รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

วัยรุ่นตั้งครรภ์และทารกเกิดก่อนกำหนด....ปัญหาที่ท้าทาย


ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาในปัจจุบันที่ต้องแก้ไข

ปัญหาที่สำคัญของงานอนามัยแม่และเด็กในปัจจุบัน เราจะพบว่าการตั้งครรภ์ในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุน้อยลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้ทราบเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับการป้องกัน การดูแล และผลการศึกษาที่จะนำมาเล่าให้ฟัง

วัยรุ่นตั้งครรภ์และทารกเกิดก่อนกำหนด…...ปัญหาที่ท้าทาย

     ปัจจุบันวัยรุ่นไทยตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อยลงเรื่อยๆ และพบจำนวนมากขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2544 มีวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี ตั้งครรภ์ร้อยละ 10 และในปี พ.ศ. 2552 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 และในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544-2550 พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี คลอดบุตรจำนวนถึง 55648 คน และเด็กหญิงอายุ 10 ปีมีการตั้งครรภ์ถึง 60 คน สามเหตุของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเกิดจากการขากความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา อนามัยการเจริญพันธุ์  การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย  การใช้วิธีคุมกำเนิดที่ไม่ถูกต้องหรือการเข้าไม่ถึงการบริการคุมกำเนิดเพราะค่านิยมของสังคมไทยไม่ยอมรับการคุมกำเนิดของหญิงที่ยังไม่แต่งงาน

     แม่วัยรุ่นยังไม่มีความพร้อมทั้งด้านร่ากาย  จิตใจ  เศรษฐกิจ สังคมและวุฒิภาวะด้านอารมณ์ที่จะเลี้ยงดูบุตรให้เติบโตอย่างมีคุณภาพได้ หรือเกิดปัญหาทอดทิ้งหรือทารุณกรรมเด็กหรือแม้กระทั่งฆ่าทารกหลังคลอดซึ่งพบเห็นได้บ่อยๆ  ในกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อด้วยเหตุผลต่างๆ  ส่วนใหญ่จะขาดข้อมูลละเข้าไม่ถึงการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยจึงต้องพยายามที่จะสิ้นสุดการตั้งครรภ์ด้วยวิธีต่างๆ  จนเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนจากการแท้งที่ไม่ปลอดภัย  โดยพบว่า  ในกลุ่มผู้หญิงที่ทำแท้งและมีภาวะแทรกซ้อนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ  787  แห่ง  ร้อยละ 46.8  มีอายุต่ำกว่า 25 ปี  และร้อยละ30.0 เป็นวัยรุ่นอายุต่ำกว่า  20 ปี(กรมอนามัยปี พ.ศ. 2542)  เทคโนโลยียุติการตั้งครรภ์ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าและปลอดภัยสูงมาก

 การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ทำได้  2วิธีคือ  การใช้ยา และวิธีทางศัลยกรรม

          MTOP เป็นวิธีที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุดในการยุติการตั้งครรภ์ในระยะแรก  WHOได้บรรจุ Mifepristone และ Misoprostol (cytotec) ในบัญชียาหลักเพื่อใช้ในการรักษาการตกเลือดและการแท้งที่ไม่สมบูรณืได้ผลถึง 95-100 % องค์การอาหารและยาของไทยอนุญาตให้ใช้ mifepristone  เพื่อการวิจัยเท่านั้น  อย.ได้จัดให้ misoprotol เป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ในโรงพยาบาลเท่านั้น  ทำให้มีการลักลอบซื้อขายยาในราคาสูงมาก

การตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นและผลการรักษาทารกที่ป่วยจากมารดาวัยรุ่นเปรียบเทียบกับมารดาผู้ใหญ่

ศ.คลินิก พญ.อุไรวรรณ โชติเกียรติ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอุบัติการณ์ของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นเท่ากับ 10.4,11.7,10.8 และ 10.7 ต่อ 100 รายในปี พ.ศ.2543-2546 ตามลำดับ

โรงพยาบาลราชวิถี พบว่าการคลอดจากมารดาวัยรุ่นเท่ากับร้อยละ 12.7,13.2 และ 12.7 ของการคลอดทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2545-2547 ตามลำดับ

ภาวการณ์คลอดก่อนวัยอันควรของมารดาอายุต่ำกว่า 20 ปีและต่ำกว่า 15 ปีในประเทศไทยปี พ.ศ. 2551 พบว่า จำนวนทารกทารกเกิด 797,356 คน เกิดจากมารดา < 20 ปี จำนวน 95,747 คน = 12.01 %  เป็นมารดาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีถึง 15 ปี จำนวน 92,704 คน =96.82% และมารดาที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 3,043 คน = 3.18 %

ผลกระทบการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น:

-          มารดาขาดความพร้อมในการดูแลสุขภาพตนเอง

-          คุณภาพชีวิตของเด็กทารกลดลง

-          มีบุตรที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 8.7

ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่นที่คลอดที่โรงพยาบาลราชวิถี

ศึกษาตั้งแต่ พ.ย. 2549- 22 ธ.ค. 2551 หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มาคลอดในช่วงนั้นพบ 750 ราย ( จำนวนผู้มาคลอดทั้งหมด 6098 ราย ) คิดเป็น ร้อยละ 12.29 อายุเฉลี่ยของมารดาวัยรุ่น 17.93 (+ 1.42 ) อายุเฉลี่ยของกลุ่มเปรียบเทียบ 26.7 ( + 3.94 )

ข้อมูลมารดา

-          มารดาวัยรุ่นกำลังอยู่ในวัยศึกษาเป็นส่วนใหญ่และการฝากครรภ์น้อยกว่า 4 ครั้งเป็นส่วนใหญ่

-          มารดาวัยรุ่นมาฝากครรภ์ในไตรมาศที่ 2 เป็นส่วนใหญ่

-          มารดาวัยรุ่นมีระยะเวลาจากแต่งงานจนตั้งครรภ์เฉลี่ย 1.70 ปี

-          มารดาวัยรุ่นมีภาวะซีดมากว่ามารดากลุ่มเปรียบเทียบ ( 33.81% VS 35.29% )

-           มารดาวัยรุ่นก่อนตั้งครรภ์มร BMI ต่ำกว่า คือ 20.26

-          การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ

-          โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากครรภ์เป็นพิษไม่แตกต่างกัน

ข้อมูลทารก

-          การเจ็บป่วยของทารกพบว่าทารกกลุ่มจากมารดาวัยรุ่นเป็นเพศชายมากกว่าอย่างมีความสำคัญทางสถิติ

-          ความดันโลหิตทั้ง Systolic และ Diastolic โดยเฉลี่ยจะสูงกว่าบุตรจากมารดากลุ่มผู้ใหญ่ซึ่งน่าจะบ่งบอกถึงปัจจัยจากความเครียดของเด็กจากมารดากลุ่มนี้มากกว่า

-          ทารกกลุ่มจากมารดาวัยรุ่นรับไว้ใน NICU นานกว่า

-          ชนิดของความพิการแต่กำเนิดที่พบทารกกลุ่มจากมารดาวัยรุ่นมีความพิการแต่กำเนิดชนิดผนังหน้าท้องไม่ปิด (Gastroschisis ) นั้นพบเฉพาะในทารกที่เกิดจากมารดากลุ่มวัยรุ่นเท่านั้น

สาเหตุการเสียชีวิตทารกจาก teenage mother

-          Preterm 4 ราย

-          มีความพิการแต่กำเนิด 3 รายคือมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 1 ราย

-          มี Congennital hydrocephalus ร่วมกับ hydranencephaly  1 ราย

                การแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ จำเป็นที่ต้องมีความร่วมมือจากหลายฝ่าย  และเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้แก้พ่อแม่และครูเรื่องเพศศึกษา การสอนเพศศึกษาแก่เด็กเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย  การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิดที่เหมาะสม และถูกต้อง  การให้คำปรึกษาและการช่วยเหลือที่ถูกต้องรวดเร็ว  ในกรณีที่ผู้หญิงต้องการยุติการตั้งครรภ์ต้องให้ข้อมูลความรู้และทางเลือกที่ครบถ้วน  และให้สิทธิในการตัดสินใจเลือกอย่างมีอิสระ  เพิ่มสิทธิและความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการที่ปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน  ทันสมัย  และปลอดภัย  ให้คำปรึกษาหลังแท้งเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและทำแท้งซ้ำ  พัฒนาองค์ความรู้และทักษะของแพทย์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ให้บริการสร้างจิตสำนึกของผู้ให้บริการให้มีจิตบริการด้วยความเห็นอกเห็นใจ  เอื้ออาทรและเป็นมิตรต่อวัยรุ่นและหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม  เพิ่มสิทธิและความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยให้วัยรุ่นและหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมเช่นเดียวกับสิทธิของผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่รัฐจัดให้ได้เป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 379629เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2010 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับวัยรุ่นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท