การกล่าวโทษ...


ช่วยเหลือให้เธอได้มองเห็นตนเองในภาพที่ชัดว่าสาเหตุแห่งความรู้สึก

       มี case รายหนึ่งทางหอผู้ป่วยส่งมาพบดิฉันที่คลินิกให้คำปรึกษา พยาบาลประจำตึกเล่าอาการให้ฟังว่าผู้ป่วยมักเหม่อลอย ไม่ค่อยทานยา ไม่ทานอาหาร และมีความรู้สึกท้อแท้ใจ บางครั้งก็นอนร้องไห้ ในตอนนั้นดิฉันบอกไปว่าให้ญาติมาด้วย บางครั้งอาจจะทำให้ได้ทราบปัญหาหรือให้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติมเราได้...

       เมื่อ case มาถึงที่คลินิก สิ่งแรกที่จะทำให้ดิฉันคุยกับ case ได้ ด้วยใจที่เปิดใจนั้นก็คือ การทำให้ case รู้สึกไว้วางใจ ดังนั้น การพูดคุยทักทายที่เป็นการแสดงความห่วงใยต่างๆ แม้แต่การสัมผัสบางครั้ง เช่น การจับมือ หรือแตะไหล่...ขณะที่ร้องไห้ก็อาจทำให้เขาสัมผัสถึงความจริงใจ และห่วงใยที่ผู้คอยช่วยเหลือ(ผู้ให้คำปรึกษา) พึงจะมีให้ได้ภายใต้ขอบเขตจรรยาบรรณ..จากการฟังเรื่องราวที่ case เล่า ทำให้ดิฉันทราบว่าสาเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวงที่เธอกำลังรู้สึกนั้น คือ ความรู้สึกที่แย่ต่อตัวเอง มองตัวเองไม่ดี เมื่อเวลามีปัญหากับคนอื่น โดยเฉพาะกับคนในครอบครัว เธอจะรู้สึกว่า เป็นเพราะเธอเอง ความผิดเกิดจากเธอ ด้วยความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้นี่เอง ที่ตอกย้ำเธอทุกวันๆ จนกลายเป็นความสะสมในการกล่าวโทษตนเองอยู่ตลอด จนทำให้สภาพจิตใจที่มีอยู่ของ case ไม่ดีนัก..

       สิ่งที่เราผู้ให้คำปรึกษาจะสามารถช่วยได้ คือ การ Supportive ให้กำลังใจแก่ case ให้เธอรู้สึกได้ว่ามีคนเข้าใจ และให้กำลังใจ จากนั้นช่วยเหลือให้เธอได้มองเห็นตนเองในภาพที่ชัดว่าสาเหตุแห่งความรู้สึกไม่สบายใจนั้นเกิดจากอารมณ์และความคิดที่ไร้เหตุผล และพัฒนาไปสู่การคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผลมากขึ้นต่อปัญหานั้นๆ แต่บางครั้งกว่าที่เราจะช่วยให้ case สามารถพิจารณาเหตุผลแห่งอารมณ์ได้นั้น อาจต้องใช้เวลาอยู่นานหลายครั้งของการพบเจอกันจนกว่า case จะพร้อมและไว้วางใจที่จะเริ่มพูดคุยและช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น

หมายเลขบันทึก: 37895เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2006 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท