ผู้รับกรรม


ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ และส่วนรวมยังมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่เช่นนั้นจะทำสังคมเดือดร้อน
เรื่องนี้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของระบบงาน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของงานเวชสถิติฯ ได้ขอลาออกอย่างต่อเนื่องทั้งหมด 4 คน ข้าพเจ้าก็ทำเรื่องเสนอตามขั้นตอน มีอยู่ 1 คนที่ลาออกตั้งแต่เดือนพ.ค 49 แต่ทางการเงินไม่ทราบเรื่อง ได้จ่ายเงินเดือนไป 2  เดือน ประมาณ 1 หมื่นกว่าบาท  ซึ่งเรื่องการลาออกของจนท.ท่านนี้ ได้ทราบล่วงหน้าว่าจะออกวันที่ 1 พ.ค 49   จึงทำเรื่องเสนอตามขั้นตอนตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 49  เพื่อจัดสรรคนมาแทน มันคงเป็นความผิดของตัวเองด้วยที่คิดว่าส่งเรื่องแล้ว เรื่องก็คงดำเนินตามขั้นตอน   พอเกิดเหตุแบบนี้ทางการเงินแทงหนังสือให้เจ้าของหน่วยงานรับผิดชอบตามเรื่องเงินที่จ่ายเกินไปมาคืนสถาบัน ถ้าไม่ได้ต้องเป็นผู้ชดใช้เงิน   ดิฉันจึงคิดว่าเป็นเวรกรรมจริงๆ ที่ทำงานก็เหนื่อยพอแรงแล้ว ยังต้องชดใช้เงินอีก เพราะติดต่อจนท.ผู้นี้ตามเบอร์โทร.ที่มีก็ติดต่อไม่ได้ ไม่ยอมรับสาย   ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี  ใครคิดออกช่วยบอกด้วย  จะรอคำตอบ
หมายเลขบันทึก: 37886เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2006 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
คิดว่าถ้ามีคำสั่งอนุมัติให้ลาออก ซึ่งมีต้นเรื่องที่งานการเจ้าหน้าที่ ซึ่งส่งเรื่องให้การเงินตามขั้นตอน เจ้าของหน่วยงาน ก็ไม่น่าจะต้องรับผิดชอบแล้วนี่คะ   อยากให้เล่ารายละเอียดเพื่อการเรียนรู้ปัญหาร่วมกันค่ะ

1. ใครเป็นคนทราบล่วงหน้าว่าเขาจะลาออกในวันที่ 1 พ.ค. 49 ครับ

2. ทำเรื่องเสนอตามขั้นตอนไปแล้วเรื่องไปติดค้างอยู่ตรงไหนครับ

3. การเงินเสนอความเห็นได้แต่ผู้ที่จะตัดสินใจคือผู้บริหารสูงสุดครับ

4. ตามระเบียบของกระทรวงการคลังจะต้องมีการสืบสวน สอบสวน เพื่อหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง(ผู้ที่ต้องชดใช้เงินจำนวนที่จ่ายไป)ก่อนครับ

พี่อ้อมอย่าเพิ่งท้อใจนะคะ  เห็นด้วยว่าผู้ที่จะตัดสินใจคือผอ.ค่ะ
     จะยังไงก็แล้วแต่ครับ ตอนนี้คนที่ต้องรับผิดชอบคือคนที่รับเงินไป เพราะรู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิรับ แต่เจตนารับเงินไป หรือทราบเหตุแล้วไม่ส่งคืน ฉะนั้นไม่มีคำว่าตามไม่ได้ครับ ผมเชื่อว่าลองติดตามดี ๆ ก็น่าจะพูดคุยกันได้ ก่อนที่จะใช้มาตรการอื่น ๆ ตามกฎหมายนะครับ

อ้อมเสนอทางแก้มาให้ด้วยค่ะ

ทางแก้ที่1 คือ แจ้งความให้ทางตำรวจช่วยติดตามเจ้าหน้าที่รายนี้ให้  เพราะทางอ้อมก็พยายามตามแล้วแต่ เขาคงมีเจตนาหลบเลี่ยง    จึงไม่สามารถติดต่อได้ น่าจะดำเนินคดี ข้อหาฉ่อโกงทรัพย์ เพราะทั้งๆ ที่รู้ว่าเงินที่เข้าบัญชีไม่ใช่ของตน ยังนำเอาไปใช้โดยไม่ตรวจสอบก่อน แทบยังพยายามหลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องนำเงินมาคืนสถาบัน 

ทางแก้ที่ 2  คือ ทางสถาบันไม่ต้องให้ทางหน่วยงานชดใช้เงินคืน

  1. หัวหน้าที่ควบคุมลูกน้องจะต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับเมื่อลูกน้องไม่มาปฏิบัติงานเกินอำนาจตัวเอง

2.ควรมีการติดตามเรื่องที่เสนออยู่ตลอดเวลา ไม่ควรปล่อยให้นานเป็นเดือน ๆ

3.หากโทรติดต่อไม่ได้ให้ไปเอาที่อยู่ในใบสมัครเข้ารับราชการจากงานการเจ้าหน้าที่

4.ทำหนังสือราชการส่งลงทะเบียนแจ้งเจ้าตัวให้ทราบเพื่อมาติดต่อราชการ

5.เข้าทำงานมีคนค้ำประกันหรือไม่

6.ทำรายงานเสนอผอ.เพื่อพิจารณาสั่งการ

สถาบันฯ ต้องออกระเบียบเตือนมาให้ชัดเจน เช่น เจ้าหน้าที่ไม่มาทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุเกินกี่วันต้องแจ้งให้ทราบ  และ หัวหน้าก็ต้องคอยจ้องดูเรื่องนี้ให้ดีๆ เหตุการณ์เช่นเกิดขึ้นบ่อยมาก ขอเรียนให้ท่าน ผอ.ทราบ  เพราะมีอัตราการเข้าออกของลูกจ้างชั่วคราวเป็นจำนวนที่สูงมากจริงๆ

อยากให้คนส่วนใหญ่เข้าใจหลักธรรมแบบปิ่งจังเลย ชีวิตคงมีความสุข  สังคมไม่วุ่นวาย   การทำงานก็มีความสุข   ถ้าเรายึดหลักและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธศาสนา จะไม่มีไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น  การกระทำใดๆ  ก็ตามต้องมีสติเป็นตัวควบคุมจะเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด  จากประสบการณ์ของตนเอง เรื่อง การทำงานต้องประสานกับหลายหน่วยงาน บางครั้งก็ถูกว่า  ถูกคนแสดงอารมณ์โกรธใส่  แต่พอเรามีสติตั้งรับ คำพูดของคนอื่นที่พูดว่าต่างๆ นาๆ ก็ไม่มีผลสำหรับตัวเราเลย ใจเราจะสงบเย็น สามารถฟังคนอื่นว่าได้อย่างสบาย  โดยที่ใจเราเป็นปกติ  ไม่โกรธตอบ ปกติตัวเองจะเป็นคนอารมณ์ร้อน โกรธง่าย ใครพูดผิดหู ก็จะโดนสวนกลับ  หลังจากที่ปฏิบัติธรรมมาหลายปี การฝึกฝนตนเองให้มีสติระลึกรู้ได้ผลจริง เราสามารถดูแลรักษาใจเราไม่ให้เป็นทุกข์ ไปกลับโลกธรรม 8   สติเป็นเหมือนเกราะคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายได้ทุกเรื่อง  อยากให้ทุกคนมีสติและมีความเมตตาซึ่งกันและกัน ชีวิตนี้แสนสั้นนักเราควรจะทำแต่สิ่งดีๆ ให้กัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท