่ามันคือครู ที่ทำให้เขาสามารถพัฒนาได้ต่อไปอีก

3. สิ่งแวดล้อมและโชค ใน Outlier ได้ยกตัวอย่างของนักฮอกกี้ว่า ทำไมนักกีฬาฮอกกี้ NHL ถึงเกิดช่วงต้นปี แล้วก็เฉลยให้เห็นว่า ที่นักกีฬาเหล่านั้นเกิดต้นปีก็เพราะว่า เกณฑ์การคัดอายุของนักกีฬาฮอกกี้คือ 1 มกรา ดังนั้นหมายความว่า ถ้าคุณเกิด 1 มกรา กับเกิด 31 ธันวา ปี เดียวกัน หมายความว่า ในเกณฑ์ของนักฮอกกี้ คุณจะอยู่ในรุ่นอายุเดียวกัน เช่น 7 8 หรือ 9 ขวบ แต่สิ่งที่เกิดคือ ถ้าคุณเกิด 31 ธันวา คุณคงตัวเล็กกว่า คนที่เกิด 1 มกรา มาก โดยเฉพาะสำหรับเด็กรุ่น 7-8 ขวบ แล้วถ้าคุณเป็นโค้ช อยากให้ทีมคุณชนะ คุณจะเอาเด็กตัวเล็กไปแข่งกับ เด็กตัวใหญ่หรือ? ในหนังสือได้อธิบายแม้่กระทั่งทำไม Bill Gate ถึงรวย (หาได้จาก Outlier) ใน Bounce Sayed ได้อธิบายถึงว่าทำไมนักกีฬาจากเคนยาถึงเป็นพวกนักวื่งมาราธอน แต่ทำไมนักวิ่งจากจาไมก้า หรืออเมริกาถึงเป็นนักวื่งระ ยะสั้น ถึงแม้ว่า นักกีฬาจากเคนยาจะมี fast twitch fiber มากกว่า นักกีฬาจากจาไมก้า ด้วยซ้ำ เหตุผลก็คือ นักวิ่งจากเคนยา (ซึ่งส่วนมากจะมาจากภูมิลำเนา เดียวกัน) จะอยู่บนที่ราบสูง และต้องวิ่งไปโรงเีรียนทุกวัน วันละประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที ถ้าถึงอายุ 16 ปี คนเคนยาในภูมิลำเนานั้น ก็ฝึกวื่งมามากกว่า 6000 ชั่วโมงแล้ว

และใน Talent Code Dan Coyle บอกว่า การฝึกฝนมากๆ ทำให้เกิด myosin ขึ้นมา ซึ่งเป็นเสมือนฉนวนห่อหุ้ม nerve cell ของเีราทำให้เราสามาีรภทำอะไรได้เป็น automatic มากขึ้น และก็มีแต่การฝึกแบบ deliberate practice ที่ช่วยให้เราสร้าง myosin ได้มากขึ้น

ไม่รู้ว่าอ่านแล้วมันจะอธิบา ยอะไรได้บ้าง แต่ที่แน่ๆ การเป็นสุดยอดไม่ได้อยู่ที่ความฉลาดหรือ genes ใน Bounce ได้พูดว่า genes ของมนุษย์เราจะเหมือนกันถึุง 85% ไม่ว่าคุณจะเป็นคนขาว คนดำ หรือแม้กระัทั่งคนผิวเหลือง หนังสือหลายๆเล่มได้ยกตัวอย่างถึง Enron ว่า เป็นบริษัทที่นิยมชมชอบ และสนับสนุนแต่คนฉลาด จึงได้ล่มจมกันอยู่ในขณะนี้ ใน Bounce ได้ยกตัวอย่างถึงงานวิจัยที่ได้แบ่งออกมาเป็นเด็กสองกลุ่มซึ่งมีความฉลาดเท่ากัน แต่กลุ่ม 1 ถูกชมว่าฉลาด อีกกลุ่มถูกชมว่า มีความพยายามดีมาก ตอนหลังพอเอามาทดสอบโดยให้โจทย์ โคตรยาก ผลสุดท้ายพบว่า เด็กกลุ่มที่ 2 ซึ่งได้รับคำชมว่ามีความพยายาม จะพยายามทำโจทย์ได้นานกว่า และก็มีคะแนนสูงกว่าเด็กกลุ่ม แรก

ไม่มีสรุป จบกันดื้อๆแบบนี้ดีกว่า ถ้าอยากจะเก่ง ฝึกเอาเอง ไม่มีคนที่เก่งมาแ่ต่กำเนิด มีแต่ฝึกมาจะรากเลือดแล้วถึง เก่ง งานวิจัยเขาก็บอกมาแล้วให้ทำ อย่างไร ก็ทำกันเองล่ะกัน
คำสำคัญ (Tags): #อัจฉริยะ
หมายเลขบันทึก: 379852เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ ไม่ได้เจอกันเสียนาน ผมเองก็ห่างหายไปพักใหญ่
  • ส่วนตัวแล้ว ผมเคยเจอกรณีของเด็กอัจฉริยะอยู่บ้าง เห็นจริงด้วย คือกลุ่มนี้ หัวไว แต่สมาธิสั้น ไป ๆ มา ๆ สัมฤทธิผลอาจไม่ดีนัก เว้นแต่สร้างสถานการณ์แวดล้อมที่บีบเขาได้
  • ส่วนตัวอีกเช่นกัน ผมเองมองว่า ในเรื่องของการดำเนินชีวิต โง่กับฉลาด บางทีเป็นเรื่องของความเร็ว ที่อาจต่างกันเป็นสิบ ๆ เท่า แต่ก็ไปถึงที่เดียวกันได้ ขึ้นกับว่า จะมุ่งมั่นหรือเปล่า บางที ฉลาดไปก็เป็นตัวบั่นทอนความมุ่งมั่น กลายเป็นไปได้ไม่ไกลซะงั้น

สวัสดีค่ะคุณ #ไปอ่านหนังสือ

ขอประทานโทษนะคะ คือ ดิฉันพึ่งมาเปิดเจอบทความ คือมันดีมาก เลยอยากทราบว่าปัจจุบันคุณ #ปอ่านหนังสือพอจะมาตอบคอมเม้นได้รึป่าวคคะ

คือดิฉันมีเรื่องอยากที่จะศึกษาหรือขอข้อมูลหรืออยากได้อ่านบทความโดนๆอ่ะค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ #ไปอ่านหนังสือ

ขอประทานโทษนะคะ คือ ดิฉันพึ่งมาเปิดเจอบทความ คือมันดีมาก เลยอยากทราบว่าปัจจุบันคุณ #ปอ่านหนังสือพอจะมาตอบคอมเม้นได้รึป่าวคคะ

คือดิฉันมีเรื่องอยากที่จะศึกษาหรือขอข้อมูลหรืออยากได้อ่านบทความโดนๆอ่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท